ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Dfddtdt (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 117:
{{พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี}}
 
=== เหตุพยายามลอบปลงพระชนม์ ===
=== ขัดแย้งกับรัฐบาลจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ===
[[ไฟล์:PPS.JPG|thumb|left|200px|จอมพล แปลก พิบูลสงคราม และภริยา กับ[[เอลินอร์ รูสเวลต์]]]]
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและจอมพล แปลกมีเรื่องกระทบกระทั่งกันบ่อยครั้ง โดยเฉพาะในโอกาสฉลองพุทธศตวรรษ พ.ศ. 2500<ref> {{cite book |author=Handley, Paul M. |title=The King Never Smiles |publisher=Yale University Press |year=2006 |pages=Page 129–130, 136–137 |id=ISBN 0-300-10682-3}}</ref><ref>{{cite book |author=Thak Chaloemtiarana |title=Thailand: The Politics of Despotic Paternalism |publisher=Social Science Association of Thailand |year=1979 |pages=Page 98}}</ref> รัฐบาลได้กราบบังคมทูลเชิญพระมหากษัตริย์เสด็จมาทรงเป็นประธานซึ่งก็ทรงตอบรับเป็นที่เรียบร้อย แต่ครั้นถึงวันงานทรงพระประชวรปัจจุบันทันด่วน ทำให้นายกรัฐมนตรีตัดสินใจเป็นประธานเปิดพิธีเอง และในเดือนสิงหาคมปีดังกล่าว [[สฤษดิ์ ธนะรัชต์|จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์]] ผู้บัญชาการทหารบก ออกมาโจมตีรัฐบาลของจอมพล แปลกว่าละเมิดพระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งข่าวการระหองระแหงกันระหว่างพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและรัฐบาลดังกล่าว ทำให้สาธารณะเริ่มไม่ไว้วางใจรัฐบาลมากขึ้น<ref name = Noranit1/><ref>Thak Chaloemtiarana (1979). Thailand: The Politics of Despotic Paternalism. Social Science Association of Thailand, Page 98. {{en icon}}</ref>
 
เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 จอมพล แปลกได้ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเพื่อขอให้ทรงสนับสนุนรัฐบาล<ref> {{cite book |author=Suwannathat-Pian, Kobkua |title=Thailand's Durable Premier |publisher=Oxford University Press |year=1995 |pages=Page 30 |id=ISBN 967-65-3053-0}}</ref> พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเตือนจอมพล แปลกว่าขอให้ลาออกจากตำแหน่งเสียเพื่อมิให้เกิดรัฐประหาร แต่จอมพล แปลกปฏิเสธ<ref>Suwannathat-Pian, Kobkua (1995). Thailand's Durable Premier. Oxford University Press, Page 30. ISBN 967-65-3053-0. {{en icon}}</ref> เย็นวันดังกล่าว จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลทันที และสองชั่วโมงหลังจากการประกาศยึดอำนาจ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ใช้[[กฎอัยการศึก]]ทั่วราชอาณาจักร<ref>พระบรมราชโองการให้ใช้กฎอัยการศึกษาทั่วราชอาณาจักร. (2500, 16 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา, (เล่มที่ 74, ตอน 76). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2500/A/076/2.PDF http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2500/A/076/2.PDF]. (4 มิถุนายน 2551).</ref> และได้มี[[:s:ประกาศพระบรมราชโองการแต่งตั้งผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ลงวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๐๐|พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้จอมพล สฤษดิ์เป็นผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร]]โดยไม่มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พระบรมราชโองการฉบับหลังมีความว่า<!--<ref>พระบรมราชโองการตั้งผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร. (2500, 16 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา, (เล่มที่ 74, ตอนพิเศษ 76 ก). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2500/A/076/1.PDF http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2500/A/076/1.PDF]. (4 มิถุนายน 2551).</ref>-->
 
{{cquote|''เนื่องด้วยปรากฏว่า รัฐบาลอันมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้บริหารราชการแผ่นดินไม่เป็นที่ไว้วางใจของประชาชน ทั้งไม่สามารถรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองได้ คณะทหารซึ่งมีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นหัวหน้า ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองไว้ได้ และทำหน้าที่เป็นผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ข้าพเจ้าจึงขอแต่งตั้งจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ขอให้ประชาชนทั้งหลายจงอยู่ในความสงบ และให้ข้าราชการทุกฝ่ายฟังคำสั่งจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป''}}
 
=== สมัยรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ===
[[ไฟล์:King Bhumibol foreign trips.png|200px|thumb|ประเทศที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จเยือน]]
เมื่อรัฐบาลทหารของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เถลิงอำนาจแล้ว รัฐบาลได้ฟื้นฟูพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ โดยอนุญาตให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จออกประชาชนเป็นอันมาก ให้เสด็จประภาสในถิ่นทุรกันดาร และตั้งงบประมาณสนับสนุนโครงการพัฒนาที่พระองค์มีพระราชดำริริเริ่มด้วย โดยรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ประกาศให้นำประเพณีหมอบกราบเข้าเฝ้า ซึ่งเลิกไปในสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] กลับมาใช้ใหม่ กับทั้งประกาศให้สถาปนา[[ธรรมยุติกนิกาย]]ขึ้นซ้ำด้วย นอกจากนี้ นับตั้งแต่[[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475|การปฏิวัติสยาม 2475]] สืบมา [[กระบวนพยุหยาตราชลมารค|ประเพณีการเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค]]ก็ได้จัดขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อถวายผ้าพระ[[กฐิน]]<ref>{{cite web |last=Evans |first=Dr. Grant |authorlink= |coauthors=citing Christine Gray |year=1998 |url=http://www.laosnet.org/fa-ngum/ewans.htm |title=The Politics of Ritual and Remembrance: Laos since 1975 |publisher=Laosnet.org |accessdate=5 July 2006}}</ref><ref>{{cite book |author=Evans, Dr. Grant |title=The Politics of Ritual and Remembrance: Laos since 1975 |publisher=University of Hawaii Press |year=1998 |pages=89–113 |isbn=0-8248-2054-1}}</ref>
 
พิธีกรรมตามโบราณประเพณีหลายอย่างของ[[ราชวงศ์จักรี]] เช่น[[วันพืชมงคล|พิธีกรรมพืชมงคล]] ก็มีประกาศให้ฟื้นฟู<ref>{{cite web |last=Klinkajorn |first=Karin |url=http://www.international.icomos.org/xian2005/papers/2-18.pdf |title=Creativity and Settings of Monuments and Sites in Thailand: Conflicts and Resolution |format=PDF|publisher=International Council on Monuments and Sites |accessdate=5 July 2006}}</ref> วันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (5 ธันวาคม) ก็ได้รับการประกาศให้เป็น[[วันชาติ (ประเทศไทย)|วันชาติไทย]] แทนที่วันที่ 24 มิถุนายน อันตรงกับวันที่[[คณะราษฎร]]ได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นผลสำเร็จด้วย<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2503/D/043/1452.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ถือวันพระราชสมภพ เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย], ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 77 ตอน 43 24 พฤษภาคม 2503 หน้า 1452</ref>[[ไฟล์:ATrelations0018a-1.jpg|190x190px|thumb|left|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขณะมีพระราชดำรัส ณ สภาคอนเกรส สหรัฐอเมริกา 29 มิถุนายน พ.ศ. 2503]]เมื่อจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 8 ธันวาคม 2506 สำนักพระราชวังก็มีประกาศให้จัดการไว้ทุกข์ในพระราชวังเป็นเวลายี่สิบเอ็ดวัน และศพจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้รับพระราชทานฉัตรห้าชั้น ซึ่งปรกติเป็นเครื่องยศของพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า กางกั้นตลอดระยะเวลาไว้ศพ ทั้งนี้ [[พระยาศรีวิสารวาจา (หุ่น ฮุนตระกูล)]] [[องคมนตรี]] ได้กล่าวต่อมาว่า ไม่เคยมีนายกรัฐมนตรีคนใดที่มีความใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์เท่ากับจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ มาก่อนเลย<ref>Thongthong Chandrangsu, A Constitutional Legal Aspect of the King's Prerogatives (M.A. thesis) Chulalongkorn University, 1986, page 160</ref>
 
