ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรมขุนวิมลพัตร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Siripornhui (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 20:
กรมขุนวิมลพัตรมีพระนามเดิมว่า'''พระองค์เจ้าแมงเม่า''' บางแห่งออกพระนามว่า '''เม้า''' หรือ'''เมาฬี'''<ref name="พม่า"/> "''บัญชีพระนามเจ้านาย''" ใน[[คำให้การชาวกรุงเก่า]]ระบุว่าพระองค์เป็นพระราชธิดาใน[[สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ]] ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาศรี มีพระเชษฐาและพระภคินีร่วมพระชนกชนนีคือ พระองค์เจ้าหญิงผอบ, พระองค์เจ้าชายสถิต, พระองค์เจ้าชายพงศ์ และพระองค์เจ้าชายแตง<ref>''ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง'', หน้า 176</ref>
 
[[พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)]] ระบุว่า หลัง[[สงครามพระเจ้าอลองพญา]]ในรัชสมัย[[สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์]] [[สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร|สมเด็จพระอนุชาธิราช]]ให้สึกพระองค์เจ้าแมงเม่าจาก[[แม่ชี|ชี]] นำมาถวายเป็นบาทบริจาริกาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<ref>''พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)'', หน้า 374</ref> ต่อมาจึงทรงยกเจ้าแมงเม่าเป็นพระอัครมเหสี<ref name="กรุงเก่า1">''ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง'', หน้า 129</ref> ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าสถาปนาขึ้นเป็น'''กรมขุนวิมลพัตร'''<ref name="กรุงเก่า"/> และทรงให้มเหสีอื่น ๆ มียศฐาถาบรรดาศักดิ์เสมอกัน<ref name="หาวัด">''ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง'', หน้า 494</ref> พระนางมีบทบาททางการเมืองระดับหนึ่ง ดังที่บาทหลวงฝรั่งเศสได้เขียนจดหมายเหตุบันทึกไว้ว่า: ''"... บ้านเมืองแปรปรวน เพราะฝ่ายใน [พระราชชายา] ได้มีอำนาจเท่ากับพระเจ้าแผ่นดินผู้มีความผิดฐานกบฏ ฆ่าคนตายเอาไฟเผาบ้านเรือนจะต้องได้รับโทษถึงประหารชีวิต แต่ความโลภของฝ่ายในให้เปลี่ยนเป็นริบทรัพย์สิน ริบได้ก็ตกเป็นของฝ่ายในทั้งสิ้น พวกข้าราชการเห็นความโลภของฝ่ายใน ก็แสวงหาผลประโยชน์กับผู้ต้องหาคดีให้ได้มากที่สุดที่จะหาได้ จะได้แบ่งเอาบ้าง ความเดือดร้อนลำเค็ญก็ยิ่งทับถมราษฎรมากขึ้น..."''<ref>ขจร สุขพานิช. ''ข้อมูลประวัติศาสตร์ : สมัยบางกอก''. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2531. หน้า 269.</ref>
 
กรมขุนวิมลพัตรมีพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวคือเจ้าฟ้าหญิงสิริจันทรเทวี บางแห่งออกพระนามเป็นศรีจันทเทวี ([[คำให้การขุนหลวงหาวัด]])<ref name="หาวัด"/> หรือเจ้าฟ้าน้อย ([[คำให้การชาวกรุงเก่า]])<ref name="กรุงเก่า"/> หลังประสูติกาลมีการประโคมดนตรีสามครั้งตามโบราณราชประเพณี<ref name="กรุงเก่า1"/>