ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กำแพงเมืองเชียงใหม่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขที่ 7563387 สร้างโดย 223.24.117.97 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 30:
* ประตูหล่ายแกง อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ พบหลักฐานในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวถึง ประตูนี้ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2313 เมื่อกองทัพธนบุรียกมาล้อมเมืองเชียงใหม่ ที่ชื่อหล่ายแคง เพราะบริเวณริมคูเมืองมีลักษณะลาดเท ในสมัยต่อมาจึงเรียกเพี้ยนมาเป็น ประตูระแกง
* ประตูขัวก้อม อยู่ทางทิศใต้ ปรากฏในหลักฐานโคลงมังทรารบเชียงใหม่ว่าสร้างขึ้นอย่างน้อยในปี พ.ศ.2158
* ประตูไหยา (ประตูหายยา) อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ในตำนานสิบห้าราชวงศ์ กล่าวถึงประตูไหยาเป็นครั้งแรกว่า " อยู่อยูบ่นานเท่าใด เทพสิงห์ยอเสิก็ (ศึก)เข้ามาคุมเวียง ลวดได้ ประตูไหยา"<ref name=":0">สมหมาย เปรมจิตต์. (2540). '''ตำนานสิบห้าราชวงศ์ ฉบับชำระ''' . เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.</ref>
 
== แจ่งเมืองเชียงใหม่ ==
กำแพงเมืองเชียงใหม่มีแจ่ง (''มุม'') 4 แจ่ง ซึ่งถือเป็น[[ป้อมปราการ]]ของเมืองในอดีต ได้แก่
* '''แจ่งศรีภูมิ''' เดิมชื่อ ''แจ่งสะหลีภูมิ'' เป็นแจ่งทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือที่มาของชื่อหมายถึง ศรีแห่งเมือง ถือเป็นจุดแรกเริ่มของการสร้างเมืองเชียงใหม่ แจ่งศรีภูมิ เชื่อมต่อถนนอัษฏาธร ออกไปยังตลาดคำเที่ยง และถนนวิชยานนท์ ออกไปยังตลาดเมืองใหม่, เจดีย์ขาว
* '''แจ่งก๊ะต้ำ''' หรือ '''แจ่งขะต๊ำ''' เป็นแจ่งทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ที่มาของชื่อหมายถึง กับดัก เป็นเครื่องจับปลาชนิดหนึ่ง เพราะมุมด้านนี้อยู่ต่ำสุดมีปลาชุกชุม จึงมีผู้คนมาดักปลาโดยใช้ ขะต๊ำแจ่งขะต๊ำ ขะต๊ำเชื่อมต่อถนนศรีดอนชัย ออกไปยังไนท์บาร์ซ่า, ขัว(สะพาน)เหล็ก, ถนนช้างคลาน
* '''แจ่งกู่เฮือง''' เป็นแจ่งทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ที่มาของชื่อเนื่องจากเป็นที่เก็บ[[อัฐิ]]ของ ''อ้ายเฮือง'' ที่ได้เป็นผู้คุมของ ขุนเครือ<ref name=":0" />[[พญาคำฟู]] ซึ่งได้ถูกนำมาคุมขังที่นี่ภายหลังถูกจับกุม เนื่องจากก่อนหน้าได้ชิงบัลลังก์เวียงเชียงใหม่จาก[[พญาแสนภู]] ผู้เป็นหลานน้า ต่อมาขุนเครือ พญาคำฟูถูกปราบโดยพ่อท้าวน้ำท่วมเจ้าเมืองฝาง(ภายหลังพระบิดาให้ปกครองเชียงใหม่แต่ครองเมืองได้ไม่นานก็ถูกส่งไปครองเมืองเขมรัฐเชียงตุง)[[พญาไชยสงคราม]] ผู้เป็นราชบุตรของพระญาไชยสงครามที่เชษฐาซึ่งครองเวียงอยู่เชียงราย แจ่งกู่เฮือง เชื่อมต่อถนนมหิดล ออกไปยังสนามบินนานาชาติเชียงใหม่, เซ็นทรัลแอร์พอร์ต
* '''แจ่งหัวลิน''' เป็นแจ่งด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ที่มาของชื่อเนื่องจากเป็นจุดรับน้ำจากห้วยแก้ว(ดอยสุเทพ) ผ่านราง(ลิน) ถือว่าเป็นภูมิปัญญาของระบบน้ำประปาแบบโบราณ แจ่งหัวลิน เชื่อมต่อถนนสุเทพ ออกไปยังดอยสุเทพ, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สวนสัตว์เชียงใหม่
 
<gallery>