=== สมัยรัฐบาลจอมพล ถนอม กิตติขจร ===
หลังจากการถึงแก่อสัญกรรมของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ใน พ.ศ. 2506 [[จอมพล ถนอม กิตติขจร]] ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนถัดมา และจอมพล ถนอม กิตติขจร ก็สืบนโยบายราชานิยมของจอมพล สฤษดิ์ต่อมาอีกกว่าทศวรรษ ซึ่งเดือนตุลาคม 2516 ใน[[เหตุการณ์ 14 ตุลา|การประท้วงเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยจากรัฐบาล]] และมีผู้ตายเป็นจำนวนมหาศาลอันเนื่องมาจากการปราบปรามของรัฐบาลนั้น พระองค์ได้มีพระบรมราชานุญาตให้เปิดพระทวาร[[พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน]]รับผู้ชุมนุมที่หนีตายเข้ามา และพระราชทานพระราชโอกาสให้เหล่าผู้ชุมนุมเฝ้า ต่อมา ก็ทรงตั้ง [[สัญญา ธรรมศักดิ์]] อธิการบดี[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] เป็นนายกรัฐมนตรีแทนจอมพล ถนอม กิตติขจร ผู้ลี้ภัยไป[[สหรัฐอเมริกา]]และ[[สิงคโปร์]]ตามลำดับ ครั้งนั้น สัญญา ธรรมศักดิ์ จัดตั้งรัฐบาลพลเรือนสำเร็จเป็นครั้งแรก ทว่า ไม่ช้าไม่นานต่อมาใน พ.ศ. 2519 จอมพล ถนอม กิตติขจร ก็สามารถเข้าประเทศโดยบวชเป็นภิกษุที่[[วัดบวรนิเวศวิหาร]] ก่อให้เกิดการประท้วงเป็นวงกว้าง วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2519 หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี ไม่อาจจัดการอะไรได้ จึงขอลาออก และเมื่อเวลา 21.30 น. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระราชินีนาถเสด็จไปวัดบวรนิเวศ<ref>ใจ อึ๊งภากรณ์ และคณะ. ''อาชญากรรมรัฐในวิกฤตการเปลี่ยนแปลง''. (2544). กรุงเทพฯ: คณะกรรมการรับข้อมูลและสืบพยานเหตุการณ์ 6 ต.ค 2519. หน้า 70-71.</ref> ไม่นานให้หลัง เกิด[[เหตุการณ์ 6 ตุลา]] ซึ่งกองกำลังติดอาวุธสังหารหมู่ผู้ประท้วงล้มตายที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
 
=== สมัยรัฐบาลพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ===
ในความโกลาหลครั้งนั้น ฝ่ายทหารก็เข้ายึดอำนาจอีกครั้ง และเสนอนามบุคคลสามคนให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเลือกเพื่อแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ประกอบด้วย [[ประกอบ หุตะสิงห์]] ประธานศาลฎีกา, [[ธรรมนูญ เทียนเงิน]] ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และ [[ธานินทร์ กรัยวิเชียร]] ผู้พิพากษาศาลฎีกา<ref name="nationgracious">{{cite web |date=2 February 2007 |url=http://www.nationmultimedia.com/webblog/view_blog.php?uid=492&bid=1817%20His%20Gracious%20Majesty |title=His Gracious Majesty |publisher=The Nation |accessdate=25 September 2007}}</ref> ด้วยความที่ธานินทร์ กรัยวิเชียร มีเกียรติคุณดีที่สุด จึงได้รับการโปรดให้เป็นนายกรัฐมนตรี
 
พระองค์มีพระราชดำรัสในพิธีประดับยศนายทหารชั้นนายพล เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2519 ความตอนหนึ่งว่า
<blockquote>{{คำพูด|เช่นหนังสือพิมพ์ต่างประเทศเขียนไว้และเจาะจงว่า นายพลไทยยึดอำนาจ นายพลไทยเป็นเผด็จการ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นจริงก็เป็นหน้าที่รับผิดชอบของท่านนายพลไทยไม่ใช่น้อย เพราะว่าถ้าเผด็จการก็ต้องเผด็จให้ดี เพราะว่านายพลไทยและทหารไทยทั้งหลาย ไม่เคยเผด็จการเพื่อให้เป็นเผด็จการแบบฝรั่ง พยายามที่จะทำเพื่อประเทศชาติ เพราะทหารไทยถือชาติเป็นสูงสุด เป็นใหญ่ ฉะนั้น เมื่อมีการว่ากล่าวว่านายพลไทยเป็นเผด็จการ เราก็จะต้องพยายามเผด็จการให้ดี ให้เหมาะสมกับผู้ที่เป็นชายชาติทหารโดยแท้}}<ref>[http://www.openbase.in.th/files/14122519.pdf พระราชดำรัสพระราชทานในพิธีประดับยศนายทหารชั้นนายพล ณ พระที่นั่งบรมพิมาน วันอังคาร ที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๑๙]</ref></blockquote>
 
