ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ความถี่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
เพิ่มเนื้อหาสาระดีๆ
Dolkungbighead (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 7572041 สร้างโดย 116.58.224.248 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 1:
'''ความถี่''' ({{lang-en|frequency}}) คือจำนวนการเกิดเหตุการณ์ซ้ำในหนึ่ง[[หน่วยของเวลา]]<ref>{{cite web|url=http://www.merriam-webster.com/dictionary/frequency|title=Definition of FREQUENCY|publisher=|accessdate=3 October 2016}}</ref> ความถี่อาจเรียกว่า '''''ความถี่''เชิงเวลา''' (temporal frequency) หมายถึงแสดงให้เห็นว่าต่างจาก[[ความถี่เชิงพื้นที่]] (spatial) และ[[ความถี่เชิงมุม]] (angular) คาบคือระยะเวลาของหนึ่งวงจรในเหตุการณ์ที่เกิดซ้ำ ดังนั้นคาบจึงเป็น[[ตัวผกผันการคูณ|ส่วนกลับ]]ของความถี่<ref>{{cite web|url=http://www.merriam-webster.com/dictionary/period|title=Definition of PERIOD|publisher=|accessdate=3 October 2016}}</ref> ตัวอย่างเช่น ถ้าหัวใจของทารกเกิดใหม่เต้นที่ความถี่ 120 ครั้งต่อนาที คาบ (ช่วงเวลาระหว่างจังหวะหัวใจ) คือครึ่งวินาที (นั่นคือ 60 วินาทีหารจาก 120 [[เสียงหัวใจ|จังหวะ]]) ความถี่เป็นตัวแปรสำคัญในวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม สำหรับระบุอัตราของปรากฏการณ์[[การแกว่ง]]และ[[การสั่น]] เช่น การสั่นของเครื่องจักร [[โสตสัญญาณ]] ([[เสียง]]) [[คลื่นวิทยุ]] และ[[แสง]]
'
 
== นิยาม ==
 
ในกระบวนการของวงจร เช่น การหมุน การแกว่ง หรือคลื่น ความถี่นิยามโดยจำนวนวงจรต่อหน่วยเวลา ในหลักการของ[[ฟิสิกส์]]และ[[วิศวกรรมศาสตร์]] เช่น [[ทัศนศาสตร์]] [[สวนศาสตร์]] [[วิทยุ]] ความถี่มักแทนด้วยตัวอักษรละติน ''f'' หรือตัวอักษรกรีก "<math>\nu</math>" หรือ [[นิว|''ν'' (นิว)]]
 
ความสัมพันธ์ระหว่างความถี่กับคาบของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำหรือการแกว่ง กำหนดให้
 
:<math>f = \frac{1}{T}.</math>
 
== หน่วย ==
 
[[หน่วยอนุพันธ์เอสไอ]] ของความถี่คือ[[เฮิรตซ์]] (hertz) ตั้งจากนักฟิสิกส์ชาวเยอรมันชื่อ [[ไฮน์ริช เฮิรตซ์]] ความถี่หนึ่งเฮิรตซ์หมายถึงเหตุการณ์เกิดหนึ่งครั้งต่อ[[วินาที]] ชื่อหน่วยเดิมคือ วงจรต่อวินาที (cycles per second, cps) [[ระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ|หน่วยเอสไอ]]ของคาบคือวินาที
 
หน่วยวัดดั้งเดิมที่ใช้กับอุปกรณ์เครื่องกลคือ [[รอบต่อนาที]] (revolutions per minute) ย่อว่า r/min หรือ rpm หน่วย 60 rpm เท่ากับหนึ่งเฮิรตซ์<ref>{{Cite book
| last = Davies
| first = A.
| authorlink =
| publisher = Springer
| year = 1997
| location = New York
| doi =
| id =
| isbn = 978-0-412-61320-3
| url = https://books.google.com/?id=j2mN2aIs2YIC&pg=RA1-PA275
| title = Handbook of Condition Monitoring: Techniques and Methodology}}</ref>
 
== ความถี่ของคลื่น ==
 
สำหรับคลื่น[[เสียง]] [[คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า]] (เช่น[[คลื่นวิทยุ]]หรือ[[แสง]]) สัญญาณไฟฟ้า หรือคลื่นอื่นๆ ความถี่ในหน่วยเฮิรตซ์ของคลื่นนั้นคือจำนวนรอบที่คลื่นนั้นซำรอยเดิมในหนึ่งวินาที สำหรับคลื่น[[เสียง]] ความถี่คือปริมาณที่บ่งบอก[[ความทุ้มแหลม]]
 
ความถี่ของคลื่นมีความสัมพันธ์กับ[[ความยาวคลื่น]] กล่าวคือความถี่ ''f'' มีค่าเท่ากับ[[ความเร็ว]] ''v'' ของคลื่น[[หาร]]ด้วยความยาวคลื่น λ (lambda) :
 
: <math>f = \frac{v}{\lambda}</math>
 
ในกรณีของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เดินทางใน[[สุญญากาศ]] ความเร็วด้านบนก็คือ[[ความเร็วแสง]] และสมการด้านบนก็เขียนใหม่ได้เป็น:
 
: <math>f = \frac{c}{\lambda}</math>
 
''หมายเหตุ:'' เมื่อ[[คลื่น]]เดินทางจาก[[ตัวกลาง]]หนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่ง ความถี่ของคลื่นจะยังคงที่อยู่ ในขณะที่[[ความยาวคลื่น]]และความเร็วเปลี่ยนไปตามตัวกลาง
 
== ความถี่รอบตัวเรา ==
 
โดยทั่วไปเราสามารถแบ่งได้ดังนี้
 
{| class="wikitable"
|-
! 3000-300
! 300-30
! 30-3
! ความถี่
|-
| [[รังสีเอกซ์]]
| [[รังสีเอกซ์]]
| [[อุลตราไวโอเล็ต]] (UV)
| PHz
|-
| แสงที่มองเห็นได้
| [[อินฟราเรด]] (IR)
| [[อินฟราเรด]] (IR)
| THz
|-