ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาชญากรรมสงคราม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Kurino (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
 
แนวคิดเรื่องอาชญากรรมสงครามปรากฏขึ้นในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของคริสต์ศตวรรษที่ 20 เมื่อมีการประมวล[[กฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ]]ที่ใช้บังคับได้สำหรับการทำสงครามระหว่าง[[รัฐอธิปไตย]] การประมวลกฎหมายดังกล่าวเกิดขึ้นในระดับชาติ เช่น การเผยแพร่[[ประมวลกฎหมายลีแบร์]]ในสหรัฐเมื่อ ค.ศ. 1863 และในระดับนานาชาติ เช่น การตกลงรับสนธิสัญญาใน[[อนุสัญญากรุงเฮก ค.ศ. 1899 และ 1907]] นอกจากนี้ การพิจารณาคดีในศาลระดับชาติ ณ ช่วงเวลาดังกล่าว ยังช่วยสร้างความกระจ่างให้แก่กฎหมายเหล่านี้<ref name="Cassese"/> ครั้นสิ้น[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมสงครามยิ่งมีพัฒนาการสำคัญ การพิจารณาคดีมากมายเกี่ยวกับอาชญากรสงครามของ[[ฝ่ายอักษะ]]นั้นส่งผลให้เกิด[[หลักการเนือร์นแบร์ก]]ซึ่งวางข้อความคิดเรื่องอาชญากรรมสงครามอย่างใดจะกลายเป็น[[กฎหมายอาญาระหว่างประเทศ|ความผิดอาญาในระดับโลก]] นอกจากนี้ เมื่อมี[[อนุสัญญาเจนีวา]]ใน ค.ศ. 1949 สนธิสัญญาฉบับบนี้ได้ให้นิยามใหม่เกี่ยวกับอาชญากรรมสงคราม และกำหนดให้รัฐทั้งหลายมี[[เขตอำนาจสากล]]ในการดำเนินคดีอาชญากรรมดังกล่าว<ref name="Cassese"/> ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งศาลระหว่างประเทศขึ้นหลายแห่งช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 มีการกำหนดรูปแบบอาชญากรรมสงครามเพิ่มเติมให้ครอบคลุม[[การขัดกันด้วยอาวุธ]]ประเภทอื่น ๆ เช่น [[สงครามกลางเมือง]] นอกเหนือไปจากการสู้รบกันระหว่างรัฐกับรัฐ<ref name="Cassese"/>
 
 
== อาชญากรสงครามในประเทศไทย ==
ในประเทศไทย มีคดีอาชญากรสงครามที่สำคัญ โดยเกิดขึ้นหลังสถานการณ์ทางการเมืองร้อนระอุ และ[[สงครามโลกครั้งที่ 2]]กำลังจบ โดยมีการจับกุมและฟ้องร้อง จอมพล [[แปลก พิบูลสงคราม]] อดีตผู้นำทางการทหารและการเมืองกับพวก ในข้อหาอาชญากรสงครามต่อศาลฎีกา ซึ่งกฎหมายกำหนดให้เป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาชญากรสงคราม ซึ่งนับว่าเป็นวิกฤตการณ์ทางเมืองที่สำคัญของประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งวิกฤตการณ์ดังกล่าวคลี่คลายไปได้โดยอำนาจของศาลยุติธรรม ซึ่งวินิจฉัยว่าพระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม เฉพาะที่บัญญัติย้อนหลังให้การกระทำก่อนวันใช้กฎหมายเป็นความผิดนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญเป็นโมฆะ ไม่อาจลงโทษจำเลยได้ จอมพล ป. พิบูลสงครามกับพวก จึงได้รับการปล่อยตัวพ้นข้อหา จึงนับได้ว่าบทบาทในทางการเมืองของศาลยุติธรรมในฐานะเป็นสถาบันทางการเมืองด้วย<ref>วิชา มหาคุณ, ศาลยุติธรรมและการพิพากษาคดี, (บริษัท สำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด, 2536), หน้า 88.</ref>
 