{{บทความหลัก2|เหตุระเบิดที่ยะลา 22 กันยายน พ.ศ. 2520}}
 
เส้น 151 ⟶ 129:
 
ภายหลังเกิดเหตุ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจต่อไป โดยมิได้แสดงพระอาการปริวิตกต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และมีพระราชดำรัสให้ทุกคนมีจิตใจเข้มแข็งไม่ตื่นเต้นต่อสถานการณ์ เมื่อจบคำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว สมเด็จเจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา และสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ ซึ่งประทับอยู่ในพลับพลาฯทรงนำเหล่าราษฎรร้องเพลง “เราสู้”<ref>[http://somsakwork.blogspot.com/2006/10/6.html “เราสู้” หลัง 6 ตุลา]</ref> และภายหลังเสร็จพระราชกรณียกิจ เวลา 18.55 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนผู้บาดเจ็บที่โรงพยาบาลจังหวัดยะลา
 
ธานินทร์ กรัยวิเชียรมีแนวคิดขวาจัด ทำให้เหล่านักศึกษาหนีเข้าป่าไปรวมกลุ่มกับ[[พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย|พวกคอมมิวนิสต์]] รัฐบาลของธานินทร์ กรัยวิเชียร จึงถูกรัฐประหารนำโดย [[เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์|พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์]] ใน พ.ศ. 2523 และคณะรัฐประหารก็ตั้งพลเอก [[เปรม ติณสูลานนท์]] เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่
 
ขณะนั้น กองกำลังที่นิยมรัฐบาลได้เข้ายึดกรุงเทพมหานคร ทว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงปฏิเสธไม่รับรอง การก่อการครั้งนี้จึงกลายเป็นกบฏที่รู้จักในชื่อ "[[กบฏเมษาฮาวาย]]" และนำไปสู่ "[[กบฏทหารนอกราชการ]]" ในเวลาต่อมา<ref>Michael Schmicker, Asian Wall Street Journal, 23 December 1982</ref><ref>สุลักษณ์ ศิวรักษ์, "ลอกคราบสังคมไทย", กรุงเทพฯ: หนังสือไทย, 2528</ref><ref>Anonymous, "The Chakri Dynasty and Thai Politics, 1782–1982", cited in {{cite book |author=Handley, Paul M. |title=The King Never Smiles |publisher=Yale University Press |year=2006 |pages=298 |isbn=0-300-10682-3}}</ref>
 
=== พฤษภาทมิฬ ===
{{บทความหลัก2|พฤษภาทมิฬ}}
[[ไฟล์:200535.jpg|thumb|200px|left|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ พล.อ.สุจินดา และ พล.ต.จำลอง เข้าเฝ้า]]
รัฐประหารของคณะทหารเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 นำประเทศไทยกลับไปสู่ระบอบเผด็จการทหารอีกครั้ง ซึ่งหลัง[[คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ]] (รสช.) ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2535 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปแล้ว พรรคการเมืองที่มีจำนวนผู้แทนราษฎรมากที่สุดคือพรรคสามัคคีธรรม จำนวนเจ็ดสิบเก้าคน ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และมีการเตรียมเสนอ [[ณรงค์ วงศ์วรรณ]] หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรมในฐานะหัวหน้าพรรคที่มีผู้แทนราษฎรมากที่สุดขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ปรากฏว่ามาร์กาเร็ต แท็ตไวเลอร์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา ได้แถลงว่า ณรงค์เป็นผู้หนึ่งที่ไม่สามารถขอหนังสือเดินทางเข้าสหรัฐฯ ได้ เนื่องจากมีความใกล้ชิดกับนักค้ายาเสพติด<ref name="bloodymay">{{cite web |year = 2000|url = http://www.seameo.org/vl/92may/92may1.htm |title = Development Without Harmony |publisher = Southeast Asian Ministers of Education Organization |accessdate = 2007-09-26}}</ref> พลเอก [[สุจินดา คราประยูร]] หัวหน้าคณะรัฐประหาร ซึ่งเคยตกปากว่าจะไม่รับตำแหน่งใด ๆ ภายหลังจากเลือกตั้งอีกเพื่อตัดข้อครหาบทบาทของทหารในรัฐบาลพลเรือน กลับยอมรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และสร้างความไม่พอใจท่ามกลางประชาชนเป็นอันมาก นำไปสู่การเคลื่อนไหวคัดค้านต่าง ๆ ของประชาชน โดยมีร้อยตรี [[ฉลาด วรฉัตร]] และพลตรี [[จำลอง ศรีเมือง]] หัวหน้าพรรคพลังธรรม เป็นแกนนำ ซึ่งรัฐบาลของพลเอก สุจินดาได้สั่งให้ปราบปรามผู้ชุมนุมประท้วงโดดเฉียบขาด กลายเป็นเหตุการณ์นองเลือดในที่สุด และมีผู้คนเสียชีวิต เมื่อฝ่ายทหารเปิดการโจมตีผู้ชุมนุม เหตุการณ์ดิ่งสู่ความรุนแรงเรื่อย ๆ เมื่อกำลังทหารและตำรวจเข้าควบคุมกรุงเทพมหานครเต็มที่<ref name="bloodymay">{{cite web |year=2000|url=http://www.seameo.org/vl/92may/92may1.htm |title=Development Without Harmony |publisher=Southeast Asian Ministers of Education Organization |accessdate=26 September 2007}}</ref> และท่ามกลางเหตุการณ์นี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเข้าแทรกแซง โดยมีพระบรมราชโองการเรียกพลเอก สุจินดา คราประยูร และหัวหน้ากลุ่มผู้ประท้วงเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย ให้เฝ้า และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ถ่ายทอดการนี้ออกอากาศสดได้ ในภาพทางโทรทัศน์ พระองค์ทรงขอให้คู่กรณียุติความรุนแรงและนำพาชาติบ้านเมืองไปสู่สันติ ณ จุดสูงสุดของวิกฤติการณ์ ปรากฏภาพพลเอก สุจินดา คราประยูร และหัวหน้าผู้ประท้วง เฝ้าทูลละอองพระบาทโดยหมอบกราบ และที่สุดก็นำไปสู่การลาออกของพลเอก สุจินดา คราประยูร และการเลือกตั้งทั่วไป<ref name="srimuang">{{cite web |year=2000|url=http://www.rmaf.org.ph/Awardees/Biography/BiographySrimuangCha.htm |title=BIOGRAPHY of Chamlong Srimuang |work=The 1992 Ramon Magsaysay Award for Government Service|publisher=Ramon Magsaysay Award Foundation |accessdate=26 September 2007}}</ref>
 
