ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พญามังราย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขที่ 7563320 สร้างโดย 223.24.117.97
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 78:
พระราชบุตรพระองค์ที่สอง คือ ขุนคราม ผู้ตีได้นครเขลางค์ดังกล่าวข้างต้น<ref name = "prasoet-270"/>
 
พระราชบุตรพระองค์ที่สาม คือ ขุนเครือ โปรดให้กินเมืองพร้าว แต่ต่อมาถูกพระองค์เนรเทศไปเมืองกองใต้ ชาวไทใหญ่จึงสร้างเมืองใหม่ให้ขุนเครือปกครองแทน ขุนเครือเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๓ ในพระญามังรายมหาราช พระอนุชาของพระญาไชสงคราม แต่เดิมพระญามังรายทรงให้ขุนเครือ ไปครองเมืองพร้าว แต่ต่อมาถูกพระองค์เนรเทศไปเมืองกองใต้ และชาวไทใหญ่พากันสร้างเมืองใหม่ให้ขุนเครือปกครองแทน ชื่อว่าเมืองนาย ต่อมาเจ้าขุนเครือซึ่งเป็นพระอนุชาในพระญาไชยสงครามซึ่งทรงปกครองเมืองนายอยู่นั้น ครั้นได้ทราบข่าวว่าพระราชบิดาพระญามังรายเสด็จสวรรคต และพระญาไชยสงครามพระเชษฐาธิราชทรงยกเมืองเชียงใหม่ให้พระราชนัดดาคือเจ้าแสนภูทรงปกครอง ก็ มิทรงพอพระทัยเจ้าขุนเครือจึงทรงจัดแต่งรี้พลชาวไทยใหญ่ของพระองค์เตรียมจะยกมาชิงราชสมบัติ  เจ้าขุนเครือ ทรงยกพลมาถึงเวียงกุมกาม พักพลอยู่ ณ ทุ่งข้าวสาร ก็ทรงจัดทำเครื่องบรรณาการของฝากส่งไปถึงเจ้าแสนภูและสั่งบอกไปว่าพระองค์ทรงมาถวายพระศพพระญามังรายมหาราชผู้ทรงเป็นพระราชบิดาในพระองค์  จากนั้นเจ้าขุนเครือก็ทรงแต่งไพร่พลโดยพระองค์เองแต่งเครื่องทรงอย่างจะออกศึกไปดักที่ประตูเชียงใหม่ และอีกพวกหนึ่งดักอยู่ที่ประตูสวนดอก เพื่อคอยจับกุมตัวเจ้าแสนภูไปเป็นประกันเพื่อชิงราชสมบัติ  เจ้าแสนภูในขณะนั้นทรงมีพระชนม์ได้ ๔๑ พรรษา ทรงทราบว่า เจ้าขุนเครือ เจ้าอาของพระองค์นั้นมุ่งประสงค์จะช่วงชิงราชสมบัติเพื่อครองเมืองนครพิงค์ที่พระองค์ครองอยู่  เจ้าแสนภูจึงทรงจัดแจงอพยพพระราชวงศ์เสด็จหนีออกทางประตูหัวเวียงไปทางเวียงเชียงโฉมในเวลาเที่ยงคืน เนื่องจากทรงไม่มีพระราชประสงค์ที่จะสู้รบกับเจ้าอาผู้มีสายพระโลหิตเดียวกันและมิทรงอยากให้ผู้คนล้มตาย  พระองค์จึงได้เสด็จเลยไปหาเจ้าท้าวน้ำท่วมผู้เป็นพระอนุชาไปยังเมืองฝางแจ้งเหตุการณ์ให้ทราบตามที่เป็นจริงแล้วต่อจากนั้นก็เสด็จเลยไปถึงเมืองเชียงรายเข้าเฝ้าพระราชบิดาก็คือพระญาไชยสงครามเพื่อทูลแจ้งให้ทรงทราบ ส่วนฝ่ายเจ้าขุนเครือก็ทรงขึ้นครองนครพิงค์ตามที่ตั้งพระทัยไว้แต่แรก