ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ถั่วงอก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Dolkungbighead (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Dolkungbighead (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
 
'''ถั่วงอก''' คือ ต้นถั่วที่มีรากงอกจากเมล็ด เช่น [[ถั่วเขียว]] [[ถั่วดำ]] [[ถั่วเหลือง]] (ถั่วงอกหัวโต) [[ถั่วลันเตา]] (โต้วเหมี่ยว) เป็นต้น ถั่วงอกเป็นผักชนิดหนึ่งและมีคุณค่าทางอาหารสูง ได้แก่ [[โปรตีน]] [[วิตามินบี]] [[วิตามินซี]] [[ใยอาหาร]] [[เหล็ก]] (1.6 กรัมต่อ 1 [[ถ้วยตวง (หน่วย)|ถ้วยตวง]]) และ[[เกลือแร่]]<ref name="montfort">[http://mcpswis.mcp.ac.th/html_edu/cgi-bin/mcp/main_php/print_informed.php?id_count_inform=11947 ถั่วงอก สรรพคุณและประโยชน์ของถั่วงอก 27 ประการ! โดยอาจารย์สรายุทธ ดวงอาภัยจากเว็บไซต์ Montfort College Primary Section] สืบค้นวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2557</ref> นอกจากนี้ ถั่วงอกยังมี[[แคลอรี]]ต่ำอีกด้วย<ref name="sri">[http://home.kku.ac.th/healthy/index.php?option=com_content&view=article&id=119:-2&catid=43:health-update&Itemid=62 ข้อมูลถั่วงอกจากโรงพยาบาลศรีนครินทร์] สืบค้นวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2557</ref>
 
== ประวัติ ==
ถั่วงอกมีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน คิดค้นเพาะขึ้นโดยคนจีน เมื่อคนจีนอพยพย้ายถิ่นฐานมาเข้ามาทำมาหากินในประเทศไทยก็นำเอาวัฒนธรรมการกินถั่วงอกเข้ามาด้วย โดยเชื่อกันว่าคนจีนเริ่มเพาะถั่วงอกในเมืองไทยเมื่อประมาณ 80 กว่าปี นี้นี่เอง โดยแรกๆก็เพาะกินกันเองแต่ต่อมาก็ตั้งเป็นโรงงานเพาะขายในหมู่คนจีนด้วยกันเอง ในกรุงเทพ เริ่มแรกมีโรงงานเพาะถั่วงอก 2 โรงงานตั้งอยู่แถวอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ต่อมาปี พ.ศ. 2485 เกิดน้ำท่วมใหญ่ในกรุงเทพ ทำให้ไม่สามารถปลูกพืชผักได้ ทำให้เกิดการขาดแคลนผัก ซึ่งถือว่าเป็นอาหารหลักของคนไทย ทางราชการจึงหันมาส่งเสริมให้หันมาบริโภคถั่วงอกกันมากขึ้น เพราะเห็นว่าเพาะง่าย ราคาถูก ใช้เวลาสั้น ประกอบกับคนไทยเริ่มนิยมบริโภคก๋วยเตี๋ยวกันมากขึ้น ทำให้การบริโภคถั่วงอกเป็นที่นิยมแพร่หลายจนมาถึงปัจจุบัน และมีพ่อค้าตั้งโรงงานเพาะถั่วงอกออกจำหน่ายหลายราย ซึ่งส่วนใหญ่ก็ยังเป็นคนจีน แต่วิธีการเพาะถั่วงอกนั้นง่ายไม่ยุ่งยากและลงทุนต่ำ จึงได้แพร่หลายออกไปจนชาวบ้านทั่วไปก็สามารถเพาะถั่วงอกกินเองได้
== หลักการพื้นฐานในการเพาะถั่วงอก ==
อย่างที่กล่าวมาแล้วว่า ถั่วงอก คือ หน่ออ่อนที่งอกออกมาจากเมล็ดถั่ว อาศัยธาตุอาหารที่สะสมอยู่ในเมล็ดถั่ว โดยเรานำถั่วไปเพาะในภชนะที่มีความชื้นและความร้อน หรืออุณหภูมิที่พอเหมาะโดยไม่ให้โดนแสงสว่าง เพื่อไม่ให้รากและใบเลี้ยงงอกออกมา ภายในระยะเวลา 2-3 วัน ก็จะได้ถั่วงอกนำไปรับประทานหรือจำหน่าย
 