=== รัฐประหาร พ.ศ. 2549 ===
{{บทความหลัก2|รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549|คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ}}
[[ไฟล์:King_CDRM_L.jpg|200px|left|thumb|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โปรดเกล้าฯ ให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน พล.ร.อ.สถิรพันธุ์ เกยานนท์ และ พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุก เข้าเฝ้าฯ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต ในเหตุการณ์[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549]]]]
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้[[เปรม ติณสูลานนท์|พลเอก เปรม ติณสูลานนท์]] ประธาน[[สภาองคมนตรี]] และ[[รัฐบุรุษ]] [[สนธิ บุญยรัตกลิน|พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน]] [[สถิรพันธุ์ เกยานนท์|พลเรือเอก สถิรพันธุ์ เกยานนท์]] และ[[ชลิต พุกผาสุข|พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข]] เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายรายงานสถานการณ์ [[คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข|การปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข]] เมื่อเวลา 00.19 น. วันพุธที่ [[20 กันยายน]] ณ [[พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน]] [[พระราชวังดุสิต]]<ref name="Timeline">{{cite web |date = [[September 20]], [[2006]] |url = http://nationmultimedia.com/2006/09/20/headlines/headlines_30014092.php |title = Coup as it unfolds |publisher = The Nation |accessdate = 2007-09-25}}</ref>
 
พลเอก [[สนธิ บุญยรัตกลิน]] หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณา ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ว่า การบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล อันมี[[ทักษิณ ชินวัตร|พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร]] เป็น[[นายกรัฐมนตรี]] ก่อให้เกิดปัญหา ความขัดแย้งแบ่งฝ่าย สลายความรู้สึกรู้รักสามัคคีของคนในชาติ อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ชาติไทย ประชาชนส่วนหนึ่งเคลือบแคลงสงสัยว่า การบริหารราชการแผ่นดิน ส่อไปในทางทุจริตประพฤติมิชอบอย่างกว้างขวาง หน่วยงานอิสระ ถูกการเมืองครอบงำ ทำให้การดำเนินกิจกรรมทางการเมือง เกิดปัญหาและอุปสรรคหลายประการ แม้หลายภาคส่วนของสังคมจะได้พยายามประนีประนอม คลี่คลายสถานการณ์มาโดยต่อเนื่องแล้ว ก็ไม่สามารถรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองได้<ref name="kate">{{cite web |last = McGeown|first = Kate |date = [[September 21]], [[2006]] |url = http://news.bbc.co.uk/2/hi/asia-pacific/5367936.stm |title = Thai king remains centre stage|publisher = BBC News |accessdate = 2007-09-25}}</ref>
 
