ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Pitt (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 100:
หลังจากทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง[[พระราชวังกรุงธนบุรี]]เมื่อ พ.ศ. 2310 ซึ่งเป็นพระราชวังหลวงที่ใช้เป็นสถานที่ประทับและว่าราชการ พร้อมกับปรับปรุงป้อมวิไชยเยนทร์ และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นป้อมวิไชยประสิทธิ์ ตำแหน่งของพระราชวังนี้เป็นจุดสำคัญทางยุทธศาสตร์ สามารถสังเกตการณ์ได้ในระยะไกล อีกทั้งยังใกล้กับเส้นทางคมนาคมและเส้นทางการเดินทัพที่สำคัญอีกด้วย ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ[[กองทัพเรือ]]<ref name="พระราชวังเดิม">[http://www.thaifolk.com/doc/wangderm.htm พระราชวังเดิม]</ref>
 
พระราชกรณียกิจแรกหลังการเสด็จขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2311 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉินเหม่ยเซิน พ่อค้าเดินเรือจีน นำพระราชสาสน์ราชสาส์นไปถวายต่อ[[จักรพรรดิเฉียนหลง]]แห่ง[[ราชวงศ์ชิง|ราชสำนักชิง]] ใจความสำคัญว่าด้วยพระราชประสงค์ฟื้นฟูสัมพันธไมตรี การค้าขายกับจีน และขอพระราชทานตราตั้งจากราชสำนักชิงเพื่อรับรองสถานภาพพระมหากษัตริย์ แต่ราชสำนักชิงปฏิเสธในปีแรก เพราะมองว่าพระองค์มิใช่ผู้สืบราชสันตติวงศ์เจ้านายกรุงเก่า และเจ้านายกรุงเก่ายังมีพระขนม์ชีพอยู่ คือ [[กรมหมื่นเทพพิพิธ]] (พระราชโอรสใน[[สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ]]) เสด็จไปก่อตั้งชุมนุมเจ้าพิมาย ส่วนเจ้าจุ้ย (พระราชโอรถโอรสในเจ้าฟ้าอภัยและพระราชนัดดาใน[[สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9]]) และเจ้าศรีสังข์ (พระราชโอรสใน[[เจ้าฟ้าธรรมธิเบศไชยเชษฐ์สุริยวงศ์]]และพระราชนัดดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) เสด็จลี้ภัยสงครามไปอยู่กับพระยาราชาเศรษฐี ญวน (ม่อซื่อหลิน) ที่เมืองพุทไธมาศ อีกทั้งในระยะนั้นจีนได้รับรายงานที่ไม่เป็นความจริงจากม่อซื่อหลิน ทำให้เอกสารราชสำนักชิงจึงไม่เรียกขานพระนามอย่างพระมหากษัตริย์ แต่เรียกขานเพียง '''กันเอินซื่อ''' (เจ้าเมืองตาก) เท่านั้น<ref name="จิ้มก้องขอหองโอรสสวรรค์">จิ้มก้องขอหองโอรสสวรรค์ : สมเด็จพระเจ้าตากสินกับจีนราชวงศ์ชิง [เจมส์ เค.ชิน (เฉียนเจียง), เขียน][อาทิตย์ เจียมรัตัญญ, แปล] ใน {{อ้างหนังสือ|ผู้แต่ง = |ชื่อหนังสือ = รัฐศาสตร์สาร ปีที่ 37 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2559)|URL = http://www.academia.edu/10918681/จิ_มก_องขอหองโอรสสวรรค_สมเด_จพระเจ_าตากสินกับจีนราชวงศ_ชิง_James_K._Chin_Seeking_Recognition_from_the_Son_of_Heaven_King_Taksins_Siam_and_Qing_China_during_the_Late_Eighteenth_Century_Thai_|จังหวัด = กรุงเทพฯ|พิมพ์ที่ = โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์|ปี = 2559| ISBN = 978-616-7308-25-8|จำนวนหน้า = |หน้า = 1-23}}</ref>
 
=== ปราบชุมนุม ===
บรรทัด 109:
เมื่อ[[พระเจ้ามังระ]]ทราบข่าวว่ามีคนไทยตั้งตนเป็นใหญ่อีกครั้ง จึงได้มีพระราชโองการให้เจ้าเมือง[[ทวาย]]ยกทัพมาปราบปราม<ref>ธีระชัย ธนาเศรษฐ. '''เปิดวังสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช'''. สำนักพิมพ์ ธีรกิจ (ประเทศไทย) จำกัด. หน้า 134.</ref> กองทัพพม่ายกมาถึงอำเภอบางกุ้งซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของกรุงธนบุรี พระราชพงศาวดารบันทึกว่ามีกองกำลัง 2,000 คน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จนำกองทัพออกตีพม่าจนแตกพ่าย กิตติศัพท์ที่ทรงรบชนะทำให้พระราชอำนาจทางการเมืองในภาคกลางยิ่งเข้มแข็งยิ่งขึ้น<ref>นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 148.</ref>
 
