ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จักรพรรดิฮั่นเกาจู่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 46:
ซึ่งประโยคนี้นับได้ว่า พระองค์เป็นยอดนักบริหารและรู้จักหลักการใช้คนอย่างแท้จริง
 
เมื่อหลิวปังสถาปนาราชวงศ์ซีฮั่น ([[ราชวงศ์ฮั่น|ฮั่นตะวันตก]]) แล้วก็ได้ใช้มาตรการต่าง ๆ ในการฟื้นฟู[[เศรษฐกิจ]]และทำการผลิต เนื่องจากสงครามได้ยืดเยื้อเป็นเวลาหลายปีจนทำให้จำนวนประชากรลดน้อยลง ตามที่ลู่เจี่ยทูลเสนอ หลิวปังดำเนินนโยบายนุ่มนวลกว่าสมัยราชวงศ์ฉิน ปลดระวางทหารให้กลับบ้านเพื่อทำไร่ไถนา ยกเว้นการเกณฑ์แรงงาน (หมายถึงการที่ชนชั้นปกครองในสมัยโบราณบีบบังคับกะเกณฑ์ ประชาชนมาทำงานให้โดยไม่มีค่าตอบแทน) เป็นเวลาหลายปีเพื่อจะสามารถทำการเพาะปลูกให้ได้ผล อนุญาตให้บรรดาผู้ลี้ภัยสงคราม กลับคืนสู่ถิ่นฐานของตน โดยคืนบ้านและที่ดินให้ตามเดิม ให้อิสรภาพแก่ผู้ที่ต้องขายตัวเป็นทาสเพื่อจะได้ไม่อดตายและลดภาษีที่ดินลง ภาษีรัชชูปการก็ลดลง เช่นกัน
 
ทางด้านปัญหาการปกครองอาณาจักรนั้น ในชั้นต้น หลิวปังใช้การปกครองที่ผสมผสานกันระหว่างการรวมศูนย์อำนาจไว้ที่อำนาจส่วนกลางซึ่งองค์จักรพรรดิฉินซีฮ่องเต้เคยใช้กับการกระจาย อำนาจโดยแต่งตั้งขุนพลที่มีความดีความชอบเป็นพิเศษในสงคราม และเชื้อพระวงศ์สำคัญๆให้เป็นเจ้าหรือหวางไปครองเมืองโดยมีอำนาจ ปกครองดินแดนเขตแคว้น ศักดินาหรือเรียกว่า "ฟงกั๋ว" เวลาต่อมา หลิวปังเริ่มกำจัดพวก "หวาง" ที่ไม่ใช่เชื้อพระวงศ์ไปหมดและแต่ง ตั้ง "หวาง" ขึ้นใหม่ 9 องค์ด้วยกัน ล้วนเป็นเชื้อพระวงศ์แซ่หลิวหรือเล่าทั้งสิ้น (ฮ่องเต้ราชวงศ์ฮั่นทั้งหมด จึงเป็นแซ่เล่าทั้งหมด จนกระทั่งถึง[[ยุคสามก๊ก|สมัยสามก๊ก]])
 
หลิวปังในวัยหนุ่มเป็นผู้ที่ไม่มีพิธีรีตองและดูหมิ่นสำนัก[[ลัทธิขงจื๊อ|ปรัชญาขงจื๊อ]] เมื่อตั้งตนเป็น[[ฮ่องเต้]]แล้ว พระองค์ทรงเห็นว่า ตนเองได้พิชิตอาณาจักรมาได้ด้วยการรบบนหลังม้า จึงเห็นว่า หนังสือของสำนักปรัชญาขงจื้อไร้ประโยชน์ ลู่เจี่ยเสนาบดีจึงทูล ว่า "{{คำพูด|อาณาจักรนั้น สามารถพิชิตได้ แต่จะปกครองบนหลังม้าไม่ได้" }} พระองค์สั่งให้ลู่เจี่ยแต่งหนังสือ เจี่ยแต่งหนังสือเพื่อสืบหาความผิดพลาดและความล้มเหลวของจักรพรรดิราชวงศ์ฉินที่ยังผลให้ราชวงศ์ฉินต้องถูกโค่นล้มในที่สุด เพื่อให้คนรุ่นหลังถือเป็น อุทาหรณ์และรับเป็นบทเรียน
 
หลิวปังตั้งตนเป็นฮ่องเต้ใน 202 ปีก่อนคริสตกาล และย้ายเมืองหลวงจากเสียนหยางไปยังเมือง[[ฉางอาน]] แต่ศักราชของราชวงศ์ฮั่น เริ่มนับตั้งแต่หลิวปังได้รับแต่งตั้งเป็น "ฮั่นหวาง" ใน 206 ปีก่อนคริสตกาล หลังจากจักรพรรดิหลิวปังสิ้นสวรรคตและจักรพรรดิราชวงศ์ฮั่นในภายหลังได้ถวายพระนามในฐานะปฐมจักรพรรดิของราชวงศ์ฮั่นว่า "ฮั่นเกาจู่"
บรรทัด 66:
{{จบกล่อง}}
{{จักรพรรดิราชวงศ์ฮั่น}}
{{ตายปี|358349}}
 
== อ้างอิง ==