เดิม คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า '''Council for Democratic Reform under Constitutional Monarchy''' (อักษรย่อ '''CDRM''') ต่อมาได้ตัดคำว่า ''under Constitutional Monarchy'' ออก เพื่อไม่ให้สื่อต่างประเทศนำไปตีความว่า คณะปฏิรูปฯ เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็น '''Council for Democratic Reform''' (อักษรย่อ '''CDR''') โดยยังคงใช้ชื่อภาษาไทยตามเดิม<ref>http://nationmultimedia.com/breakingnews/read.php?newsid=30014778</ref>
 
นอกจากนี้ ในวันที่ 22 กันยายน [[โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย]] โดย[[สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก]] แพร่ภาพพิธีรับพระบรมราชโองการ แต่งตั้งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แก่พลเอก สนธิ ซึ่งมีข้อสังเกตว่าประกาศฉบับดังกล่าว มีพลเอก สนธิเอง ในฐานะ[[รายนามผู้บัญชาการทหารบกไทย|ผู้บัญชาการทหารบก]] เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และลงวันที่ 20 กันยายน ขณะที่พิธีรับพระบรมราชโองการนั้น จัดให้มีขึ้นต่อมาในภายหลัง<ref>[[s:ประกาศ แต่งตั้งหัวหน้าคปค.|ประกาศ แต่งตั้งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข]] จาก[[วิกิซอร์ซ]]</ref>
 
หลังจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ประกาศใช้[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2549]] ในวันที่ [[1 ตุลาคม]] ปีเดียวกัน คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แปรสภาพเป็น '''คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ''' โดย หัวหน้า คปค. ดำรงตำแหน่ง '''ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ''' มีอำนาจหน้าที่ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ประธานสภานิติบัญญัติ ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ หลังจากนั้น จึงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง พลเอก [[สุรยุทธ์ จุลานนท์]] เป็น[[นายกรัฐมนตรี]]<ref name="kate">{{cite web |last=McGeown|first=Kate |date=21 September 2006 |url=http://news.bbc.co.uk/2/hi/asia-pacific/5367936.stm |title=Thai king remains centre stage|publisher=BBC News |accessdate=2007-09-25}}</ref>
 
=== หลังรัฐประหาร พ.ศ. 2549 ===
[[ไฟล์:Rama IX of Thailand and Barack Obama.jpg|200px|thumbnail|ทรงรับ[[ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา]] [[บารัค โอบามา]] ในโอกาสเยือนไทยอย่างเป็นทางการ]]
 
การตั้งคำถามและการวิจารณ์บทบาทของพระองค์ในวิกฤตการณ์การเมืองไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากสื่อนานาชาติ<ref>
* ''ABC News'', [http://www.abc.net.au/news/stories/2008/11/28/2432369.htm Thai power base useless in bridging social divide], 28 November 2008
* ''International Herald Tribune'', [http://www.iht.com/articles/2008/11/28/asia/thai.php Thai protesters gird for a crackdown], 28 November 2008
* Reuters, [http://www.reuters.com/article/rbssFinancialServicesAndRealEstateNews/idUSBKK2536420081127?pageNumber=1&virtualBrandChannel=0 Q+A-Thailand's intractable political crisis], 27 November 2008
* ''Asia Times'', [http://www.atimes.com/atimes/Southeast_Asia/JK25Ae01.html More turmoil in beleaguered Bangkok], 25 November 2008
* Reuters, [http://www.reuters.com/article/rbssFinancialServicesAndRealEstateNews/idUSBKK8934620081129 Welcome to Bangkok airport – no passport needed], 29 November 2008
* 'The Australian'', [http://www.theaustralian.news.com.au/story/0,25197,24731325-25837,00.html Embarrassed citizens plan retaliation], 1 December 2008
* ''MSNBC'', [http://worldblog.msnbc.msn.com/archive/2008/11/26/1689630.aspx Thailand's Political Maze—A Beginners Guide], 26 November 2008 {{webarchive |url=https://web.archive.org/web/20091227103144/http://worldblog.msnbc.msn.com/archive/2008/11/26/1689630.aspx |date=27 December 2009 }}</ref> นักวิชาการไทยคนหนึ่งว่า "การถือภาพลวงว่าพระมหากษัตริย์ได้รับการเทิดทูนถ้วนหน้ายิ่งยากขึ้นทุกที"<ref>''The Economist'', [http://www.economist.com/opinion/displaystory.cfm?story_id=12724800 A right royal mess], 4 December 2008</ref>
 
