ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วันไหล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 28:
 
===อำเภอศรีราชา===
*'''ประเพณีสงกรานต์ศรีมหาราชา และประเพณีกองข้าว'''
(19-21 เมษายน) กองข้าว เป็นประเพณีท้องถิ่นของ จ.ชลบุรี โดยแท้ที่สืบทอดต่อกันมาตามประวัติ เล่าว่าประเพณีกองข้าวจัดในหลายอำเภอ อาทิเช่น อ.เมืองชลบุรี, อ.ศรีราชา, อ.บางละมุง, อ.พนัสนิคม ฯลฯ ครั้นกาลเวลาล่วงเลยผ่านไปในบางพื้นที่ประเพณีนี้ได้เลือนหายไป ในอดีต เมื่อถึงช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี ชาวบ้านจะนัดหมายกันนำสำรับข้าวปลาอาหารทั้งคาวหวานมากองรวมกันแล้วเชิญภูติผีทั้งหลายมากินปีละครั้ง โดยเชื่อว่าภูตผีจะไม่ทำอันตราย ชีวิตครอบครัวหรือทรัพย์สินของตนเอง หลังพิธีเซ่นไหว้ชาวบ้านจะล้อมวงรับประทานอาหารร่วมกันมีการร้องรำทำเพลง การละเล่นสนุกสนาน มีเกร็ดว่าทุกคนจะไม่นำอาหารที่เหลือกลับบ้าน แต่จะทิ้งไว้เพื่อเป็นทานแก่สัตว์ เทศบาลเมืองศรีราชาและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกันจัดงานประเพณีกองข้าว นอกจากการกองข้าวอันเป็นหัวใจของงานแล้ว ยังได้เพิ่มกิจกรรมเพื่อฟื้นฟู อนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมอันเป็นสีสันของงาน อาทิ [[มวยตับจาก]], [[เพลงพื้นบ้าน]], [[ดนตรีไทยประยุกต์]], ประกวดเทพีกองข้าว, กีฬาพื้นบ้าน และซุ้มอาหารไทย ฯลฯ ประเพณีกองข้าว จึงได้รับการยกระดับปรับตัวให้เป็นเอกลักษณ์ประเพณีที่โดดเด่น ชาวศรีราชาทุกคนมีความภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมและอนุรักษ์ประเพณีกองข้าว
 
*'''ประเพณีแห่พญายม และวันไหลบางพระ'''
(18 เมษายน) ผู้นำชุมชนและชาวชุมชนในเขตเทศบาลตำบลบางพระ ได้จัดขบวนแห่ องค์พญายม จากบริเวณคอเขาบางพระไปบนถนนสุขุมวิท แล้วเลี้ยวเข้ารอบตลาดบางพระ ลงไปที่ชายทะเลบางพระ ซึ่งในขบวนแห่นั้นมีประชาชนจากชุมชนต่างๆ และหน่วยงานเอกชนได้ส่งรถตบแต่งสวยงามมาเข้าร่วมขบวนแห่พญายมในครั้งนี้จำนวนมาก ซึ่งมีประชาชนทั้งใกล้และไกลต่างพากันมาเข้าชมขบวนแห่ และร่วมเดินในงานเป็นจำนวนมาก ทำให้ขบวนแห่นั้นยาวถึง 2 กิโลเมตร ซึ่งในขบวนแห่นั้นมีชุมชนและหน่วยงานเอกชน ต่างส่งรถแห่เข้าร่วมขบวนแห่ในครั้งนี้ จำนวน 20 ขบวน โดยตลอดทางก็จะมีการสาดน้ำสงกรานต์กันตลอดสองข้างทาง เนื่องจากเป็นวันไหลบางพระ ก็จะมีประชาชนในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียงมาร่วมสาดน้ำสงกรานต์ และร่วมแห่องค์พญายมอีกด้วย ซึ่งเมื่อแห่องค์พญายมไปถึงชายทะเลบางพระ แล้วทำพิธีบวงสรวงองค์พญายม ก็จะมีการตั้งบวงสรวงด้วยข้าวปลาอาหาร ให้ชาวบ้านกราบไหว้ขอพรให้อยู่เย็นเป็นสุข หลังจากที่พระอาทิตย์ใกล้ตกดินก็จะนำองค์พญายมลงไปลอยทะเลปล่อยทุกข์ ปล่อยโศก ให้ลอยไป ซึ่งก็จะมีชาวบ้านในพื้นที่ตำบลบางพระจำนวนมากเข้าร่วมบวงสรวงสำหรับประเพณีแห่องค์พญายม สงกรานต์บางพระนั้น ถือว่าเป็นประเพณีที่จัดขึ้นเป็นแห่งเดียวในโลก
 
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/วันไหล"