ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 65:
คราวต้องเวนราชสมบัติ สมเด็จพระเจ้าบรมโกศไม่โปรดกรมขุนอนุรักษ์มนตรี<ref name=v/> จึงทรงข้ามไปพระราชทานพระราชบัลลังก์ให้พระราชโอรสองค์ที่ 3 คือ ''เจ้าฟ้าอุทุมพร'' ผู้มีพระปรีชาสามารถมากกว่า แทน<ref name=v/> ครั้นสิ้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ เจ้าฟ้าอุทุมพรก็ราชาภิเษกเป็น[[สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร]] เสวยราชย์ได้ไม่ถึง 3 เดือน กรมขุนอนุรักษ์มนตรีก็ตั้งพระองค์เองขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์อีกพระองค์หนึ่ง เป็นเหตุให้กรมหมื่นจิตรสุนทร, กรมหมื่นสุนทรเทพ และกรมหมื่นเสพภักดี พระเชษฐาและพระอนุชาร่วมพระชนก ซึ่งมักเรียกรวมกันว่า "[[เจ้าสามกรม]]" ทรงไม่พอพระทัยเป็นอันมาก และคิดกบฏ แต่ทรงถูกเจ้าฟ้าเอกทัศจับได้ ก่อนถูกประหารชีวิตทั้งสามพระองค์ ส่วนสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรนั้นทรงตัดสินพระทัยเลี่ยงไปผนวชเสียด้วยเหตุผลส่วนพระองค์ กรมขุนอนุรักษ์มนตรีจึงได้ราชสมบัติเป็นสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ<ref name=v/>
 
=== สภาพบ้านเมืองรัชกาลพระเจ้าเอกทัศหรอจะ ===
 
นับตั้งแต่ พ.ศ. 2301 สืบมา อันเป็นรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเอกทัศนั้น ได้มีหลักฐานบรรยายสภาพบ้านเมืองในช่วงเวลานั้นอยู่หลายมุมมอง หลักฐานฝ่ายไทยสมัยหลังส่วนใหญ่อธิบายไว้ทำนองว่า ในรัชกาลนี้ ข้าราชการระส่ำระสาย บางคนลาออกจากราชการ และมีบาทหลวงฝรั่งเศสเขียนจดหมายเหตุว่า ในยามนั้น "''...บ้านเมืองแปรปรวน เพราะฝ่ายใน [พระราชชายา] ได้มีอำนาจเท่ากับพระเจ้าแผ่นดิน ผู้มีความผิดฐานกบฏ ฆ่าคนตาย เอาไฟเผาบ้านเรือน จะต้องได้รับโทษถึงประหารชีวิต แต่ความโลภของฝ่ายในให้เปลี่ยนเป็นริบทรัพย์สิน ริบได้ก็ตกเป็นของฝ่ายในทั้งสิ้น พวกข้าราชการเห็นความโลภของฝ่ายใน ก็แสวงหาผลประโยชน์กับผู้ต้องหาคดีให้ได้มากที่สุดที่จะหาได้ จะได้แบ่งเอาบ้าง ความเดือดร้อนลำเค็ญก็ยิ่งทับถมราษฎรมากขึ้น...''"<ref>ขจร สุขพานิช. หน้า 269.</ref> เป็นต้น ขณะที่หลักฐานอีกฝ่ายหนึ่งมีว่าไว้ถึงพระราชกิจของพระเจ้าเอกทัศที่ถูกมองข้าม<ref>ดูเพิ่มที่ [[สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์#พระราชกรณียกิจ|พระราชกรณียกิจของพระเจ้าเอกทัศ]] หรือ สุเนตร ชุตินธรานนท์. หน้า 81-82.</ref> และมิได้มองว่า พระเจ้าเอกทัศทรงมีความประพฤติย่ำแย่เช่นนั้นเลย แต่ว่า พระองค์ ''"ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา บ้านเมืองสงบ การค้าขายเจริญ ทรงบริจาคทรัพย์ให้แก่คนยากจนจำนวนมาก"''<ref>จรรยา ประชิตโรมรัน. หน้า 3.</ref> เป็นต้น
 
