ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้ามังระ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Banklive (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Banklive (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 54:
สงครามจีน-พม่า เริ่มขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2308 มีเหตุมาจากความขัดแย้งระหว่างพม่ากับจีนในเรื่องหัวเมืองไทใหญ่ ซึ่งกองทัพพม่าได้ยกเข้าดินแดนไทใหญ่และรุกคืบไปเรื่อยๆ ทำให้พวกเจ้าฟ้าไทใหญ่ได้ไปขอความช่วยเหลือจากจีน แต่จีนก็ยังไม่ส่งกำลังมาช่วยโดยรอเวลาที่เหมาะสมอยู่และเวลานั้นก็มาถึงเมื่อจีนเห็นพม่ากำลังทำศึกติดพันอยู่กับอยุธยา จึงเห็นว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการกำราบพม่าลง แต่การณ์ก็ไม่ได้เป็นไปดังนั้นเมื่อกองทัพของพม่าที่นำโดย [[อะแซหวุ่นกี้]] [[เนเมียวสีหตู]] [[บาลามินดิน]] และ[[เนเมียวสีหบดี]]ที่กลับมาช่วยในภายหลังนั้นกลับเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะต่อกองทัพต้าชิงอันเกรียงไกร ทำให้แม่ทัพของราชวงค์ชิงอย่าง หลิวเจ้าแม่ทัพกองธงเขียว(บุกครั้งที่1) หยางอิงจวี่แห่งกองธงเขียว(บุกครั้งที่2) รวมถึงพระนัดดา[[หมิงรุ่ย]]แห่งกองธงเหลือง(ขึ้นตรงต่อฮ่องเต้) ขุนพลเอกแห่งราชวงค์ชิงผู้พิชิตมองโกลและเติร์ก (บุกครั้งที่ 3) ต้องฆ่าตัวตายหนีความอัปยศ{{Sfn|Htin Aung|1967|pp=178–179}}<ref name=dyc-145>Dai, p. 145</ref>
 
หลังทรงทราบข่าวความพ่ายแพ้ของหมิงรุ่ย [[จักรพรรดิเฉียนหลง]]ทรงตกพระทัยและกริ้วยิ่งนัก จึงทรงมีรับสั่งเรียกตัวองคมนตรีฟู่เหิงซึ่งเป็นลุงของ[[หมิงรุ่ย]] ผู้เคยมีประสบการณ์ในการรบกับมองโกล พร้อมด้วยแม่ทัพแมนจูอีกหลายนาย เช่นเสนาบดีกรมกลาโหมอากุ้ย แม่ทัพใหญ่อาหลีกุ่น รวมทั้งเอ้อหนิงสมุหเทศาภิบาลมณฑลยูนนานและกุ้ยโจว ให้มารวมตัวกันเพื่อเตรียมบุกพม่าเป็นครั้งที่สี่ การรวมตัวครั้งนี้นับเป็นการรวมตัวกันของเสนาบดีระดับสูงครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในยุคของพระองค์ โดยอาศัยกำลังทั้งจากทัพแปดกองธงและกองธงเขียว การสู้รบเป็นไปอย่างดุเดือด พลัดกันรุกและรับผู้คนล้มตายมากมาย ในการบุกครั้งนี้กองทัพต้าชิงสามารถรุกเข้ามาในดินแดนพม่าได้ลึกพอสมควร{{Sfn|Hall|1960|pp=27–29}}
 
แต่แล้วกองทัพของเนเมียวสีหบดีก็กลับมาถึงหลังจากพิชิตกรุงศรีอยุธยาลงได้แล้ว จึงกลายเป็นฝ่ายกองทัพต้าชิงถูกตีกระหนาบต้องสูญเสียกำลังไปมากแต่ก็ยังพอประคองตัวได้อยู่ เนื่องจาก[[อะแซหวุ่นกี้]]ทำแต่เพียงล้อมกองทัพต้าชิงเอาไว้แล้วบีบให้ยอมเจรจา{{Sfn|Harvey|1925|p=255–257}} หลังจากการรบยืดเยื้อจนถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2312 พม่าและจีนก็พักรบเนื่องจากทั้งสองฝ่ายต่างเหนื่อยล้าเต็มทน และยิ่งนานไปยิ่งไม่เป็นผลดีต่อทั้งคู่ การรบครั้งนี้ทำให้ต้าชิงต้องสูญเสียฟู่เหิง กับอาหลีกุ่นแม่ทัพใหญ่และรองแม่ทัพด้วยไข้มาเลเรีย การสู้รบที่ยาวนานถึง 4 ปีก็จบลงมีการทำ[[สนธิสัญญากองตน]] หลังจากนั้น 20 ปี เมื่อพระเจ้ามังระสิ้นไปแล้วราชวงค์คองบองและจีนก็ได้ฟื้นความสัมพันธ์ขึ้นมาใหม่ในยุคของ[[พระเจ้าปดุง]] โดยพม่ายอมส่งบรรณาการให้แก่อาณาจักรต้าชิง แลกกับการที่จีนยอมรับราชวงค์คองบองของพม่า{{Sfn|Htin Aung|1967|pp=181–183}}
 
=== บทสรุปของสงคราม ===
* ฝ่ายราชวงค์ชิง ในสงครามจีน-พม่านี้นับเป็นสงครามครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของราชวงค์ชิง และถือเป็นรอยด่างเล็กๆของจักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งของโลก[[จักรพรรดิเฉียนหลง]] อีกทั้งพระองค์ยังต้องสูญเสียเสนาบดีกลาโหมผู้ร่วมแผ่เสนยานุภาพแทนพระองค์ถึง3คน ไม่ว่าจะเป็น [[หมิงรุ่ย]] ฟูเหิง และแม่ทัพใหญ่อาหลีกุ่น แต่ถึงแม้ต้าชิงจะไม่สามารถสยบพม่าได้อย่างราบคาบ แต่นั้นก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้พม่าเห็นถึงศักยภาพในการระดมกองทัพขนาดใหญ่ ที่สามารถสั่นคลอนราชวงค์คองบองได้ตลอดเวลา
* ฝ่ายราชวงค์คองบอง เป็นการรบครั้งใหญ่ที่สุดและสูญเสียมากที่สุดในยุคของพระเจ้ามังระ แต่นั้นก็ทำให้ได้เห็นถึงความแข็งแกร่งของพระองค์ รวมถึงการใช้คนแบ่งงานให้แม่ทัพแต่ละนายได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่ แม้จะสูญเสียทหารไปมากแต่ก็สามารถรักษาแผ่นดินเอาไว้ได้ ถือเป็นผลงานชิ้นเอกที่พระองค์ฝากไว้ให้ราชวงค์คองบอง หลังจากสิ้นยุคพระองค์ไปแล้วขีดความสามารถทางการทหารของพม่าก็ไม่เคยกลับไปอยู่จุดเดิมได้อีกเลย