ดังนั้น องค์ประกอบที่สำคัญในการเพาะถั่วงอก จึงมีอยู่ 3 อย่าง คือ
 
1. เมล็ดถั่ว ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะถั่วงอกที่เพาะมาจากถั่วเขียวเท่านั้น หากใครสนใจการเพาะถั่วงอกจากถั่วชนิดอื่นๆ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วลันเตา หรือแม้แต่เมล็ดธัญพึชอื่นๆ เช่น ข้าวสาลี ข้าวโพด งา สามารถศึกษาหรืออ่านได้จากวารสารเกษตรกรรมธรรมชาติ ฉบับมหัศจรรย์เมล็ดงอก : พลังอาหาร พลังชีวิต ( ฉบับที่ 322542 )
 
เมล็ดถั่วเขียวที่สามารถนำมาเพาะเป็นถั่วงอกนั้นมี 2 พันธุ์ คือ ถั่วเขียวผิวมัน กับถั่วเขียวผิวดำ ถั่วเขียวผิวมัน มีแหล่งปลูกอยู่แถวเพชรบูรณ์ เมล็ดมีสีเขียวและมีผิวมันเมื่นำมาเพาะแล้วจะได้ถั่วงอก ต้นโตออกสีเหลืองๆและมีอัตราการเจริญเติบโตดีกว่าถั่วเขียวผิวดำ ถัวเขียวผิวดำมีแหล่งปลูกอยู่ที่สุโขทัย เมล็ดมีสีดำเมื่อนำมาเพาะจะได้ถั่วงอกที่ต้นเล็กกว่า และมีสีขาว แต่มีอัตราการเจริญเติบโตสู้ถั่วเขียวผิวมันไม่ได้ แต่ข้อดีก็ คือ ถั่วงอกที่เพาะจากถั่วเขียวผิวดำ จะมีความคงทน คือ จะยังคงขาวอยู่สีไม่ออกคล้ำ หรือเขียวมากเหมือนกับถั่วงอกที่เพาะจากถั่วเขียวผิวมันเมื่อโดนลมหรือโดนแสงแดด
 
2. ภานชนะเพาะ โดยหลักการแล้วภานชนะเพาะทำหน้าที่ที่สำคัญอยู่ 2 ประการ คือ ป้องกันถั่วไม่ให้โดนแสงสว่างกับสร้างสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการงอกของถั่วงอก เพื่อให้ถั่วงอกมีลักษณะอวบอ้วน ไม่สั้นเกินไปหรือยาวเกินไป
 
ภานชนะที่ใช้สำหรับการเพาะถั่วงอกนั้นจึงหลากหลายมากมายหลายชนิด อาจจะเป็นภานชนะที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ เช่น หม้อดินเผา กระถางดินเผา ไห ตุ่ม ถังซีเมนต์ เข่ง หรือตระกร้าสานจากไม้ไผ่ก็ได้ หรือจะเป็นภานชนะจำพวก ถังพลาสติก ถังเหล็กก็ยังได้ ซึ่งความแตกต่างของการใช้ภานชนะทั้ง 2 ประเภท นี้ก็คือ หากใช้ภานชนะจำพวกหม้อดินเผา กระถางดินเผา ตุ่ม ถังซีเมนต์ จะรักษาความชื้นไว้ได้นานทำให้ไม่ต้องรดน้ำบ่อย คือ อาจจะรดน้ำทุก ๆ 3-4 ชั่วโมง แต่ถ้าใช้พวกถังพลาสติก ข้อดีก็คือ น้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายได้สะดวก แต่ข้อเสียก็คือ ต้องรดน้ำบ่อยขึ้นคือทุก ๆ 1-2 ชั่วโมง ส่วนราคาและความคงทนต่อการใช้งานของวัสดุแต่ละชนิดก็คงแตกต่างกันไปตามวัสดุที่นำมาใช้ผลิตภานชนะชนิดนั้น ๆ ซึ่งจะมีผลต่อการลงทุนครั้งแรกและความคงทนต่อการใช้งานได้ยาวนาน
 
