ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขที่ 6534420 สร้างโดย 182.232.165.47 (พูดคุย)
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 91:
 
'''เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต''' ได้ทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจอันทรงคุณูปการต่อนครลำปางและประเทศชาติเป็นอเนกประการ มีรายละเอียดพอสังเขป ดังนี้
 
=== ด้านงานราชการ ===
เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต ได้อุทิศที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของคุ้มหลวงให้ทางราชการเพื่อก่อสร้างศาลากลางจังหวัดลำปาง<ref name='ปราณี'>ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง. '''เพ็ชร์ล้านนา'''. เชียงใหม่: ผู้จัดการ, พิมพ์ครั้งที่ 2. 2538, หน้า 48</ref>
 
=== ด้านการทหารและการป้องกันนคร ===
 
พระองค์ทรงเป็นผู้ริเริ่มและวางรากฐานด้านการทหารให้แก่นครลำปาง ได้ทรงระดมชาวเมืองต่อสู้ป้องกันนครจากพวกเงี้ยวที่ก่อการจลาจล ยกกำลังเข้าตีนครลำปางเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2445 และสามารถปราบปรามเงี้ยวราบคาบ การที่ทรงระดมพลเมืองเป็นทหารเพื่อรบพุ่งทำสงครามดังกล่าว ทำให้เกิดมีกองทหารนคร[[ลำปาง]]ขึ้น และเพื่อความเป็นปึกแผ่นมั่นคงของกิจการทหาร พระองค์ได้ประทานที่ดินส่วนพระองค์สร้างโรงทหาร โรงพยาบาลทหาร และค่ายทหาร<ref name='ปราณี'ฝ>
 
เจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็น[[ราชองครักษ์พิเศษ]] เมื่อปี พ.ศ. 2458<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2458/D/2431_1.PDF แจ้งความกระทรวงกลาโหม ตั้งราชองครักษ์พิเศษ]</ref>
เส้น 101 ⟶ 104:
เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต ทรงได้รับการศึกษา[[อักษรล้านนา|หนังสือไทยเหนือ]]ในสำนักอภิไชย วัดเชียงมั่น นครลำปาง และหนังสือไทยกลางที่คุ้มหลวง เนื่องจากขณะนั้นยังไม่มีโรงเรียน พระองค์ทรงตระหนักดีว่าการศึกษาของประชาชนลำปางที่มีอยู่ในวัดนั้นไม่เพียงพอต่อการพัฒนานคร เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต ทรงสนพระทัยติดตามความเคลื่อนไหวด้านการจัดการศึกษาของส่วนกลาง แล้วทรงนำมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาของนครลำปาง ทรงนำการศึกษาแบบสอนภายในโรงเรียนเข้ามาแทนการศึกษาในวัดเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2447 ณ สถานที่ตั้งโรงเรียนเทศบาล 3 (บุญทวงศ์อนุกูล) ในปัจจุบัน
 
พระองค์ทรงเล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาว่าจำเป็นยิ่งต่อการพัฒนานครลำปาง พระองค์ได้สนับสนุนส่งเจ้านายบุตรหลานและประชาชนลำปาง ที่ทรงคัดเลือกว่ามีสติปัญญาความสามารถไปศึกษาต่อที่[[กรุงเทพมหานคร]] โดยให้อยู่ในความดูแลของ[[กระทรวงมหาดไทย]] ซึ่งบุคคลเหล่านั้นก็ได้กลับมาทำงานสร้างคุณประโยชน์ให้แก่นครลำปางและประเทศชาติหลายท่าน นอกจากนั้น พระองค์ยั่งได้ทรงสละราชทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อที่ดินและอาคารของห้างเซ่งหลี สร้างโรงเรียนขึ้นอีกแห่งหนึ่งแล้วประทานให้เป็นของรัฐ<ref name=rat>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2474/D/2842.PDF ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งคณะกรรมการป้องกันการค้ากำไรเกินควร ประจำจังหวัดลำปาง]</ref><ref name='ปราณี'/> ซึ่งในปี [[พ.ศ. 2448]] [[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ขณะดำรงอิสริยยศเป็นสยามมกุฎราชกุมารได้เสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือ และทรงพระกรุณาเสด็จทรงเปิดโรงเรียนใหม่แห่งนี้เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน และพระราชทานนามว่า "[[โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย]]" เพื่อถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่ เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต
 
=== ด้านการศาสนา ===
เส้น 107 ⟶ 110:
 
=== ด้านการอุตสาหกรรมและการคมนาคม ===
เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต ทรงมีสายพระเนตรยาวไกล ทรงเล็งเห็นว่าการอุตสาหกรรมต่อไปจักเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจของบ้านเมือง ได้ทรงจัดตั้งโรงงานทอผ้าและโรงงานฟอกหนังขึ้นในนครลำปาง ซึ่งนับเป็น '''โรงงานฟอกหนังแห่งแรกของประเทศไทย''' นอกจากนั้น พระองค์ยังทรงส่งเสริมกิจการด้านการคมนาคม ทรงมีราชดำริให้มีการก่อสร้างปรับปรุงถนนต่างๆ เพื่อเชื่อมโยงนครลำปางและเมืองบริวารใกล้เคียง รวมทั้ง ได้ประทานที่ดินส่วนพระองค์เพื่อก่อตั้งที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข<ref name='ปราณี'ฝ> เพื่อเป็นศูนย์กลางในการติดต่อสื่อสารของประชาชน
 
== การขอพระราชทานนามสกุล ==