พ.ศ. 2311 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเริ่มจากยกทัพไปตีชุมนุมพิษณุโลกเป็นชุมนุมแรก แต่พระองค์ต้องกระสุนปืนจึงต้องยกทัพกลับและรักษาพระองค์ยังพระนคร ชุมนุมพิษณุโลกนี้ภายหลังอ่อนแอลงจนกระทั่งถูกชุมนุมเจ้าพระฝางผนวกไป หลังหายจากพระอาการประชวรแล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงใช้เวลาปราบปรามชุมนุมอื่น ๆ เพื่อรวบรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่นต่อไป โดยเริ่มจากชุมนุมเจ้าพิมาย [[กรมหมื่นเทพพิพิธ]]ทรงถูกปราบปรามและสำเร็จโทษเมื่อ พ.ศ. 2311<ref>Damrong Rajanubhab, pp. 418-419</ref> ตามด้วยชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช ซึ่งพระปลัดผู้รั้งเมืองนครศรีธรรมราชได้ตั้งตัวเองขึ้นเป็นเจ้า<ref>W.A.R.Wood, p. 254</ref> เจ้านครศรีธรรมราชสู้ไม่ได้หนีต่อลงไปยังหัวเมืองทางใต้ พระยาปัตตานีกลัวก็จับตัวมาส่งให้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเมื่อ พ.ศ. 2313 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงยกทัพไปตีชุมนุมเจ้าพระฝางในหัวเมืองฝ่ายเหนือ สามารถยึดได้เมืองพิษณุโลกและชุมนุมเจ้าพระฝางเมือง[[สวางคบุรี]] รบกันได้เพียง 3 วัน เจ้าพระฝางก็แตกหนี เมื่อทรงปราบปรามชุมนุมต่าง ๆ ลงอย่างราบคาบ และทรงปราบกองทัพของม่อซื่อหลินที่เมืองพุทไธมาศสำเร็จเมื่อ พ.ศ. 2314 รัฐบาลจีนเริ่มยอมรับสถานะพระมหากษัตริย์ของพระองค์อย่างเป็นทางการ<ref name="นิธิ173">นิธิ เอียวศรีวงษ์. หน้า 173.</ref> โดยทางราชสำนักชิงเห็นว่ากรุงธนบุรีภายใต้การปกครองของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นปึกแผ่นแล้ว และพระบรมวงศานุวงศ์ครั้งกรุงเก่าหมดหนทางกลับมาสืบราชสันตติวงศ์แล้ว อีกทั้งมีนโยบายจับกุมเชลยศึกที่หลบหนีเข้ามาไทยส่งกลับไปให้รัฐบาลจีนเป็นระยะๆ จักรพรรดิเฉียนหลงจึงทรงเปลี่ยนท่าทีต่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีตั้งแต่ พ.ศ. 2315 เป็นต้นมา เอกสารราชการของราชสำนักชิงเปลี่ยนการเรียกขานพระนามจาก '''กันเอินซื่อ''' หรือ '''พระยาสิน''' เป็น '''เจิ้งเจา''' (กษัตริย์เจิ้ง)<ref name="จิ้มก้องขอหองโอรสสวรรค์"/>
 
=== สงครามกับเขมร ===
บรรทัด 162:
พระองค์ทรงวางแผนเพิ่มพื้นที่ปลูกข้าวในกรุงธนบุรีเมื่อ พ.ศ. 2314 โดยทรงให้ปรับพื้นที่สวนป่านอกกำแพงพระนครให้เสมอกันไว้ทำนา ครั้นบ้านเมืองสงบก็ทรงให้แม่ทัพคุมกองทัพมาทำนา ซึ่งทำให้กรุงธนบุรีกลายสภาพเป็นแหล่งทำนาแห่งใหม่ และได้ชื่อว่าเป็นแหล่งปลูกข้าวที่ดีที่สุดของประเทศไทย<ref name="ชัย7"/> พระองค์ยังทรงทำนุบำรุงการค้าขายทางเรืออย่างเต็มที่ ทรงแต่ง[[สำเภา]]หลวงออกไปหลายสาย ทางตะวันออกถึงจีน ทางตะวันตกถึง[[อนุทวีปอินเดีย]] สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรียังทรงส่งเสริมการนำสินค้าพื้นเมืองไปขาย ทั้งทรงพยายามผูกไมตรีกับจีนเพื่อประโยชน์ทั้งในด้านความมั่นคงของชาติและประโยชน์ในด้านการค้า<ref>{{cite book|title=A History of Thailand|author=Chris Baker (writer), Pasuk Phongpaichit|publisher=Cambridge University Press|pages=32|isbn=0521816157}}</ref><ref>{{cite book|title=Time Out Bangkok: And Beach Escapes|author=Editors of Time Out|publisher=Time Out|pages=84|isbn=1846700213}}</ref><ref>{{cite book|title=The King Never Smiles|author=Paul M. Handley|publisher=Yale University Press|pages=27|isbn=0300106823}}</ref>
 
