ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พญายอดเชียงราย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ Yodchiangrai (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย แอนเดอร์สัน
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
Lookportak (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่ การแก้ไขแบบเห็นภาพ
บรรทัด 27:
 
== ครองราชย์ ==
หลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าติโลกราช ท้าวยอดเมืองจึงสืบราชสมบัติต่อมา ในช่วงดังกล่าวได้เกิดความขัดแย้งระหว่างกษัตริย์กับขุนนาง โดยหลักฐานของจีนทำให้สันนิษฐานได้ว่าพญายอดเมืองทรงตอบสนองความต้องการของจีนหรือกรมการเมืองของยูนนานมาก จนไม่สนใจความต้องการของท้องถิ่น<ref>วินัย พงศ์ศรีเพียร. '''ปาไป่สีฟู-ปาไป่ต้าเตี้ยน''', หน้า 149</ref> ซึ่งเรื่องราวดังกล่าวสอดคล้องกับหลักฐานท้องถิ่นคือ ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ และตำนานพื้นเมืองลำพูน ที่กล่าวถึงท้าวยอดเมืองไม่รักเจ้าแก้ว ราชบุตรของพระองค์ที่เกิดจาก[[มหาเทวีสิริยศวดี|นางโป่งน้อย]] แต่กลับเอาใจใส่ลูก[[ฮ่อ]] ซึ่งเลี้ยงเป็นลูกและให้ไปครอง[[อำเภอพร้าว|เมืองพร้าว]]<ref>'''ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่''', หน้า 83</ref> ทั้งยังมีการกล่าวถึงเจ้าแก้วที่ถูกบังคับให้ไหว้ลูกฮ่ออีกด้วย<ref>'''ตำนานเมืองลำพูน (สังเขป),''' หน้า 78-79</ref> ด้วยการที่พระองค์สนิทสนมกับฮ่อมากเกินไป จึงสร้างความไม่พอใจแก่เหล่าขุนนางเนื่องจากพระองค์ไม่ทรงรับฟังขุนนาง ท้ายที่สุดพระองค์ก็ถูกขุนนางปลดออก หลังจากครองราชย์ได้ 8 ปี โดยพระองค์ให้ไปครองเมืองซะมาดใน[[จังหวัดแม่ฮ่องสอน|เขตแม่ฮ่องสอน]] พร้อมกับยกเจ้าแก้วขึ้นครองราชย์สืบมา<ref>สรัสวดี อ๋องสกุล. '''พื้นเมืองเชียงแสน''', หน้า 157</ref>
 
หลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าติโลกราช ท้าวยอดเมืองจึงสืบราชสมบัติต่อมา เนื่องด้วยแม่ท้าวหอมุก จากที่ได้ใส่ร้ายท้าวบุญเรืองพระบิดาของพญายอดเชียงรายจนถึงกับต้องโทษถูกประหารชีวิตแล้ว ยังผลักดันราชบุตรของตนเองเพื่อขึ้นครองราชต่อจากพระเจ้าติโลกราช แต่ถูกเหล่ามหาอํามาตย์ทัดทานด้วยการสืบสันติวงศ์ ด้วยท้าวบุญเรืองสืบทอดเชื้อสายมาจากพระมเหสีเอก และเชื้อสายโดยตรงก็จะต้องเป็นพญายอดเชียงรายรวมถึงพญายอดเชียงรายก็ดำรงตำแหน่งมหาอุปราชกุมอำนาจเมืองเชียงรายและดินแดนไทใหญ่ เมืองนาย ถือเป็นกำลังที่มากที่สุดในขณะนั้น หากแม่ท้าวหอมุกให้ราชบุตรของตนขึ้นเป็นกษัตริย์ล้านนา ต่อจากพระเจ้าติโลกราชเกรงเจ้าหัวเมืองต่างๆจะไม่พอใจ และเมื่อพระเจ้าติโลกราชสิ้นพระชนม์ลง แม่ท้าวหอมุกก็มิได้ฟังคำทัดทานของเหล่าอำมาตย์ ได้ทูลเชิญให้ราชบุตรของตนขึ้นตำแหน่งกษัตริย์ล้านนา ทำให้เกิดโกลาหลครั้งใหญ่เกิดขึ้นในเมืองเชียงใหม่ เจ้าเมืองหลายเมืองยกทัพเข้ามาประชิดเมืองเชียงใหม่เพื่อขอคัดค้านแม่ท้าวหอมุกให้เปลี่ยนพระทัย ในสุดท้ายมหาอำมาตย์ได้เข้ากราบทูลแม่ท้าวหอมุกให้ยอมหยุดการผลักดันราชบุตรของตนลง แม่ท้าวหอมุกดูสถานการณ์ก็มิสู้ดี จึงแสร้งจำต้องทำอัญเชิญ พญายอดเชียงราย เสด็จราชาภิเษกเป็นกษัตริย์ล้านนาองค์ที่ 10
ขณะที่มีการยกเจ้าแก้วขึ้นครองราชย์ ก็พบว่า[[มหาเทวีสิริยศวดี|นางโป่งน้อย]] มีอำนาจสูงมาก เนื่องจากมีบทบาทในการปกครองร่วมกับพระโอรส โดยในหลักฐานมีการเรียกมหาเทวีและกษัตริย์ว่า
 