ในเดือนเมษายน 2551 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงแต่งตั้งพลเอก [[สุรยุทธ์ จุลานนท์]] ผู้ถูกกล่าวหาว่าร่วมวางแผนรัฐประหาร เป็นองคมนตรี ในห้วงก่อน[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554]] พระองค์ทรงแต่งตั้งพลอากาศเอก [[ชลิต พุกผาสุข]] ผู้นำรัฐประหารปี 2549 เป็นองคมนตรี<ref>{{cite news |title=Former Air Force chief Chalit appointed privy councillor |url=http://www.nationmultimedia.com/home/Former-Air-Force-chief-Chalit-appointed-privy-coun-30155735.html |work=The Nation |date=19 May 2011}}</ref>
 
[[สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี]] ได้พระราชทานสัมภาษณ์ในรายการโดยอ้างว่าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเสียพระทัยต่อเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง ใจความตอนหนึ่งว่า<ref>[http://prachatai.com/journal/2011/04/33901 การพระราชทานสัมภาษณ์] ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ในรายการ "วู้ดดี้ เกิดมาคุย"</ref>
 
{{คำพูด|จะเล่าไป ข้าพเจ้าเป็นคนไม่ยุ่งเกี่ยวการเมือง ไม่อยากพูดถึงใครว่าใครดีใครเลว ไม่รู้ เพราะไม่เคยคบนักการเมือง แต่ว่า รู้แต่ว่า เหตุการณ์ปีที่แล้ว ที่มีการเผาบ้านเผาเมืองกัน อันนั้นนำความทุกข์มาสู่พระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จฯ (สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ) เหลือเกิน พระเจ้าอยู่หัวนี่ จากที่ทรงหัดเดินได้น่ะ ตอนนั้นน่ะ ทรงทรุดเลย เป็นไข้ต้องให้น้ำเกลือ นอนแบ็บเลย สมเด็จฯก็เสียพระทัยมากเหลือเกิน ท่านรับสั่งว่า 'คราวที่เราถูกเผาเมืองนั้น คือสมัยเสียกรุงต่อพม่า กรุงศรีอยุธยา แต่คราวนี้ สะเทือนใจยิ่งกว่า เพราะเป็นการที่คนไทยเผาเมืองไทยเอง}}
 
อย่างไรก็ตามพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมิได้ทรงตอบรับข้ออ้างของพระธิดาต่อสาธารณชนว่าเป็นจริงหรือเท็จ
นอกจากนี้ พระองค์ก็ตรัสถึงการเมืองบ้างเล็กน้อยในบางโอกาส<ref>อุดมพร อมรธรรม, พระเจ้าอยู่หัวกับการเมือง, พิมพ์ครั้งที่ 1:2550 ISBN : 9789747316759</ref>
 
หลัง[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557]] พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมี[[:s:ประกาศแต่งตั้งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ลงวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๗|ประกาศแต่งตั้ง]]พลเอก [[ประยุทธ์ จันทร์โอชา]] เป็นหัวหน้า[[คณะรักษาความสงบแห่งชาติ]]
 
=== พระพลานามัยปลายพระชนม์ ===
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระอาการประชวรเรื้อรังในส่วนของพระหทัยเต้นผิดปกติ มีสาเหตุจากการได้รับเชื้อ[[ไมโคพลาสมา]] ราวปี พ.ศ. 2530 เสด็จไปเยี่ยมประชาชนที่[[อำเภอสะเมิง]] [[จังหวัดเชียงใหม่]] คณะแพทย์ไม่อาจถวายการรักษาให้หายขาดได้ ทำได้เพียงถวายพระโอสถประคองพระอาการมาตลอด จนต้องทรงรับการผ่าตัดใหญ่มาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2538<ref>{{cite news| url=http://www.naewna.com/local/32685 | work=แนวหน้า | title=สาเหตุโรคพระหทัยของในหลวง : ในหลวงของฉัน | date=4 ธันวาคม พ.ศ. 2555 | accessdate=13 มิถุนายน พ.ศ. 2558}}</ref>
 
นับตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2552 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเริ่มประชวร อันเนื่องมาจาก[[ไข้หวัด|พระโรคไข้หวัด]]และ[[โรคปอดบวม|พระปัปผาสะอักเสบ]] พระองค์แปรพระราชฐานจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ไปโรงพยาบาลศิริราช เพื่อให้คณะแพทย์ถวายการรักษา<ref>Female First,[http://www.femalefirst.co.uk/royal_family/King+Bhumibol-53750.html King Bhumibol to remain in hospital], 12 August 2010</ref> ต่อมาจนถึงเดิอนสิงหาคม พ.ศ. 2556 พระองค์เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับ ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล [[อำเภอหัวหิน]] [[จังหวัดประจวบคีรีขันธ์]] เพื่อเปลี่ยนพระอิริยาบถ<ref>{{cite news| url=http://www.naewna.com/royal/62520 | work=แนวหน้า | title= ปีติในหลวง-ราชินีเสด็จประทับวังไกลกังวล แพทย์เผยพระอาการปกติ | date=2 สิงหาคม พ.ศ. 2556 | accessdate=19 มิถุนายน พ.ศ. 2558}}</ref>
 
จนกระทั่งวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2557 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯมาประทับ ณ โรงพยาบาลศิริราช โดยทรงมีพระอาการไข้<ref>{{cite news| url=http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9570000114076 | work=ASTVผู้จัดการออนไลน์ | title=“ในหลวง-ราชินี” เสด็จฯกลับเข้าประทับ รพ.ศิริราช อีกครั้ง | date=3 ตุลาคม พ.ศ. 2557 | accessdate=19 มิถุนายน พ.ศ. 2558}}</ref> คณะแพทย์ได้ถวายการรักษาจนพระอาการทั่วไปดีขึ้นตามลำดับ<ref>{{cite news| url=http://www.komchadluek.net/detail/20141009/193742.html | work=คมชัดลึก | title=แถลงการณ์ฉบับที่5พระอาการ‘ในหลวง’ | date=8 ตุลาคม พ.ศ. 2557 | accessdate=19 มิถุนายน พ.ศ. 2558}}</ref> ต่อมาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินกลับไปประทับ ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล เพื่อเปลี่ยนพระอิริยาบถอีกครั้ง<ref>{{cite news| url=http://www.komchadluek.net/detail/20150509/206004.html | work=คมชัดลึก | title='ในหลวง'เสด็จฯกลับไกลกังวล | date=9 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 | accessdate=19 มิถุนายน พ.ศ. 2558}}</ref> แต่เสด็จฯไปประทับได้ไม่นาน ก็ทรงกลับมาประทับ ณ โรงพยาบาลศิริราช<ref>{{cite news| url=http://www.dailynews.co.th/royalnews/325020 | work=เดลินิวส์ | title="ในหลวง"เสด็จ"รพ.ศิริราช" แพทย์ถวายตรวจพระอาการ | date=31 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 | accessdate=19 มิถุนายน พ.ศ. 2558}}</ref> ตลอดระยะเวลาที่ทรงประทับ ณ โรงพยาบาลศิริราช จนถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2559 พระอาการประชวรได้ดีขึ้นและทรุดลงเป็นครั้งคราว<ref>{{cite news| url=http://www.posttoday.com/social/royal/460161 | work=เดลินิวส์ | title=ลำดับแถลงการณ์ประชวรในหลวง ร.9 | date=14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 | accessdate=5 พฤษภาคม พ.ศ. 2559}}</ref> โดยพระราชกรณียกิจครั้งสุดท้ายของพระองค์คือการพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ผู้พิพากษาประจำศาลต่างๆ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2558<ref>{{cite news| url=http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1450095487 | work=ประชาชาติ | title="ในหลวง"พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ผู้พิพากษา-อัยการเฝ้าฯถวายสัตย์ก่อนเข้ารับหน้าที่ | date=14 ธันวาคม พ.ศ. 2558 | accessdate=5 พฤษภาคม พ.ศ. 2559}}</ref> และการปรากฏพระองค์ครั้งสุดท้ายคือการเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรสภาพภูมิทัศน์บริเวณโดยรอบสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2559<ref>{{cite news| url=http://www.komchadluek.net/news/royal/220344 | work=คมชัดลึก | title='ในหลวง'เสด็จฯสวนจิตรลดา | date=11 มกราคม พ.ศ. 2559 | accessdate=5 พฤษภาคม พ.ศ. 2559}}</ref>
 
=== พระพลานามัยปลายพระชนม์ ===