ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สงครามอังกฤษ–พม่าครั้งที่หนึ่ง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{Infobox Military Conflict
| conflict = สงครามพม่า-พม่า–อังกฤษ ครั้งที่ 1
| partof = [[สงครามพม่า-พม่า–อังกฤษ]]
| image = [[ไฟล์:British_attack_in_Burma_1824.png|300px]]
| caption = [[ภาพวาด]]กองทัพจักรวรรดิอังกฤษโจมตีกองทัพพม่า ในวันที่ [[8 กรกฎาคม]] [[ค.ศ. 1824]]
| date = [[5 มีนาคม]] [[ค.ศ. 1824]]-[[24 กุมภาพันธ์]] [[ค.ศ. 1826]]
| place = [[พม่า]], [[เบงกอลตะวันออก]], [[รัฐอัสสัม|อัสสัม]], [[มณีปุระ]], [[กะจาร์]] และ[[ซินเตีย]]
| territory =
บรรทัด 23:
| notes =
}}
'''สงครามพม่า-พม่า–อังกฤษครั้งที่หนึ่ง''' ({{lang-en|Pagoda War, First Anglo-Burmese War}}) เป็น[[สงคราม]]ระหว่าง[[จักรวรรดิอังกฤษ]]กับ[[ราชวงศ์อลองพญา]]ของ[[พม่า]] เป็นระยะเวลา 2 ปี ในระหว่าง ค.ศ. 1824-1824–1826 ถือเป็นสงครามครั้งแรกของ[[สงครามพม่า-อังกฤษ]] ซึ่งเกิดขึ้นทั้งหมด 3 ครั้ง รวมทั้งครั้งนี้
 
สงครามครั้งนี้เกิดจาก พม่าได้ครอบครอง[[แคว้นอัสสัม]]ของ[[อินเดีย]]ได้สำเร็จ ในรัชสมัย[[พระเจ้าจักกายแมง]] ก็ต้องเผชิญหน้ากับจักรวรรดิอังกฤษที่กำลังอยู่ในระหว่างล่าอาณานิคมอยู่ในรัชสมัย[[สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร]] ซึ่งในช่วงเวลานั้นอังกฤษก็กำลังคุกคามอินเดียอยู่
 
ในระยะแรก กองทัพอังกฤษยังไม่จัดเจนในการสงครามครั้งนี้ เนื่องจากไม่คุ้นกับสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศ และยุทธวิธีการรบ แต่ทว่า ผลของการสู้รบมาถึงจุดพลิกผันที่ให้ถึงที่สิ้นสุดเอาเมื่อถึงวันที่ [[1 ธันวาคม|1]]-[[14 ธันวาคม]] [[ค.ศ. 1824]] ซึ่งเป็นสมรภูมิใน[[ปริมณฑลย่างกุ้ง]] [[มหาบัณฑุละ]] แม่ทัพใหญ่ของฝ่ายพม่า ซึ่งนำกองกำลังประมาณ 60,000 นาย จากกรุง[[อังวะ|รัตนปุระอังวะ]] ซึ่งเป็น[[เมืองหลวง]] ปะทะกับกองทัพอังกฤษ ซึ่งประกอบด้วย ทหารสัญชาติอังกฤษไม่เกิน 1,300 นาย และทหารแขก ([[ซีปอย]]) 2,500 นาย ในเวลาเพียง 15 วัน กองทัพพม่าสูญเสียเป็นอย่างยิ่ง จนมหาบัณฑุละเหลือกำลังทหารเพียง 7,000 นายเท่านั้น ต้องถอยร่นไปตั้งรับที่เมืองดนูพยู หรือทุนพยู จนลำน้ำปันฮะลาย ซึ่งเป็นลำน้ำสำคัญที่ตัดออกสู่[[แม่น้ำอิระวดี]] ซึ่งเป็นแม่น้ำสายใหญ่ มหาบัณฑุละใช้ยุทธวิธีการรบแบบสมัยโบราณ ที่เคยกระทำใช้ได้ผลสำเร็จมาแล้วในการรบแต่ละครั้งในประวัติศาสตร์ภูมิภาค[[เอเชียอาคเนย์]] คือ การตั้งค่ายและป้อมปืนขึ้นริมน้ำทั้งสองฟากเพื่อดักยิงเรือของข้าศึกที่ผ่านมา แต่ด้วยเทคโนโลยีทางอาวุธที่ทันสมัยกว่าและระเบียบวิธีการรบของกองทัพอังกฤษ มหาบัณฑุละเป็นฝ่ายแพ้อย่างยับเยิน และหลังจากนั้นในวันที่ [[1 เมษายน]] ปีถัดมา มหาบัณฑุละก็เสียชีวิตลงด้วยสะเก็ดปืนใหญ่ระเบิดที่เมืองดนูพยูนั่นเอง เมื่อถูกฝ่ายอังกฤษใช้ปืนใหญ่ที่ทันสมัยกว่ารวมทั้ง[[ปืนครก]] ขึ้นตั้งเป็นหอรบระดมยิงกระหน่ำค่ายของพม่า <ref>B.R. Pearn, 'The War of 1824' in A History of Rangoon (Rangoon, 1939), pp. 111-129</ref>
 