ในแง่เศรษฐกิจ ความมั่งคั่งของอาณาจักรอยุธยาถดถอยลง เนื่องจากส่งของป่าออกไปขายให้ต่างประเทศได้ยากมาก อันของป่านี้เป็นสินค้าส่งออกสำคัญและสร้างรายได้ให้แก่รัฐบาลมานานนับศตวรรษ ทั้งนี้ เป็นผลพวงของการเปลี่ยนแปลง ทั้งในด้านนโยบายทางการเมืองภายในที่ไม่เป็นมิตรกับชาวต่างชาติครั้นเหตุประหารชีวิต[[คอนสแตนติน ฟอลคอน]]เมื่อต้น[[ราชวงศ์บ้านพลูหลวง]] ประกอบกับตลาดต่างประเทศมีความต้องการสินค้าเหล่านี้น้อยลง พ่อค้าจากมหาสมุทรอินเดีย จีน ญี่ปุ่น และชาติตะวันตกพากันลดการติดต่อซื้อขาย<ref>วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 120-122.</ref>
 
=== สรามสงครามพระเจ้าอลองพญางค ===
{{บทความหลัก|สงครามพระเจ้าอลองพญา}}
ใน พ.ศ. 2303 [[พระเจ้าอลองพญา]] ปฐมกษัตริย์แห่ง[[ราชวงศ์อลองพญา]] ทรงกรีฑาทัพมาชิงเอากรุงศรีอยุธยาในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ หมายแผ่อิทธิพลเข้าดินแดนมะริดและตะนาวศรีและกำจัดภัยคุกคามจากอยุธยาที่มักยั่วยุให้หัวเมืองชายขอบของพม่ากระด้างกระเดื่องอยู่เสมอ<ref>วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 132.</ref> หรือไม่พระองค์ก็ทรงเห็นว่า อาณาจักรอยุธยามีความอ่อนแอ นับเป็นโอกาสอันดี<ref>จรรยา ประชิตโรมรัน. หน้า 35.</ref> อนึ่ง ก่อนหน้านี้ อาณาจักรอยุธยาว่างเว้นการศึกกับพม่ามานานกว่า 150 ปีแล้ว<ref name="CP22"/> ทว่า กองทัพพม่าก็มิอาจเอาชัยเหนือกรุงศรีอยุธยาได้ในครานั้น เพราะพระเจ้าอลองพญาสวรรคาลัยกลางคัน กองทัพพม่าจึงต้องยกกลับไปเสียก่อน สำหรับเหตุแห่งการสวรรคตดังว่านั้น หลักฐานของฝ่ายไทยและฝ่ายพม่าบันทึกไว้แตกต่างกัน ไทยว่า สะเก็ดปืนแตกมาต้องพระองค์<ref>สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. หน้า 256-257.</ref> ส่วนพม่าว่า ทรงพระประชวร[[โรคบิด]]<ref>หม่องทินอ่อง. หน้า 171.</ref>
เส้น 303 ⟶ 302:
 
== บรรณานุกรม ==
{{เริ่มอ้างอิง|3}}
* {{cite journal | url=http://www.irrawaddymedia.com/cartoon.php?art_id=5081 | author=Aung Lwin Oo | title=The Shadow of 1767: Old enmities still weigh on Thai-Burmese relationship | work=[[The Irrawaddy]] | date=13 October 2005 | publisher=The Irrawaddy Media Group}}
* {{cite book | last=Baker | first=Chris, Christopher John Baker, Pasuk Phongpaichit | title = A history of Thailand | publisher=Cambridge University Press | year=2009 | edition=2 | isbn=0521767687, 9780521767682}}