ในขณะที่กำลังเกิดสงคราม และญี่ปุ่นกำลังบุกเข้ามาที่ไทย จอมพล ป พิบูลสงครามเพิ่งกำลังขึ้นมาดำรงตำแหน่ง รัฐบาลไทยได้ยอมแพ้ลงในเดือนธันวาคม 2484<ref>ปัญญา อุดชาชน, “พระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม : รากฐานการกำเนิดศาลรัฐธรรมนูญ”, รัฐสภาสาร, ปีที่ 61 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนเมษายน 2556, หน้า 35-45.</ref> โดยฝ่ายไทยแสดงที่ท่าสัมพันธไมตรีและให้ความร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่นในทุกด้าน เพื่อทำสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร และสุดท้ายอเมริกาได้ทิ้งปรมาณูและเป็นการประกาศการยอมแพ้ญี่ปุ่น
 
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสหรัฐอเมริกาได้แถลงการณ์ว่า “...การประกาศสงครามกับประเทศอเมริกาของประเทศไทยเป็นการกระทำที่ผิดต่อรัฐธรรมนูญและเป็นปฏิปักษ์ต่อเจตจำนงของประชาชนชาวไทย และประเทศไทยมีความตั้งใจมั่นที่จะฟื้นความสัมพันธ์ทางไมตรีกับสหประชาชาติเหมือนดังที่มีก่อนถูกญี่ปุ่นเข้าครอบครอง มีคำมั่นสัญญาว่ากฎหมายใดที่ได้ออกมาเป็นปฏิปักษ์ต่อส่วนได้เสียของเราจะได้มีการพิจารณายกเลิก มีคำรับรองว่าถ้ากฎหมายเช่นว่านี้ได้ก่อให้เกิดความเสียหายและประกาศปฏิญญาว่าประเทศไทยจะได้ให้ความร่วมมือทุกอย่างแก่สหประชาชาติในการสร้างเสถียรภาพโลก...”
 
ปลายเดือนสิงหาคม 2488 [[นายปรีดี พนมยงค์]] ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในขณะนั้น ได้โทรเลขไปถึง [[หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช]] ขอให้กลับประเทศไทยมาเป็นนายกรัฐมนตรี อีกทั้งมีการตราพระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม พ.ศ. 2488<ref>[https://www.dailynews.co.th/article/201241 อาชญากรสงคราม..]</ref> หลังสงครามโลกครั้งที่สองจบลง ฝ่ายสัมพันธมิตรได้จัดตั้งศาลอาชญากรสงครามขึ้นเพื่อพิจารณาความผิดของฝ่ายอักษะได้ทำไป ที่เมืองนูเรมเบิร์ก ประเทศเยอรมนี และกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ส่งผลให้ทหารนาซีของประเทศเยอรมนีถูกแขวนคอ จำนวน 12 คน และทหารญี่ปุ่นถูกแขวนคอ จำนวน 7 คน รวมถึงอดีตนายกรัฐมนตรีโตโจ ในส่วนของประเทศไทยนั้น สถานีวิทยุกระจายเสียงที่กรุงเดลลี ประเทศอินเดีย และที่ซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ออกข่าวว่า ฝ่ายสัมพันธมิตรจะนำเอาอาชญากรสงครามในประเทศไทยไปขึ้นศาลต่างประเทศโดยมีอาชญากรสงคราม จำนวน 4 คน คือ [[แปลก พิบูลสงคราม]] [[หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ)]] [[ประยูร ภมรมนตรี]] และ[[สังข์ พัธโนทัย]] โดยหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ได้สั่งให้[[พระยาอรรถการีย์นิพนธ์ (สิทธิ จุณณานนท์]]ร่างพระราชบัญญัติอาชญากรสงครามขึ้นและเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาและประกาศใช้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว โดยที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่า อาชญากรสงครามเป็นภัยอันร้ายแรงต่อความสงบของโลก สมควรที่จะจัดให้บุคคลที่ประกอบได้สนองกรรมชั่วที่ตนได้กระทำตามโทษานุโทษ <Ref>สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, รายงานการประชุมคณะรัฐมนตรีพิเศษ 27 กันยายน 2488.</ref>
 
 
== อ้างอิง ==