สงครามสิ้นสุดลงที่การทำ[[สนธิสัญญายันดาโบ]] เมื่อวันที่ [[24 กุมภาพันธ์]] ค.ศ. 1826 ซึ่งมีเนื้อหาสำคัญ คือ อังกฤษจะผนวกเอา[[รัฐยะไข่|อะระกัน]]และ[[เขตตะนาวศรี|ตะนาวศรี]] ซึ่งเป็นเมืองท่าสำคัญด้าน[[ทะเลอันดามัน]]ไปเป็นสิทธิ์ขาดอย่างที่จะเรียกเอาคืนไม่ได้ พร้อมทั้งพม่าต้องสัญญาว่าจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการของดินแดนทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ คือ แคว้นอัสสัม, [[กะจาร์]], [[ซินเตีย]] และ[[มณีปุระ]] ซึ่งภายหลัง อังกฤษผนวกรวมเป็นส่วนหนึ่งของ[[บริติชราช]] ซึ่งปกครองโดย ข้าหลวงใหญ่ของอังกฤษที่[[กัลกัตตา]] นอกจากนี้แล้ว พม่ายังต้องชดใช้[[ค่าปฏิกรรมสงคราม]]ให้อังกฤษเป็นจำนวนเงิน 2,000,000 [[ปอนด์สเตอร์ลิง]] และต้องยอมให้อังกฤษตั้งสถานกงสุลขึ้นในกรุงรัตนปุระอังวะ ซึ่งมี [[จอห์น ครอว์ฟอร์ด]] เป็นกงสุลคนแรก
 
ซึ่งสงครามครั้งนี้ ได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่ออาณาจักรอังวะ หรือ ราชวงศ์อลองพญา ที่ถือได้ว่ามีอำนาจสูงสุดในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ขณะนั้น ซึ่งนับจากนี้ต่อไป พม่าไม่อาจจะแสดงอิทธิพลหรือแผ่แสนยานุภาพใด ๆ อีกต่อไป และนำไปสู่การสิ้นสุดลงของราชวงศ์อลองพญา ซึ่งเป็น[[ราชวงศ์]]สุดท้ายในประวัติศาสตร์พม่า และถือเป็นสิ้นสุดของ[[ระบอบราชาธิปไตย]]ของพม่าในปี [[ค.ศ. 1885]] หลังสิ้นสุด[[สงครามพม่า-อังกฤษ ครั้งที่ 3]]<ref>D.G.E. Hall, Burma, p. 105: see Article Two of the Treaty of Yandabo, note 128,</ref><ref>สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, ไทยรบพม่า (พระนคร: แพร่พิทยา, 2514) หน้า 754-756</ref><ref>Snodgrass, op. cit., pp. 314-319: John Crawfurd, Journal of an Embassy from the Governor-General of India to the Court of Ava in the year 1827 (London, 1829) pp. 35-43: The Treaty of Yandabo (1826)</ref>
 
==สิ่งที่ส่งผลตามมา==