ด้วยความสัมพันธ์อันดีกับจีน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงกระตุ้นให้ชาวจีนเข้ามาตั้งรกร้างในธนบุรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งจาก[[แต้จิ๋ว (เมือง)|เมืองแต้จิ๋ว]]<ref>{{cite book|title=Blood Brothers: The Criminal Underworld of Asia|author=Bertil Lintner|publisher=Macmillan Publishers|page=|isbn=1403961549}}, p. 234</ref> ซึ่งบางส่วนมีจุดประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ซบเซา<ref>{{cite book|title=A History of Thailand|author=Chris Baker, Pasuk Phongpaichit|publisher=Cambridge University Press|isbn=0521816157}}, p. 32</ref> ทรงพยายามเจริญสัมพันธไมตรีกับจีน พ.ศ. 2313 ขณะที่จีนกำลังทำสงครามกับพม่าที่ยูนนาน ชาวพม่าหนีเข้ามาพึ่งสยามทางภาคเหนือของไทย ถึงแม้ว่าในเวลานั้นราชสำนักชิงยังไม่ได้รับรองรัฐบาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี แต่ก็ได้ติดต่อสยามให้จับกุมข้าศึกเหล่านั้นส่งไปให้จีนด้วย พอดีกับที่ทรงกรีฑาทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ จึงได้จับเชลยชายหญิงส่งไปถวายจักรพรรดิเฉียนหลง 12 คน เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2314 จักรพรรดิเฉียนมีรับสั่งให้เปลี่ยนนโยบายต่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ต่อมาสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงส่งคนจีน หยุนหนานที่หลบหนีไปต่างประเทศทางทะเลและเชลยศึกพม่าไปให้จีนเป็นระยะระยะๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2315 เป็นต้นมา ราชสำนักชิงได้รับรองสถานภาพพระมหากษัตริย์อย่างเป็นทางการเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2315<ref name="จิ้มก้องขอหองโอรสสวรรค์"/>
 
รัฐบาลจีนโดยราชสำนักชิงแสดงมิตรไมตรีต่อรัฐบาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีด้วยการอนุญาตเป็นกรณีพิเศษให้ขายยุทธปัจจัยได้ ซึ่งกฎหมายของราชสำนักชิงห้ามไม่ให้ค้าขายสินค้าเหล่านี้ การซื้อขายดังกล่าวเกิดขึ้น 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ทรงส่งเฉินว่านเซิ่ง พ่อค้าชาวจีนไปซื้อกำมะถันจำนวน 50 หาบและกระทะเหล็กจำนวน 500 ใบ เมื่อ พ.ศ. 2318 และครั้งที่ 2 ทรงส่งโม่กว่างอี้ พ่อค้าชาวจีนอีกคนหนึ่งไปซื้อกำมะถันอีก 100 หาบ เมื่อ พ.ศ. 2320 จักรพรรดิเฉียนหลงมีพระราชกระแสรับสั่งต่อข้าหลวงใหญ่มณฑลกวางตุ้งและกวางสีว่า หากรัฐบาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจะซื้อดินประสิวหรือสินค้าจำเป็นอื่นๆ เพิ่มเติมก็ให้จัดหาให้ตามพระราชประสงค์<ref name="จิ้มก้องขอหองโอรสสวรรค์"/>
 
ต่อมาปี พ.ศ. 2324 ทรงแต่งคณะทูตนำเครื่องราชบรรณาการไปถวายแด่จักรพรรดิเฉียนหลงเพื่อสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับจีนอย่างเป็นทางการ คณะทูตที่เดินทางไปเมืองปักกิ่งประกอบด้วย พระยาสุนทรอภัย ราชทูต หลวงพิไชยเสน่หา อุปทูต หลวงพจนาพิมล ตรีทูต ขุนพจนาพิจิตร ท่องสื่อ และหมื่นพิพิธวาจา ปันสื่อ พระนามพระเจ้าตากสินในพระราชสาส์นใช้ว่า '''"สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุธยา"''' และเรียกจักรพรรดิเฉียนหลงว่า '''"สมเด็จพระเจ้ากรุงต้าฉิ้ง"''' จักรพรรรดิเฉียนหลงทรงต้อนรับคณะทูตไทยเป็นอย่างดี พระราชทานเลี้ยงโต๊ะที่พระตำหนักซัมเกาสุ่นฉาง
 
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเห็นว่าการมีเส้นทางคมนาคมที่ดีเป็นประโยชน์ในทางค้าขายมากกว่า ดังนั้น ในฤดูหนาวหากว่างจากศึกสงคราม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนและขุดคลอง จะเห็นได้จากแนวถนนเก่าๆ ใน[[เขตธนบุรี]]ซึ่งมีอยู่หลายสาย ส่วนการขุดชำระคลองมักมีวัตถุประสงค์เบื้องต้นเพื่อประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ เช่น คลองท่าขาม จาก[[นครศรีธรรมราช]]ไปออกทะเล เป็นต้น<ref name="wangdermpalace"/>