ภานชนะเพาะควรมีสีดำหรือสีทึบเพื่อป้องกันแสงสว่าง ส่วนขนาดของภานชนะหรือความกว้าง ยาว สูง ของภานชนะก็ขึ้นอยู่กับปริมาณของถั่วงอกที่ต้องการเพาะ แต่โดยหลักการถั่วเขียว 1 ส่วน จะโตเป็นถั่วงอก 5-6 ส่วน โดยน้ำหนัก
 
ภานชนะที่นำมาเพาะไม่ว่าจะเป็นถังพลาสติก หรือไห หม้อดิน กระถาง หรืออื่น ๆ ก็ต้องมีรูสำหรับระบายน้ำทั้งด้านล่างและด้านข้าง ขนาดของรูระบายน้ำก็ไม่ควรใหญ่กว่าเมล็ดถั่วเขียว มิฉะนั้นเมล็ดถั่วเขียวจะเล็ดลอดออกจากรูไปได้
 
3. น้ำ ปัจจัยที่สำคัญที่สุดอีกอย่างหนึ่งสำหรับการเพาะถั่วงอก ในการเพาะถั่วงอก เมล็ดถั่วต้องได้น้ำอย่างพอเพียงและสม่ำเสมอตลอดการเพาะ 2-3 วัน หากขาดน้ำช่วงใดช่วงหนึ่ง จะทำให้ถั่วงอกชะงักการเจริญเติบโต ถั่วงอกที่ได้ก็จะไม่สมบูรณ์
 
== 6 วิธีเพาะถั่วงอก ==
'''การเพาะถั่วงอกในถังพลาสติก'''
 
การเพาะถั่วงอกในถังพลาสติกนี้ จะเพาะในถังขนาดเล็ก คือขนาดปากกว้าง 10 นิ้ว สูง 10-12 ไปจนถึงขนาดใหญ่ 24 นิ้ว หรือ 60 เซนติเมตร ซึ่งเขาใช้เพาะในโรงงานเพาะถั่วงอกก็ได้ แต่ไม่ควรใช้ถังที่ขนาดสูงเกิน 60 เซนติเมตร เพราะอาจจะทำให้ถั่วงอกเน่าเพราะระบายความร้อนได้ไม่ดี
 
อุปกรณ์
 
1. ถังพลาสติกสีดำแบบมีฝาปิด ขนาด 10 นิ้วหรือ 12 นิ้ว ใช้สว่านเจาะรูขนาด 1 กระเบียดหรือประมาณ 3 มิลลิเมตร ที่ก้นถังหลายๆ รูเพื่อเป็นการระบายน้ำออก เจาะรูขนาดเดียวกันด้านข้างถังสัก 3 แถวห่างกันแถวละ 2 นิ้วรอบถัง
 
2. ถั่วเขียวครึ่งกิโลกรัม
 
วิธีการ
 
1. ล้างถั่วเขียวด้วยน้ำสะอาดแล้วแช่ในน้ำอุ่น ทิ้งไว้ให้เย็นแล้วแช่ในน้ำนั้นต่อไปอีก 1 คืน หรืออย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง
 
2. นำถั่วเขียวที่แช่น้ำ แล้วโรยลงบนก้นถังเกลี่ยถั่วเขียวออกให้ทั่วก้นถัง
 
3.ใช้ฝักบัวรดน้ำต้นไม้หรือสายยางฉีดน้ำรดน้ำลงไปบนถั่วให้ชุ่มน้ำ น้ำจะไหลออกทางรูที่เจาะไว้ด้านล่างของถัง
 
