ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นักบวช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Shineyue (คุย | ส่วนร่วม)
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
รอมีอ้างอิงก่อน ไม่งั้นไม่จบ
บรรทัด 2:
 
ส่วนในศาสนา[[อเทวนิยม]] เช่น [[ศาสนาพุทธ]] นักบวชคือผู้เข้าสู่ธรรมวินัย ปฏิบัติตามหลักพรหมจรรย์คือศีล สมาธิ ปัญญา เพื่ออบรมขัดเกลาชีวิต มุ่งตรงต่อนิพพาน เรียก[[ภิกษุ]]บ้าง [[สมณะ]]บ้าง ทำหน้าที่อบรมตนและช่วยเหลือสังคม
 
== ประเภทของนักบวช ==
นักบวช แบ่งตามคุณวิเศษและวิถีการฝึกตน{{อ้างอิง}} คือ
 
1.นักบวชประเภทตัวแทน (Intermediary : ผู้ที่เป็นสื่อกลาง) ผู้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนสื่อกลาง เป็นผู้ใช้พลังทางวิญญาณที่มีติดตัวมากับจิตวิญญาณของตนเอง หรือ ได้รับมอบอำนาจการใช้พลังทางจิตวิญญาณจากแหล่งอื่น อาทิ ได้รับพลังมาเสริมเพิ่มอำนาจจิตจากอำนาจของเทพเจ้าที่นับถือ จากบทสวดพระสูตรที่ศรัทธา จากธรรมชาติที่เคารพ จากบรรพบุรุษที่ยกย่องให้เกียรติ ตามความเชื่อที่แตกต่างกันไปของการเป็นนักบวชรูปแบบนั้น ๆ ในทางไสยศาสตร์หรือไสยเวทย์แบ่งออกเป็น สายขาว "มนต์ขาว" คือพลังทางบวกหรือที่เรียกว่าด้านสว่าง และ สายดำ "มนต์ดำ" คือพลังทางลบหรือที่เรียกว่าด้านมืด นักบวชในประเภทนี้ เช่น นักบวช [[มิโกะ]] [[องเมียวจิ]] [[คนทรง]] หมอผีหรือ[[ชาแมน]] และแยกคุณลักษณะได้ 2 พวกคือ 1. มีคุณสมบัติติดตัวมาแต่กำเนิด 2. มีคุณสมบัติติดตัวพอที่จะฝึกฝนให้เป็นได้
 
2.นักบวชประเภทนักพรตและฤๅษี (Ascetic : ผู้เป็นพรตถือสันโดษ) [[ฤๅษี]] [[นักพรต]] มีทั้งไม่สังกัดศาสนาใดและสังกัดในศาสนา ที่บำเพ็ญเพียรในป่าเขา ตามถ้ำ และในสำนักอารามที่อยู่อาศัย ดำรงชีพอยู่ด้วยพืชพรรณผลไม้รากไม้หรืออาหารที่ไม่มีเนื้อสัตว์ประกอบ(บริโภคอาหารเจหรือมังสวิรัติ) นุ่งห่มเปลือกไม้ หนังสัตว์หรือผ้าชุดแบบอื่นตามแต่จะหามาใช้ ใช้เวลาอยู่กับการภาวนา ละจากชีวิตสุขสบายทางโลก บุคคลที่เป็นนักบวชประเภทนี้มีทั้งที่บวชด้วยการครองรักษาพรหมจรรย์ และไม่ครองพรหมจรรย์ รวมถึงมีทั้งที่นำคู่ครองออกบวชเป็นนักบวชด้วยกันไปด้วยในการใช้ชีวิตคู่ เป็นผู้ที่มักน้อย สันโดษ ใช้ชีวิตมุ่งแสวงหาความสุขความสงบทางจิตใจ
 
3.นักบวชประเภทภิกษุและภิกษุณี (Bhikkhu , Bhikkhuni : พระสงฆ์ ) นักบวชในศาสนาพุทธ [[พระสงฆ์]]ผู้ที่ยินดีละจากเพศ[[ฆราวาส]]ออกบวชถือสิกขาเป็นเพศบรรพชิต เพราะเลื่อมใสศรัทธาในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ปฏิญาณและปฏิบัติตนเป็นสาวก ดำรงชีพอยู่ได้ด้วยการบิณฑบาต อุทิศการบวชเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดคือนิพพาน ผ่านพิธีกรรมที่เรียนกว่าอุปสมบทวิธี สมัยพุทธกาลภิกษุอาศัยอยู่ตามโคนต้นไม้ ราวป่า รองฟาง ถ้ำหรือภูเขา และอนุญาตให้อาศัยอยู่ในวัดหรืออาราม ตามบริบทความจำเป็นในกาลทั้งนี้ดำรงตนฝึกฝนบังคับตนเพื่อความสงบวิเวกสันโดษภายในใจแม้เรื่องภายนอกจะสับสนวุ่นวาย มีจุดมุ่งหมายขัดเกลาจิตใจให้รวมศูนย์ ถือศีล ทำสมาธิ ภาวนา วิปัสสนา ด้วยอาศัยปัญญาและความเพียร ในสังคมทำศาสนกิจประจำวันและคอยช่วยเหลือเยียวยาผู้คนที่ตกทุกข์และต้องการคำชี้แนะด้วยหลักธรรมคำสอนเพื่อมุ่งผู้รับฟังให้ตระหนักคิดก่อเกิดปัญญาของตนที่จะสามารถในการแก้ปัญหาในชีวิต
 
ซึ่งทั้ง 3 ประเภทนี้ในด้านการทำงานทำหน้าที่และการประพฤติตนในประเภทต่าง ๆ นั้นมี บางด้านบางมุมนั้น ทับซ้อนในเชิงเดียวกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันด้วยความที่มีหลักปฏิบัติหลักการที่เป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดในการใช้ชีวิตที่ไม่เหมือนกันซึ่งแล้วแต่ไปตามที่มีกำหนดไว้ใน ศาสนา นิกาย ลัทธิ นั้น ๆ
 
 
และสามารถแยกประเภทของนักบวช ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ
 
1.นักบวชที่เป็นบรรพชิต
ถือบวชโดยสละการครองเรือน นักบวชบวชเรียนเป็นกิจจะลักษณะตามขนบประเพณีของศาสนานิกายลัทธิที่กำหนดไว้และนุ่งห่มเครื่องแต่งกายตามสถานะอันควรของนักบวชเป็นแบบแผนหมู่คณะ
 
2.นักบวชที่เป็นฆราวาส
ถือบวชโดยยังคงครองเรือนอยู่ นักบวชบวชเรียนแต่ยังมิฝักใฝ่หรือยังไม่พร้อมกับการละทิ้งการครองเรือน นุ่งห่มเครื่องแต่งกายในชีวิตประจำวันแบบเดียวกันบุคคลทั่วไป ในรูปแบบนี้มีในหลักสูตรสำเร็จในพระพุทธศาสนาเช่นกัน ฆราวาส กล่าวปวารณาตนด้วยการบวชใจต่อพระรัตนตรัยและใช้ชีวิตปฏิบัติตนอยู่ในศีล
 
== ปุโรหิต ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/นักบวช"