ต่อมาพระญาไชยสงครามพระราชบิดาในเจ้าแสนภูทรงทราบเรื่องก็ทรงพิโรธ ที่ถูกพระอนุชากระทำให้เสียน้ำพระทัย พระญาไชยสงครามก็ได้แต่งพลโยธาแล้วสั่งให้เจ้าท้าวน้ำท่วมผู้ครองเมืองฝางยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่คืน เป็นวันอังคารแรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๕ เวลาใกล้รุ่ง กองทัพของเจ้าท้าวน้ำท่วมก็มาพักอยู่ที่ตำบลทุ่งแสนตอ พอได้เวลาสมควรท้าวน้ำท่วมผู้เป็นแม่ทัพก็ทรงแต่งกลศึกอันมีชื่อว่า “กลราชปัญญา” คือแต่งกลให้คนเอาเครื่องศึกซ่อนในหาบ หาบไปเหมือนดังจักไปเข้าเวรรั้งเมือง คนหาบเหล่านี้มีหลายคนต่างก็แยกย้ายเข้าประจำอยู่ทุกประตูเมือง ครั้นแล้วก็ทรงแต่งพลศึกยกเรียงรายกันเข้าตั้งล้อมเมืองเอาไว้ดุจจะเข้าตีในทันทีทันใด ชาวนครทั้งหลายก็ถูกเกณฑ์ให้เข้าประจำรักษาประตูต่างๆตามหน้าที่  ครั้นถึงเวลาได้ฤกษ์งามยามดี เจ้าท้าวน้ำท่วมกับทหารร่วมใจก็ลอบยกเข้าไปถึงประตูเมือง  คนที่ล้อมตัวเป็นผู้รักษาประตูก็เปิดรับ เจ้าท้าวน้ำท่วมเข้าเมืองได้ในคืนนั้นสั่งไพร่พลให้จุดไฟขึ้น กองทัพที่ล้อมเมืองก็โห่ร้องตีฆ้องกลองขึ้นอีกกะทึกแล้วกรูกันเข้าเมืองพร้อมกับยิงปืนสนั่นหวั่นไหว ผู้คนแตกตื่นกันชุลมุนไปหมด  เจ้าขุนเครือนั้นเสพสุราเมานอนหลับอยู่ เพราะไม่คิดว่าจะมีผู้ยกทัพมาตีเอาเมืองง่ายๆ เจ้าท้าวน้ำท่วมสั่งให้ทหารจับกุมตัวเจ้าขุนเครือทันที ครั้นแล้วก็สั่งให้นำไปขังไว้ที่มุมเมืองด้านตะวันตกเฉียงใต้แต่เป็นนอกเวียงชื่อว่า แจ่งกู่เฮือง ให้หมื่นเรืองเป็นผู้ควบคุมรักษามิให้หลบหนีไปได้ ตำบลที่เจ้าท้าวน้ำท่วมใช้เป็นที่คุมขังเจ้าขุนเครือผู้เป็นเจ้าอานี้ ภายหลังได้ชื่อว่า ตำบลขวงเชียงเรือง สืบต่อมาเจ้าท้าวน้ำท่วมกับไพร่พลโยธา ตีได้เมืองเชียงใหม่และจับได้ตัวเจ้าขุนเครือไปขังไว้แล้ว ก็ได้ปราบปรามทหารของเจ้าขุนเครือซึ่งเป็นเงี้ยวมาจากเมืองนายล้มตายจำนวนมาก ตำนานสิบห้าราชวงศ์กล่าวถึงภายหลังการจับกุมขุนเครือได้แล้วว่า "ดั่งเจ้าขุนเครืออยู่ทับขังไว้ 4 ปี ก็ไปสู่ปรโลกแล เจ้าพระญาไชยสงครามก็มาส่งสะกานน้องตน เจ้าพระญาเครือยังเชียงใหม่ วันนั้นแล"<ref>สมหมาย เปรมจิตต์. (2540). '''ตำนานสิบห้าราชวงศ์ ฉบับชำระ''' . เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.</ref>
พระราชบุตรพระองค์ที่สาม คือ ขุนเครือ โปรดให้กินเมืองพร้าว แต่ต่อมาถูกพระองค์เนรเทศไปเมืองกองใต้ ชาวไทยใหญ่จึงสร้างเมืองใหม่ให้ขุนเครือปกครองแทน<ref name = "prasoet-270"/>
 
== สวรรคต ==