4. ปิดฝาแล้ววางทิ้งไว้ในที่ร่ม
 
5. ทุกๆ 2-3 ชั่วโมงเปิดฝา ถังแล้วใช้ฝักบัวรดน้ำหรือสายยางฉีดน้ำให้ท่วมถั่วเขียว รดจนน้ำไหลออกหมดแล้วรดน้ำอีกครั้งแล้วปิดฝาทิ้งไว้ตามเดิม
 
6. ให้น้ำตามข้อที่ 5 นาน 3 วันถั่วงอกจะโตอวบอ้วน ขาวน่ารับประทานหรือนำไปขายได้ถั่วเขียวครึ่งกิโลกรัมจะได้ถั่วงอกประมาณ 2 1/2 ถึง 3 กิโลกรัม
 
หลังการเพาะถั่วงอกทุกครั้ง ล้างถังให้สะอาดและตากแดดให้แห้ง
 
'''การเพาะถั่วงอกในไหหรือหม้อดิน'''
 
การเพาะถั่วงอกในไหหรือหม้อดิน เป็นวิธีการที่ชาวบ้านใช้เพาะถั่วงอกมานานแล้ว การเพาะถั่วงอกด้วยวิธีนี้ก็จะได้ถั่วงอกที่อวบอ้วนน่ารับประทานเช่นกันและถ้าทำในปริมาณมากๆ หลายๆไหหรือหลายๆหม้อ
 
อุปกรณ์
 
1. หม้อดินเผา
 
2. ฟางข้าว
 
3. ไม้ไผ่เหลาบางๆยาวกว่าปากหม้อดินเล็กน้อย 3-4 อัน
 
4. ถั่วเขียว 3-4 กำมือ
 
วิธีการ
 
1. ล้างถั่วเขียวด้วยน้ำสะอาด แล้วแช่ในน้ำอุ่นทิ้งไว้ให้เย็น แล้วแช่ในน้ำนั้นต่อไปอีก 1 คืนหรืออย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง
 
2. นำถั่วเขียวที่แช่น้ำแล้วเทใส่ลงในหม้อดิน
 
3. นำฟางข้าวมาใส่หม้อดินปิดทับถั่วเขียวให้แน่นพอที่จะไม่ทำให้ถั่วเขียวไหลรอดระหว่างรูของฟางข้าวออกมาระหว่างให้น้ำ
 
4. ใช้ไม้ไผ่ขัดเป็นดาวแฉกทับฟางไว้บริเวณปากหม้อดินหรือไห
 
5. เทน้ำใส่หม้อดินให้ท่วมฟางข้าว แล้วเทน้ำทิ้งคว่ำปากลงกับพื้น ทิ้งไว้ในที่ร่มเช่นเดียวกับวิธีการเพาะในกระถางต้นไม้
 
6. ให้น้ำถั่วโดยวิธีการเดียวกับข้อ 5 ทุกๆ 3-4 ชั่วโมง
 
7. หลังจากนั้น 3 วันถั่วจะงอกโตอวบอ้วนนำไปรับประทานหรือจำหน่ายได้
 
8. หลังจากเพาะถั่วงอกเสร็จทุกครั้งควรล้างหม้อดินหรือไหให้สะอาด แล้วตากแดดให้แห้งก่อนนำเพาะถั่วงอกในครั้งต่อไป เพื่อป้องกันเชื้อโรคที่จะทำให้ถั่วงอกเน่าหรือขึ้นราได้
 
'''เพาะถั่วงอกในจานขอบสูง'''
 