''"พระเป็นเจ้าสองพระองค์"'' และ ''"พระเป็นเจ้าแม่ลูกทั้งสอง"''<ref>'''ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3''', หน้า 195</ref><ref>'''ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3''', หน้า 198</ref><ref>'''ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4''', หน้า 112</ref><ref>'''ประชุมศิลาจารึกเมืองพะเยา''', หน้า 263</ref> ขณะเดียวกันบทบาทของขุนนางได้เพิ่มพูนมากขึ้นตามลำดับ ส่วนกษัตริย์กลับถูกลิดรอนอำนาจ<ref name="ประวัติ"/>
เมื่อพญายอดเชียงราย เสด็จมาถึงเชียงใหม่จึงได้มาทำพิธีถวายพระเพลิงพระเจ้าติโลกราช ใช้เวลาในการดำเนินการถวายพระเพลิงกว่าหนึ่งปีถือเป็นการถวายพระเพลิงที่ยิ่งใหญ่ที่สุด พญายอดเชียงรายเป็นกำลังสำคัญในในรัชสมัยพระเจ้าติโลกราช ที่พุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรือง พญายอดเชียงรายทรงเลื่อมใสและทำนุบำรุงพุทธศาสนาอย่างสูงสุด แม้นครั้งถวายพระเพลิงพระเจ้าติโลกราช เสร็จสิ้น ปรากฎว่า "พระแก้วขาว" หนึ่งในพระคู่บ้านคู่เมืองของเชียงใหม่ได้ถูกขโมยไป พระคู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่ทั้ง 3 องค์ประกอบด้วย พระสิงห์ พระแก้วขาว และพระแก้วเขียว(พระแก้วมรกต) เนื่องจากได้อัญเชิญแขกบ้านแขกเมืองที่มาร่วมงานถวายพระเพลิงพระเจ้าติโลกราชมีเป็นอันมาก จึงยากที่จะสืบว่าใครขโมยไป พญายอดเชียงรายจึงให้ทหารสายลับไปสืบเสาะ สุดท้ายได้ความว่ามีทหารจากเมืองอโยธยาปลอมเป็นแม่ชี แล้วลักพาพระแก้วขาวออกไป เมื่อสืบเสาะเป็นที่มั่นใจว่าอยู่ในกรุงอโยธยา พญายอดเชียงรายได้ ทำราชสาส์นถึง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยาถึง 3 ครั้งแต่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถก็มิคืนพระแก้วขาวกลับมา พญายอดเชียงรายได้ยกทัพหลวงไปล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่ 7 วัน สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงได้คืนพระแก้วขาวคืนกลับมา จึงอัญเชิญกลับมาเมืองเชียงใหม่ดังเดิม
 
และแล้วเมื่อพระแก้วขาวกลับคืนมา พญายอดเชียงรายได้ให้มหาอำมาตย์นำคดีของท้าวบุญเรืองผู้เป็นพระราชบิดาให้นำมามารื้อฟื้นอีกครั้ง เพราะตนมั่นใจในความซื่อสัตย์และจงรักภักดีต่อพระเจ้าติโลกราชเป็นอันมาก หลังจากที่ชำระคดีมีมูลของการใส่ร้ายป้ายสีของแม่ท้าวหอมุกเป็นอันมาก จึงทำให้เกิดการลงโทษและประหารผู้ก่อการและข้าราชบริพารร่วมกระบวนการเป็นอันมาก หลังจากเหตุการณ์นี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตไปหลายพันคน พญายอดเชียงรายเกิดความโศกเศร้าในเรื่องที่เกิดขึ้นในการเข่นฆ่ากันเองเพื่อแย่งราชอำนาจ และกลัวถึงผลกรรมที่ตนได้สั่งประหารพระญาติ จึงหาหนทางปฏิบัติธรรม พระมเหสีพระนางอะตะปาเทวี ได้แนะนำว่าเชิงดอยสุเทพมีพระอรหันต์องค์หนึ่งมาปักกลดจำศีลอยู่บริเวณนั้น พญายอดเชียงรายได้เข้าไปกราบพระอรหันต์พระองค์นั้น และได้ปฏิบัติธรรมหลังจากที่ถวายตัวเป็นศิษย์กับพระอรหันต์ พญายอดเชียงรายได้หารือเพื่อลดกรรมที่ตนได้สั่งประหารพระญาติและข้าราชบริพาร พระอรหันต์ได้แนะนำให้สร้างพระเจดีย์บรรจุพระเขี้ยวแก้วแล้วทำพิธีบูชาและอุทิศส่วนกุศลให้พระญาติก็จะลดกรรมลง ซึ่งพระเขี้ยวแก้วจะอยู่เชิงดอยสุเทพนี้เองทุกวันขึ้น 15 ค่ำจะมีแสงสว่างออกมาจากพระเขี้ยวแก้ว พญายอดเชียงรายได้ทำตามคำแนะนำของพระอรหันต์ให้มาค้นหาในคืนวันขึ้น 15 ค่ำ แต่ก็มิพบแต่อย่างไรเนื่องจากมีแต่แสงปกคลุมไปทั่ว ในวันถัดมาพระอรหันต์จึงแนะนำให้นำช้างเผือกของพญายอดเชียงรายให้เดินเสี่ยงทาย หากช้างหยุดที่ใดก็ให้ขุดที่นั่น พญายอดเชียงรายได้ทำตามโดยอธิฐานจิตและนำช้างเผือกเสี่ยงทาย ปรากฎว่าเมื่อช้างเดินลัดเลาะจากพระราชวังแล้วไปหยุดตรงที่เกิดแสง ใต้ต้นมะเดื่อ พญายอดเชียงรายจึงรับสั่งให้ขุดบริเวณนั้น ปรากฎว่ามีผอบแบบเชียงแสนด้านในบรรจุพระเขี้ยวแก้ว พระองค์จึงมีรับสั่งให้สร้างพระโกศทองใหญ่บรรจุพระเขี้ยวแก้วบรรจุไว้ในพระเจดีย์ที่สร้างขึ้นใหม่
 
