ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยุทธนาวีบักดั่ง (ค.ศ. 1288)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการก่อกวน 1 ครั้งของ 1.10.189.19 (พูดคุย) ไปยังรุ่นโดย Phirun.ด้วย[[WP:iScript|สจ...
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 11:
 
== สงครามบนพื้นดิน ==
เมื่อไดเวียดไม่ยอมเปิดเส้นทางการเดินทัพ มองโกลจึงยกทัพไปบุกตีเมืองทังล็อง หรือ[[กรุงฮานอย]]ในปัจจุบัน เมืองทังล็องถูกตีแตก แต่ทัพมองโกลก็ต้องถอย เนื่องจากเมื่อตีเมืองสำเร็จแล้ว ชาวเมืองรวมทั้งกษัตริย์ไดเวียดได้อพยพออกไปหมดแล้ว รวมทั้งขนเสบียงออกไปด้วย โดยหลังจากที่มองโกลถอยทัพกลับ ทางไดเวียดก็ได้ส่งเครื่องราชบรรณาการแก่มองโกล เพื่อไม่ให้เกิดความเสียกายจากสงครามอีกครั้ง ต่อมา มองโกลได้ยกทัพปราบราชวงศ์ซ่งจนถึงกลายล่มสลาย และได้สถาปนา[[ราชวงศ์หยวน]] ภายใต้การนำของ[[กุบไลข่าน]] ขึ้นมาปกครองดินแดนจีนแทแทน
 
กุบไลข่านทรงมีราชโองการให้วางแผนเพื่อจะยึดเมืองไดเวียด และเมืองจามปา อันเป็นเมืองไกล้เคียงกัน ซึ่งเมืองจามปานั้น ตั้งอยู่ในดินแดนทางภาคกลางของเวียดนามในปัจจุบัน แต่ด้วยทูตของมองโกลที่ส่งไปรับเครื่องราชบรรณาการที่จามปานั้น ไม่ยอมปฏิบัติตามธรรมเนียมของจามปา จึงถูกกษัตริย์ของแคว้นจามปาส่งประหารทั้งคณะ เป็นเหตุทำให้กุบไลข่าน ถือโอกาสประกาศศึกกับเมืองจามปา ในปี [[ค.ศ. 1282]] ([[พ.ศ. 1825]]) กุบไลข่านได้ส่งแม่ทัพตวาโด นำทัพเรืออ้อมไปตีอาณาจักรจามปา แต่เมื่อตีเมืองจามปาสำเร็จ ก็ถูกกองกำลังที่เหลือรอดของจามปาใช้ยุทธวิธีซุ่มโจมตีแบบกองโจร ทำให้กองกำลังต้องถอยร่นมาที่ชายแดนของไดเวียดและจามปา เมื่อข่าวทราบถึงกุบไลข่าน จึงได้ส่งกองกำลังอีกกองเพื่อไปสมทบกับกองกำลังของตวาโดที่เพลี่ยงพล้ำอยู่ โดยยกกองทัพไปสมบทจำนวน 5 แสนนาย โดยการนำของโตข่าน ไปในปี [[ค.ศ. 1284]] ([[พ.ศ. 1827]])