ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ขวัญจิต ศรีประจันต์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
แจ้งคุณเป็นใครด้วยสจห.
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 28:
}}
 
'''ขวัญจิต ศรีประจันต์''' มีชื่อจริงว่า '''เกลียว เสร็จกิจ'''<ref>{{cite press release |title='แม่ผ่องศรี' ชู 'ในหลวง' ต้นแบบสู้วิกฤติน้ำท่วม|url=http://www.komchadluek.net/detail/20111128/116307/%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%8A%E0%B8%B9%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1.html#.UYh5IaJFBck|publisher=ไทยรัฐ|language=ไทย|date=|accessdate=7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556}}</ref> ([[3 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2490]] - ) เป็น[[ศิลปินแห่งชาติ]] สาขาศิลปะการแสดง ([[เพลงพื้นบ้าน]]-[[อีแซว]]) ปี 2539<ref name='finearts'>[http://www.finearts.go.th/suphanburilibrary/parameters/km/item/%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%82%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95-%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C-2.html แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์]จากเว็บไซต์หอสมุดแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2561</ref> จากการเป็นแม่เพลงพื้นบ้าน[[ภาคกลาง]]ที่มีชื่อเสียง เต็มไปด้วยความสามารถในการเล่นเพลงแบบหาตัวจับได้ยาก และเมื่อหันเข้าสู่วงการเพลงลูกทุ่ง ก็ได้รับความนิยมอย่างสูง มีผลงานเพลงดังมากมาย ในจำนวนนั้นก็เป็นเพลงที่เกิดจากการแต่งของตัวเองด้วยหลายเพลง โดยในการนำเสนอเพลงลูกทุ่ง ขวัญจิต ศรีประจันต์ ก็ได้นำท่วงทำนองเพลงพื้นบ้านภาคกลางเข้ามาผสมผสานอย่างลงตัว
 
== ประวัติ ==
ขวัญจิต ศรีประจันต์ มีชื่อจริงว่า เกลียว เสร็จกิจ เกิดเมื่อ 3 สิงหาคม 2490<ref name='finearts'/> ที่ ต.วงน้ำซับ [[อ.ศรีประจันต์]] จ.[[สุพรรณบุรี]] เป็นธิดาของนายอัง และนางปลด เสร็จกิจ มีพี่น้อง 3 คน
 
== เข้าสู่วงการ ==
ขวัญจิต ศรีประจันต์ สนใจเพลงพื้นบ้านมาตั้งแต่อายุ 15 ปี<ref name='finearts'/> และแม้เชื้อสายทางพ่อจะมีญาติเป็น[[พ่อเพลง]]ที่มีชื่อเสียงของสุพรรณบุรี แต่พ่อก็ไม่สนับสนุนให้เป็นแม่เพลงพื้นบ้านด้วยเกรงว่าความเป็นสาวรุ่นจะทำให้เกิดปัญหาเรื่องชู้สาวตามมา แต่กลับสนับสนุนลูกสาวอีกคนหนึ่งที่อายุยังน้อยให้ไปฝึกหัดเพลงพื้นบ้านกับพ่อเพลง[[ไสว วงษ์งาม]]แทน ความสนใจเพลงพื้นบ้าน ทำให้ขวัญจิตติดตามดูการร้องเพลงอีแซวของแม่เพลง[[บัวผัน จันทร์ศรี]] (ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2533) เป็นประจำและต่อมาได้มีโอกาสไปดูแลน้องสาวที่อยู่กับครูไสว จึงได้เรียนรู้การเล่นเพลงอีแซวแบบครูพักลักจำจนท่องเนื้อเพลงได้หลากหลายทั้งลีลาเพลงแนวผู้ชายของครูไสวและเพลงแนวผู้หญิงของครูบัวผัน
 
ขวัญจิต เป็นคนที่ชอบอ่านหนังสือ และวรรณคดีเก่าๆของไทยอ่านแล้วก็นำเนื้อหานั้นมาแต่งเป็นเพลงอีแซว ร้องเล่นจนเกิดความแตกฉานซึ่งต่อมาได้ขอครูไสว แสดงบ้าง แม้ในระยะแรกๆครูไสวจะยังไม่อนุญาต แต่ในเวลาต่อมาเมื่อได้เห็นความอดทน ความตั้งใจจริง จึงอนุญาตให้แสดงความสามารถ และด้วยพลังเสียงที่กังวานมีไหวพริบ ปฏิภาณ เฉลียวฉลาดในการว่าเพลง ทำให้เป็นที่ชื่นชอบของนักฟังเพลงอีแซวยิ่งนัก
บรรทัด 42:
จากนั้นได้แต่งเพลงเองได้แก่ “กับข้าวเพชฌฆาต” , “น้ำตา[[ดอกคำใต้]]” , “สาวสุพรรณ “ ซึ่งเป็นเพลงที่สร้างชื่อเสียงให้เป็นอย่างมาก ต่อมาจึงได้ตั้งวงดนตรีของตนเอง ชื่อวงขวัญจิต ศรีประจันต์ เป็นวงดนตรีที่นำระบบแสง สี เสียง ที่น่าตื่นตาตื่นใจมาใช้ประกอบการแสดงนำเพลงอีแซวมาผสมผสานกับการแสดงเผยแพร่สู่ผู้ฟังทั่วประเทศจนเป็นที่รู้จักกันอย่างเป็นอย่างดี
 
พ.ศ. 2516 ขวัญจิต ยุติวงดนตรีลูกทุ่งแล้วกลับไปฟื้นฟูเพลงอีแซวที่ จ.สุพรรณบุรี อุทิศชีวิตในการอนุรักษ์ฟื้นฟู เผยแพร่และถ่ายทอดเพลงอีแซวให้กับลูกศิษย์และผู้สนใจมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน ได้ใช้ความรู้ความสามารถช่วยเหลือสถาบันการศึกษาและหน่วยงานราชการในการเป็นวิทยากรสาธิต<ref>[https://www.thairath.co.th/content/894855 ขวัญจิต ศรีประจันต์ เพาะพันธุ์เพลงอีแซว]</ref> รับแขกบ้านแขกเมืองด้วยการแสดงพื้นบ้านติดต่อกันมาอย่างยาวนาน
 
== ผลงานเพลงดัง ==
บรรทัด 90:
== เกียรติยศ ==
 
* พ.ศ. 2532 ได้รับการประกาศเกียรติคุณให้เป็น ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม สาขาศิลปะ (เพลงพื้นบ้าน) จาก[[สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ]]<ref name='finearts'/>
* พ.ศ. 2533 ได้รับคัดเลือกเป็นสื่อพื้นบ้านดีเด่นของ[[ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน]]ภาคกลางและ[[สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพย์ติด]]
* พ.ศ. 2534 ได้รับการประกาศเกียรติคุณเป็น นักร้องดีเด่นกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ครั้งที่ 2 จากเพลงกับข้าวเพชฌฆาต รับพระราชทานจาก [[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] ซึ่งจัดงานโดยสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
* พ.ศ. 2536 ได้รับโล่เกียรติคุณ ฐานะนักร้องลูกทุ่งดีเด่นของ จ.สุพรรณบุรี
* พ.ศ. 2539 ได้รับการประกาศเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้าน-อีแซว)<ref name='finearts'/>
 
== อ้างอิง ==