ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พญาคำฟู"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
แก้ไขข้อความที่เป็นข้อมูลผิด
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Ku_kamfoo.jpg|thumb|กู่บรรรจุพระบรมอัฐิพญาคำฟู ที่วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่]]
'''พญาคำฟู''' ({{lang-nod|[[ไฟล์:LN-King Khamfu.png|70px]]}}) หรือที่เรียกกันว่า '''เจ้าคำฟู''' หรือ'''ท้าวคำฟู''' เป็นพระมหากษัตริย์ใน[[ราชวงศ์มังราย]] แห่ง[[อาณาจักรล้านนา]]<ref>รุ่งพงษ์ ชัยนาม. '''ประวัติศาสตร์ล้านนา : ประวัติศาสตร์ไทยที่คนไทยไม่ค่อยมีโกาสได้ศึกษา'''. [[มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช]]</ref> ทรงครองราชย์ระหว่าง [[พ.ศ. 1877]] - [[พ.ศ. 1879|1879]] รวมระยะเวลาการครองราชย์ 2 ปี พระองค์เป็นพระราชโอรสใน[[พญาแสนภู]] ตามตำนานสิบห้าราชวงศ์กล่าวไว้ว่า "เจ้าพระญาแสนภูก็แต่งลูกตน เจ้าพ่อท้าวคำฟู อยู่รักษาเมืองเชียงใหม่ ส่วนตนเจ้าก็ไปส่งสะกานเจ้าพระญาไชยสงครามพ่อในเมืองเชียงราย ได้ 1 เดือนบัวระมวลชุอัน ท้าวก็ลวดอยู่เสวยเมืองเชียงรายหั้นแล แล้วก็แต่งหื้ออภิเษกพ่อเท้าท้าวคำฟู ลูกตนอายุได้ 26 ปี หื้อเป็นพระญาในเมืองเชียงใหม่ในปีเปิกสี ศักราชได้ 690 ตัวปีหั้นแล" <ref>สมหมาย เปรมจิตต์. (2540). '''ตำนานสิบห้าราชวงศ์ ฉบับชำระ''' . เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.</ref>พระองค์ได้ครองราชย์เมืองเชียงใหม่ต่อจากพระราชบิดา ซึ่งพญาแสนภูได้มอบบัลลังก์เมืองเชียงใหม่ให้พญาคำฟูพระโอรสได้ครอง แล้วส่วนตัวพระองค์เองก็ทรงย้ายราชธานีจากนคร[[เชียงใหม่]] ไปครองเมือง[[เชียงแสน]] ภายหลังพระญาแสนภูเสด็จสวรรคตพระญาคำฟูจึ่งได้ครองราชย์ต่อระหว่าง พ.ศ.1877-1879 พญาคำฟูได้พัฒนา ปกครองนครเชียงใหม่ให้เกิดความผาสุก ร่มเย็น ในรัชสมัยของพระองค์แม้จะเป็นเวลาเพียง 2 ปี แต่ก็เป็นช่วงเวลาที่เชียงใหม่มีความเจริญรุ่งเรือง สงบสุข ไม่มีศึกสงคราม ในยุคสมัยของพระญาคำฟูนี้พระองค์ทรงร่วมมือกับพญาผานองเจ้าเมืองปัวเข้าปล้นเมืองพะเยาได้<ref>ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับเชียงใหม่ ๗๐๐ ปี, หน้า ๔๘.</ref> และสามารถที่จะผนวกเอารัฐพะเยาที่เป็นอิสระอยู่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของล้านนาได้ หลังจากพระญาคำฟูเสด้จเสด็จสวรรคตพระราชโอรสในพญาคำฟูขึ้นครองราชย์ต่อ ออกพระนาม [[พญาผายู]]
 
พญาคำฟูสวรรคตจากการถูก[[เงือก]]หรือ[[จระเข้]]กัด ถือเป็นการตายร้าย จึงได้รับการบูชาเป็นผีอารักษ์ปกป้องเมืองเชียงใหม่ ส่วนโกศบรรจุพระบรมอัฐิของพญาคำฟูถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2469 ช่วงที่[[ครูบาศรีวิชัย]]บูรณะ[[วัดพระสิงห์]] แล้วถูกนำไปเก็บไว้ที่ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่หลังเก่า แต่ภายหลังโกศพระบรมอัฐิหายไปอย่างไร้ร่องรอย และไม่มีผู้ใดออกมารับผิดชอบ<ref>{{cite web|url=https://www.matichonweekly.com/column/article_73951|title=“ล้านนาศึกษา” ใน “ไทศึกษา” ครั้งที่ 13 (12) 500 ปี โคลงนิราศหริภุญไชย : คุณค่าและความทรงจำ (1)|author=เพ็ญสุภา สุขคตะ|date=4 มกราคม 2561|work=มติชนสุดสัปดาห์|publisher=|accessdate=3 กุมภาพันธ์ 2561}}</ref>