สมัยเราเป็นเด็กนักเรียนเราคงเคยเพาะถั่วงอกบนผ้าบางหรือสำลีโดยใช้จาน หรือภาชนะที่มีขอบสูงเป็นภาชนะในการเพาะวิธีนี้เป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดในการเพาะถั่วงอก หมั่นฉีดน้ำทุกๆ 3-4 ชั่วโมง 3 วัน ก็จะได้ถั่วงอกไว้รับประทาน แต่วิธีนี้จะได้ถั่วงอกที่ค่อนข้างสูงยาว ไม่อ้วน
 
อุปกรณ์
 
1. จานหรือถาดที่มีขอบสูง
 
2. สำลีหรือผ้าขาวบาง
 
3. กระดาษหนังสือพิมพ์
 
4. ถั่วเขียว 1 กำมือ
 
วิธีการ
 
1. ล้างถั่วเขียวให้สะอาดแช่น้ำอุ่นทิ้งไว้ให้เย็น และแช่ในน้ำนั้นต่อไปอีก 1 คืน หรืออย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง
 
2. ใช้สำลีหรือผ้าขาวบางวางไว้ที่ก้นจานให้หนาพอประมาณ
 
3. ใช้กระบอกฉีดน้ำ หรือเทน้ำลงบนสำลี หรือผ้าขาวบางให้ชุ่มน้ำให้ทั่ว
 
4. นำถั่วเขียวที่แช่น้ำไว้มาโรยบนสำลี หรือผ้าขาวบางที่ชุ่มน้ำแล้วให้กระจายไปทั่วๆ
 
5. ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ปิดปากจานหรือถาด เพื่อไม่ให้ถั่วโดนแสงแดด
 
6. ใช้กระบอกฉีดน้ำฉีดน้ำให้ถั่ว ชุ่มน้ำทุกๆ 3-4 ชั่วโมง ในกรณีที่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน หรือตอนกลางคืนไม่สามารถตื่นขึ้นมาให้น้ำถั่วงอกได้ก็ให้นำจานหรือถาดที่เพาะถั่วงอกไปใส่ไว้ในตู้เย็นแล้วให้น้ำเช้า เย็นและก่อนนอน แต่ถั่วที่ได้จะไม่ค่อยงามเหมือนการให้น้ำทุกๆ 3-4 ชั่วโมง
 
7. ประมาณ 3 วัน ถั่วงอก จะโตพอที่นำไปรับประทานได้
ล้างจานหรือถาดเพาะถั่วงอกให้สะอาดและตากแดดให้แห้งเพื่อเตรียมไว้ สำหรับการเพาะในครั้งต่อไป
 
'''เพาะถั่วงอกในถุงไนลอนดำ'''
 
การเพาะถั่วงอกในถุงไนลอนดำเป็นวิธีการที่เหมาะสำหรับเพาะถั่วงอกกินเองในบ้าน วิธีการก็ไม่ยุ่งยากแม้แต่เด็กๆ เล็กๆ ก็สามารถทำได้
 
อุปกรณ์
 
1. ผ้าไนลอนสีดำ กว้าง 8 นิ้ว ยาว 12 นิ้ว
 
2. เชือก
 
3. ถั่วเขียว 1 กำมือ
 
วิธีการ
 
1. เย็บผ้าไนลอนให้เป็นถุง แล้วใช้เชือกร้อยปากถุงเพื่อใช้รูดปากถุง
 
2. ล้างถั่วเขียวให้สะอาด แล้วแช่ในน้ำอุ่นทิ้งไว้ให้เย็น แล้วแช่ในน้ำนั้นต่อไปอีก 1 คืนหรืออย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง
 
3. เทถั่วเขียวที่แช่น้ำแล้วลงในถุง
 
4. จุ่มถุงที่มีถั่วลงในน้ำให้ท่วมถั่ว หรือรองไว้ใต้ก๊อกน้ำให้น้ำไหลผ่านถุงถั่ว ให้ถุงถั่วชุ่มน้ำ
 
