ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจมส์ ดี. วัตสัน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Anonimeco (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ชื่อ
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:James Watson.jpg|thumb|right|เจมส์ ดี. วัตสัน]]
'''เจมส์ ดิวอี วัตสัน''' ({{lang-en|James Dewey Watson}}; [[6 เมษายน]] [[พ.ศ. 2471]]) [[นักอณูชีววิทยา]]ชาว[[อเมริกัน]] ได้รับการยอบรับว่าเป็นผู้ค้นพบโครงสร้างโมเลกุลของ[[ดีเอ็นเอ]]ร่วมกับ[[ฟรานซิส คริก]]และ[[มัวมอริส วิลกินส์วิลคินส์]] โดยได้รับ[[รางวัลโนเบล]]สาขา[[สรีรวิทยา]]หรือ[[การแพทย์]] มีผลงานการตีพิมพ์คือบทความ [[โครงสร้างโมเลกุลของกรดนิวคลีอิก: โครงสร้างสำหรับกรดดีออกซีไรโบสนิวคลีอิก|โครงสร้างโมเลกุลของกรดนิวคลีอิก]]
 
== ชีวิตในเยาว์วัย ==
บรรทัด 9:
ในต้นปี [[พ.ศ. 2491]] วัตสันเริ่มงานวิจัยปริญญาเอกในห้องปฏิบัติการทดลองของลูเรียที่[[มหาวิทยาลัยอินเดียนา]] และในฤดูร้อนนั้น วัตสันได้พบกับ''เดลบรุค'' ในอพาร์ตเมนต์ของลูเรีย และอีกครั้งในฤดูร้อนนั้น ในระหว่างการเดินทางไปเยือนหอทดลอง “โคลด์สปริง” “''กลุ่มไวรัสทำลายแบคทีเรีย''” เป็นตัวกลางเชื่อมกับพวกปัญญาชน ซึ่งวัตสันเองได้กลายเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่กำลังอยู่ในกระบวนการทำงาน ที่สำคัญคือสมาชิกของ “''กลุ่มไวรัสทำลายแบคทีเรีย''” มีความสำนึกว่าพวกตนกำลังต่างก็อยู่ในเส้นทางที่กำลังนำไปสู่การค้นพบธรรมชาติด้านกายภาพของ[[ยีนส์]] ในปี [[พ.ศ. 2492]] วัตสันลงวิชาเรียนกับ''เฟลิกซ์ เฮาโรวิวิทซ์''ซึ่งรวมแนวคิดยุคนั้นที่ว่า: คือโปรตีนและยีนส์สามารถสำเนาสร้างตัวเองเพิ่มได้ องค์ประกอบสำคัญอีกอย่างหนึ่งของ[[โครโมโซม]] คือ ดีเอ็นเอนั้นเข้าใจกันโดยหลายคนว่าเป็น “''นิวคลีโอไทด์สี่หน้าที่โง่เง่า''” ที่ทำหน้าที่เพียงการเป็นโครงสร้างรองรับโปรตีน อย่างไรก็ดี ในระยะเริ่มแรกนี้ วัตสัน ภายใต้อิทธิพลของกลุ่ม “''กลุ่มไวรัสทำลายแบคทีเรีย''” ได้ตระหนักถึงงานของ''ออสวอลด์ เอเวรี'' ซึ่งแนะว่า ดีเอ็นเอเป็นโมเลกุลพันธุกรรมโครงการวิจัยของวัตสันเกี่ยวข้องกับการใช้[[รังสีเอกซ์]]มาทำให้ไวรัสที่ทำลายแบคทีเรีย (phage) อ่อนตัวลง วัตสันได้จบการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาสัตววิทยาที่[[มหาวิทยาลัยอินเดียนา]]เมือ [[พ.ศ. 2493]] และได้เดินทางไปยุโรปเพื่อทำงานวิจัยระดับหลังปริญญาเอก ตอนแรกรับหน้าที่เป็นหัวหน้าห้องทดลองทาง[[ชีวเคมี]]ของ''เฮอร์มาน คัลคาร์ใน''ใน[[โคเปนเฮเกน]]ผู้ซึ่งสนใจใน[[กรดนิวคลีอิก]]และได้พัฒนาความสนใจในตัวไวรัสที่ทำลายแบคทีเรียเพื่อใช้เป็นระบบการทดลอง
 
เวลาของวัตสันที่อยู่ในโคเปนเฮเกนช่วยให้เกิดผลดีที่ตามมา วัตสันได้มีโอกาสทำการทดลองกับ''โอล มาอโล'' (สมาชิกคนหนึ่งในกลุ่ม “ไวรัสทำลายแบคทีเรีย”) ที่มียังคงความเชื่อมั่นว่าดีเอ็นเอคือโมเลกุลพันธุกรรมซึ่งวัตสันได้เรียนรู้การทดลองประเภทนี้มาก่อนแล้วในฤดูร้อนก่อนที่หอทดลองโคลด์สปริง การทดลองเกี่ยวกับการใช้ฟอสเฟตกัมมันต์เป็นตัวค้นหาแล้วพยายามชี้ว่าองค์ประกอบโมเลกุลของไวรัสทำลายแบคทีเรียอันใดที่ไป “ติด” เชื้อแบคทีเรียเป้าหมายที่กำลังถูกไวรัสทำลาย วัตสันไม่เคยร่วมพัฒนาใดๆ ในงานนี้กับคัลคาร์แต่ได้ไปร่วมประชุมกับคัลคาร์ที่อิตาลี และได้เห็นงานของ''มัวร์ริสมอริส วิลกินส์วิลคินส์''ที่กล่าวถึงข้อมูลดีเอ็นเอที่ได้จาก[[การเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์]] ถึงตอนนี้ วัตสันค่อนข้างมั่นใจว่า ดีเอ็นเอมีโครงสร้างโมเลกุลชัดเจนที่สามารถแก้ปัญหาได้
 
