ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จตุคามรามเทพ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 28:
 
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2538 ทางโหราศาสตร์เกิดสุริยคราสพาดผ่านประเทศไทย ซึ่งเกิดกระแสตื่นตัวไปทั่วประเทศในเรื่องของพระราหูกินเมือง ประชาชนต่างก็หาวัตถุมงคลหาเครื่องรางของขลังมาแขวนติดตัวเพื่อแก้เคล็ดและสะเดาะเคราห์ ประกอบกับนิตยสารพระเครื่องกรุงสยาม ได้ลงประวัติการสร้างทำให้มีคนรู้จักบ้าง จึงได้มีการเช่าหากันไปในบางส่วน
 
[[ภาพ:P7_001.jpg|thumb|200px|right|นายสนธิกำลังโบกธง[[สีดำ]]รูปพญาชิงชัย ในการชุมนุมที่[[ลานพระบรมรูปทรงม้า]] คืนวันที่ [[4 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2549]]]]
และใน[[การขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี]]ของ[[พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย]]นั้น นาย[[สนธิ ลิ้มทองกุล]]หนึ่งในแกนนำได้ใช้จตุคามรามเทพเป็นสัญลักษณ์และกำลังใจในการชุมนุมด้วย
 
ในต้นปี [[พ.ศ. 2550]] จตุคามรามเทพได้รับความนิยมอย่างยิ่ง จนกลายเป็นกระแสในสังคมไทย จากข่าวการพระราชทานเพลิงศพของ[[ขุนพันธรักษ์ราชเดช]] อดีตนาย[[ตำรวจ]]มือปราบ ผู้ริเริ่มการจัดสร้างจตุคามรามเทพขึ้นเป็นบุคคลแรก ได้มีการสร้างจตุคามรามเทพขึ้นในวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ มีหลายรุ่น พระเกจิหลายองค์ปลุกเสก หลายคนพากันแย่งชิงจนเกิดเป็นเหตุให้[[ฆาตกรรม]]กันก็มี และผลจากกระแสนี้ส่งผลให้จตุคามรามเทพรุ่นแรกที่ผลิตออกมาในปี พ.ศ. 2530 มีราคาพุ่งไปถึงกว่า 40 ล้านบาท จากเดิมที่มีราคาเพียง 49 บาทเท่านั้น