5. แขวนถุงถั่วไว้อย่าให้โดนแสงแดด
 
6. จุ่มถุงถั่วในน้ำ หรือรองไว้ใต้ก๊อกน้ำให้น้ำไหลผ่านจนถั่วชุ่มน้ำ ทุกๆ 3-4 ชั่วโมงในกรณีที่ต้องการออกไปทำงานนอกบ้านหรือตอนกลางคืน ไม่สามารถตื่นขึ้นมาให้น้ำถั่วได้ ก็ให้นำถุงไปแช่ไว้ในตู้เย็น แล้วให้น้ำเช้า กลางวัน เที่ยง และก่อนนอน แต่ถั่วที่ได้จะไม่ค่อยงามเหมือนการให้น้ำทุกๆ 3-4 ชั่วโมง
 
7. ประมาณ 3 วัน ถั่วงอก จะโตพอที่นำไปรับประทานได้ และควรล้างถุงไนลอนแล้วตากแดดให้แห้ง ก่อนนำไปเพาะถั่วในครั้งต่อไป เพื่อป้องกันไม่ให้ถุงไนลอนขึ้นรา
 
'''การเพาะถั่วงอกในขวดกาแฟ'''
 
การเพาะถั่วงอกในขวดกาแฟ เป็นวิธีการที่เหมาะสำหรับการเพาะถั่วงอกกินเองในครอบครัว 1 ขวดกาแฟ ก็จะได้ถั่วงอกประมาณ 1 มื้อ อุปกรณ์ในการเพาะก็คือ ขวดกาแฟก็สามารถหาได้จากขวดกาแฟเก่าๆ ภายในบ้าน วิธีการก็ง่าย เด็กๆ ก็สามารถทำได้ วิธีนี้ถั่วงอกที่ได้จะอวบอ้วนกว่า 2 วิธีที่ผ่านมา
 
อุปกรณ์
 
1.ขวดกาแฟขนาดใหญ่
 
2.ผ้าไนล่อนหรือผ้าขาวบางขนาดกว้าง 6 นิ้ว ยาว 6 นิ้ว
 
3.ถั่วเขียว 1 กำมือ
 
วิธีการ
 
1.ล้างถั่วเขียวด้วยน้ำสะอาด แช่ในน้ำอุ่นทิ้งไว้ให้เย็น แล้วแช่ในน้ำนั้นต่อไปอีก 1 คื่น หรืออย่างน้อยนาน อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง
 
2.หลังจากแช่ถั่วเขียวแล้ว เทถั่วเขียวใส่ขวดกาแฟ ใช้ผ้าไนล่อน หรือผ้าขาวบางปิดปากขวดใช้หนังยางลัดให้แน่น
 
3.เปิดน้ำใส่ผ่านทางผ้าไนล่อนให้ท่วมเมล็ดถั่วเทน้ำทิ้ง ทำเช่นนี้ 2-3 ครั้ง จนถั่วชุ่มน้ำ
 
4.วางขวดในแนวนอนในถุงกระดาษหรือในที่มืดที่ไม่โดนแสงสว่าง
 
5.หลังจากนั้น 3-4 ชั่วโมง ให้นำขวดที่เพาะถั่วนี้มาให้น้ำ โดยเทน้ำใส่ทางปากขวด แล้วเทน้ำทิ้ง 2-3 ครั้งจนถั่วชุ่มน้ำ
 
6.ทำตามข้อ 5 เป็นเวลา 3 วัน ในระหว่างให้น้ำแต่ละวันจะเห็น ถั่วงอกค่อยๆโตขึ้นจนวันที่ 3 ถั่วงอก ก็จะโตขึ้นแน่นเต็มขวดกาแฟก็สามารถนำไปรับประทานได้ แล้วนำขวดกาแฟเปล่าและผ้าไนล่อนไปล้างน้ำให้สะอาด พึ่งแดดให้แห้งรอสำหรับการเพาะถั่วครั้งต่อไป
 