ประวัติศิลาจารึก
 
พระญายอดเชียงราย ได้จารึกประวัติการสร้างวัดวิหารร่ำเปิงลงในศิลาจารึก ซึ่งเรียกว่า สิลาฝักขาม (ตัวหนังสือฝักขาม) ดังมีใจความว่า “สองพันสามสิบห้าปีจุลศักราชได้แปดร้อยห้าสิบสีตัวในปีเต๋าใจ๋ (เหนือ) เดือนวิสาขะไทยว่าเดือนเจ็ดออก (ขึ้น) สามค่ำวันศุกร์ไทย ได้ฤกษ์อันถ้วนสอง ได้โยคขื่ออายูสมะ ยามกลองงายแล่วสองลูกนาที” ซึ่งแปลเป็นภาษาปัจจุบันว่า “วันศุกร์ขึ้นสามค่ำเดือนเจ็ด ปีชวด พ.ศ. 2035 เวลา 08.20 น. ได้ฤกษ์ภรณี (ดาวงอนไถ) ได้โยคมหาอุจจ์” คือการก่อสร้างวัดได้ส่วนกันทั้งทางฝ่ายพุทธจักรและอาณาจักร โดยพระองค์ได้ทรงมีพระราชบัญชาให้พระมเหสีชื่อ พระนางอะตะปาเทวี เป็นผู้ดำเนินการสร้าง พระนางอะตะปาเทวี ได้ประชุมแต่งตั้งกรรมการดังต่อไปนี้
 
รายนามพระมหาเถระ
 
1. พระมหาสามีญาณโพธเจ้า
 
2. พระมหาเถระสุระสีมหาโพธิเจ้า
 
3. พระมหาเถระธรรมเสีนาปติเจ้า
 
4. พระมหาเถระสัทธรรมฐิระประสาทเจ้า
 
5. พระมหาเถระญาณสาครอารามิตรเจ้า
 
(ในศิลาจารึกว่ามีประมาณ 100 รูป แต่ปรากฏชื่อเพียง 5 รูป)
 
รายพระนามและนามผู้สร้างฝ่ายอาณาจักร
 
1. พระนางอะตะปาเทยี ประธานกรรมการออกแบบดำเนินการสร้าง
 
2. เจ้าเมืองญี่ เจ้าเมืองเชียงราย ผู้เป็นพระราชปิตุลา
 
3. เจ้าอติวิสุทธ เจ้าหมื่นเมืองตินเชียง
 
4. เจ้าหมื่นคำพร้ากลาง
 
5. เจ้าหมื่นธรรมเสนาปติ เมืองจา
 
6. เจ้าหมื่นหนังสือวิมลกิรติสิงหราชมนตรี
 
๗. เจ้าพันเชิงคดีรัตนปัญโญ
 
๘. เจ้าหมื่นโสม ราชัณฑ์คริก
 
ภายหลังจาการสร้างวัดวาอารามเป็นอันมาก พระญายอดเชียงรายทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรือง พระองค์ทรงเลื่อมใสและทำนุบำรุงพุทธศาสนาในตลอดรัชกาลของพระองค์และทรงร้องขอให้พระนางอะตะปาเทวี ให้นำราชบุตรของตนขึ้นครองราชแทนพระองค์ นั่นคือพญาแก้ว(พระเมืองแก้ว) หรือพระเจ้าศิริธรรมจักรพรรดิ ขึ้นครองราชแทนพระองค์ ก่อนที่พระญายอดเชียงรายจะลาทรงผนวชอย่างเงียบๆกับพระอรหันต์ที่เป็นพระอาจารย์
 
== อ้างอิง ==