ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มานูเอล เอเล. เกซอน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 49:
ในช่วงตำแหน่งประธานาธิบดีของเขา เกซอนจัดการปัญหาของชาวนาไร้ที่ดินในชนบท การตัดสินใจที่สำคัญอื่น ๆ ของเขา ได้แก่ การปฏิรูปการป้องกันประเทศของหมู่เกาะ การอนุมัติข้อเสนอแนะในการปฏิรูปของรัฐบาล การส่งเสริมการตั้งถิ่นฐานและการพัฒนาใน[[มินดาเนา]]<ref name=UScongress>Office of History and Preservation, United States Congress. (n.d.). Quezon, Manuel Luis, (1878–1944). ''Biographical Directory of the United States Congress''. Retrieved September 30, 2010.</ref> การจัดการกับการค้าประเวณีและการค้าแรงงานของฟิลิปปินส์ในต่างประเทศ ข้อเสนอสำหรับการปฏิรูปที่ดินและการต่อต้านการรับสินบน และการทุจริตภายในรัฐบาล เขาได้จัดตั้ง[[รัฐบาลพลัดถิ่น]]ขึ้นในสหรัฐอเมริกาหลังการปะทุของสงครามและการรุกรานของญี่ปุ่น
 
ในช่วงที่เขาพลัดถิ่นในสหรัฐอเมริกา เขาถึงแก่อสัญกรรมจากวัณโรคที่หมู่บ้านแซราแน็กเลก (Saranac Lake) ใน[[นิวยอร์ก]] ศพของเขาถูกฝังอยู่ในสุสานแห่งชาติอาร์ลิงตันจนกระทั่งสิ้นสุด[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] ศพของเขาจึงถูกย้ายไปที่กรุง[[มะนิลา]] สถานที่พักผ่อนสุดท้ายของเขาคือ[[วงเวียนอนุสรณ์เกซอน]] (Quezon Memorial Circle)<ref>{{cite book|last=Reyes|first=Pedrito|title=Pictorial History of the Philippines|year=1953}}</ref>
 
ในปี พ.ศ. 2558 คณะกรรมการ[[มูลนิธิราอูล วัลเลินแบร์ย นานาชาติ]] ได้มอบรางวัลเหรียญวัลเลินแบร์ยให้แก่ประธานาธิบดีเกซอนและประชาชนชาวฟิลิปปินส์จากความพยายามช่วยเหลือเหยื่อ[[ฮอโลคอสต์|พันธุฆาตชาวยิว]]ในช่วงปี พ.ศ. 2480–2484 ประธานาธิบดี[[เบนิกโน อากีโนที่ 3]] และมารีอา เซเนย์ดา เกซอน อาบันเซญญา ซึ่งมีอายุ 94 ปี และเป็นบุตรสาวของอดีตประธานาธิบดีได้รับมอบรางวัลแทน