7.ในกรณีที่ต้องออกไปทำงานนอกบ้านหรือตอนกลางคืนไม่สามารถตื่นขึ้นมาให้น้ำถั่วได้ ก็ให้นำขวดเพาะถั่วใส่ไว้ในตู้เย็น แล้วให้น้ำเช้าเย็น และก่อนนอน แต่วิธีนี้ถั่วที่ได้จะไม่สมบูรณ์เท่ากับการให้น้ำทุกๆ 3-4 ชั่วโมง
 
'''การเพาะถั่วงอกในกระถางปลูกต้นไม้'''
 
การเพราะถั่วงอกในกระถางเป็นวิธีการที่เหมาะสำหรับการเพาะถั่วงอกไว้กินในบ้านเรือน ถั่วที่เพาะในกระถาง 1 กระถาง สามารถนำไปรับประทานได้ 3 มื้อ การเพาะถั่วงอกด้วยวิธีนี้จะได้ถั่วงอกสมบูรณ์กว่า 3 วิธีแรกที่กล่าวมา อุปกรณ์ในการเพาะก็หาได้ง่ายในบ้านในสวนก็คงจะมีกันทุกบ้าน วิธีการก็ง่ายไม่ยุ่งยาก ถั่วงอกที่ได้จะค่อนข้างขาวอวบอ้วน น่ารับประทาน
 
อุปกรณ์
 
1.กระถางปลูกต้นไม้ชนิดกระถางดินเผาขนาด 10 นิ้วหรือถ้าใครจะใช้ขนาดที่เล็กหรือใหญ่กว่านี้ก็ได้ เพียงแต่ว่าถ้าขนาดเล็กกว่าก็จะต้องใช้ถั่วเขียวในการเพาะน้อยกว่าและจะได้ถั่วงอกประมาณน้อยกว่าเท่านั้นเอง ในขณะที่ถ้าใช้กระถางใหญ่กว่าขนาด 10 นิ้วสามารถใช้ถั่วเขียวในการเพาะมากขึ้นได้และจะได้ถั่วงอกมากขึ้นเช่นกัน
 
2.ในตองสด
 
3.เศษไม้ไผ่เหลาบางๆ ให้สั้นกว่าปากกระถางเล็กน้อย 3-4 อัน
 
4.ถั่วเขียว 3-4 กำมือ
 
วิธีการ
 
1.ล้างถั่วเขียวด้วยน้ำสะอาด แช่ในน้ำอุ่นทิ้งไว้ให้เย็น แล้วแช่ในน้ำนั้น ต่อไปอีก 1 คืน หรืออย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง
 
2.ฉีกใบตองสด ขนาดกว้าง 4-5 นิ้ว หลายๆใบ แล้ววางซ้อนสลับกันไปที่ก้นกระถาง
 
3.เทถั่วที่แช่น้ำแล้วลงไปบนใบตองในกระถางใช้มือเกลี่ยๆ ให้ทั่วใบตอง หลังจากนั้นใช้ใบตองปิดทับถั่วให้มิดอีก 3-4 ชั้น
 
4.ใช้ไม้ไผ่ขัดกับกระถางปิดทับใบตองสลับไปมาเป็นรูปดาวแฉก
 
5.ยกกระถางเพาะถั่วนี้ จุ้มลงไปในอ่างที่มีน้ำเต็มน้ำจะค่อยๆไหลเข้าทางรูก้นกระถางสักครู่หนึ่งจะเห็นน้ำขึ้นมาท่วมใบตองแล้วยกขึ้นคว่ำกระถางไว้ในที่ร่ม ให้น้ำถั่วเช่นนี้ทุกๆ 3-4 ชั่วโมง
 
6.เพียง 3 วันเอาไม้ไผ่ออก เอาใบตองออกจะพบถั่วงอกโต อวบอ้วนน่ารับประทาน นำกระถางไปล้างให้สะอาดแล้วพึ่งแดดให้แห้ง เพื่อไว้เพาะถั่วครั้งต่อไป
 
== การใช้ประโยชน์ ==