== โครงสร้างของดีเอ็นเอ ==
ในเดือนตุลาคม [[พ.ศ. 2494]] วัตสันเริ่มงานที่[[หอคาร์เวนดิช]] ภาควิชา[[ฟิสิกส์]]ของ[[มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์]]ที่ซึ่งวัตสันได้พบกับ[[ฟรานซิส คริก]] วัตสันและคริกได้ร่วมงานทางปัญญากันอย่างจริงๆ จังๆ ทำให้ทั้งสองคนสามารถค้นพบโครงสร้างของดีเอ็นเอได้ในเวลาเพียงปีครึ่ง คริกสามารถแก้ปัญหาทาง[[คณิตศาสตร์]]และสร้าง[[สมการ]]ที่กำกับทฤษฎีการเบนตัวของเกลียวได้ ส่วนวัตสันก็ได้รู้ผลหลักๆ ของดีเอ็นเอทั้งหมดของกลุ่ม “ไวรัสทำลายแบคทีเรีย” ปลายปี พ.ศ. 2494 มาแล้ว วัตสันและคริกได้เริ่มการติดต่อแลกเปลี่ยนความรู้อย่างไม่เป็นทางการกับ''วิลกินส์'' ในเดือนพฤศจิกายน วัตสันได้เข้าร่วมสัมมนาที่จัดโดย[[โรซาลินด์ แฟรงคลิน]] ซึ่งเธอได้กล่าวถึงข้อมูลเกี่ยวกับการเบนเลี้ยวของรังสีเอกซ์ที่เธอร่วมงานกับ''เรย์มอนด์ โกสลิง'' ข้อมูลบ่งว่าดีเอ็นเอเป็นรูปเกลียวบางอย่าง หลังจากการสัมมนาระยะหนึ่ง วัตสันและคริกก็ได้สร้างหุ่นจำลองดีเอ็นเอที่คลาดเคลื่อนที่มี[[ฟอสเฟต]]เป็นสันแกนอยู่ด้านในของโครงสร้างซึ่งแฟรงคลินแย้งว่าไม่อยู่ข้างในแต่จะต้องอยู่ข้างนอกแน่นอน ทั้งวัตสันและคริกก็ได้เห็นว่าเป็นเช่นนั้นจริงตามความเห็นของแฟรงคลิน และใช้ข้อมูลนี้มากำหนดโครงสร้างของเกลียว ''มัวมอริส วิลกินส์วิลคินส์''เป็นผู้นำเอาการค้นพบของแฟรงคลินมาให้วัตสันและคริกโดยที่แฟรงคลินไม่ได้รับการแจ้งให้ทราบ ในปี [[พ.ศ. 2495]] นักชีวเคมีหลายคนอย่าง ''อเลกซานเดอร์ ทอดด์'' สามารถบ่งชี้รายละเอียดทางโครงสร้างเคมีของสันแกนดีเอ็นเอได้แล้ว
 
ระหว่างปี พ.ศ. 2495 คริกและวัตสันได้ถูกร้องขอไม่ให้ทำงานเพื่อสร้างหุ่นจำลองโครงสร้างของโมเลกุลดีเอนเอ โดยวัตสันถูกมอบงานที่เป็นทางการ โดยให้ไปทำการทดลองเกี่ยวกับการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ที่มีต่อไวรัสใบ[[ยาสูบ]]ซึ่งเป็นไวรัสตัวแรกที่ค้นพบได้รับการบ่งชี้ (พ.ศ. 2429) และแยกบริสุทธิ์ได้ ([[พ.ศ. 2478]]) [[กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน]]เผยให้เห็นว่าผลึกของไวรัสนี้เกิดอยู่ในพืชที่ติดโรค จึงน่าจะเป็นไปได้ที่จะแยกไวรัสตัวนี้ออกมาศึกษาได้ โดยใช้การเบนเลี้ยวของรังสีเอกซ์ ได้มีการเก็บรวมรวมภาพไวรัสที่ได้จากการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์มาตั้งแต่ก่อนสงคราม ครั้นถึง [[พ.ศ. 2493]] วัตสันก็สามารถสรุปจากภาพรังสีเอกซ์ทั้งหลายได้ว่าไวรัสโมเสกต้นยาสูบมีโครงสร้างเป็นเกลียว แม้จะมีงานที่ถูกมอบหมายให้ดังกล่าวอยู่แล้ว ความท้าทายในความน่าฉงนของดีเอ็เอก็มาล่อและเย้ายวนใจ และกับเพื่อน คือคริกก็ได้เริ่มร่วมกันคิดถึงโครงสร้างของดีเอนเอกันอีกครั้งหนึ่ง