ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โชกุน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 54:
คำว่า "บากูฟุ" ที่แปลกันว่า "รัฐบาลโชกุน" นั้นมีความหมายตรงตัวว่า "สำนักพลับพลา" เป็นคำเรียกที่บัญชาการของแม่ทัพนายกอง เดิมใช้เรียกจวนของโชกุนซึ่งป็นทั้งที่อยู่อาศัยและสำนักงานของโชกุน แต่ภายหลังคำนี้กลายมาหมายถึงระบอบการปกครองของโชกุนที่มีเผด็จการทหารแบบเจ้าขุนมูลนาย
 
ระบอบโชกุนนั้นเริ่มขึ้นด้วยรัฐบาลโชกุนคามากูระที่มีมินาโมโตะ โนะ โยริโตโมะ เป็นโชกุน โดยมีจักรพรรดิเป็นเจ้าแผ่นดิน ระบอบนี้เป็นแบบ[[ระบบเจ้าขุนมูลนาย|เจ้าขุนมูลนาย]]ในบางลักษณะ เช่น ขุนนางผู้น้อยขึ้นต่อขุนนางผู้ใหญ่ ซามูไรได้รับการตอบแทนที่ซื่อสัตย์ภักดีต่อขุนนาง การตอบแทนมีทั้งผลิตผลพืชไร่และแรงงานจากชนชั้นกสิกร แต่ต่างจากอัศวินในระบบเจ้าขุนมูลนายในยุโรปตรงที่ซามูไรไม่ได้ถือครองที่ดินด้วยตนเอง<ref>{{cite book|last=Bentley|first=Jerry|title=Traditions and Encounters|isbn=978-0-07-325230-8|pages=301–302}}</ref> ระบบเช่นนี้ดำรงอยู่ได้ด้วยสายสัมพันธ์แห่งความภักดีระหว่าง[[ไดเมียว]] ซามูไร และคนผู้ใต้บังคับบัญชาบัญชา
 
รัฐบาลโชกุนแต่ละชุดนั้นมีความเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง อำนาจในสมัยหนึ่งอาจแตกต่างจากในอีกสมัยได้ และมักคลุมเครือ ความเป็นไปของระบอบโชกุนนั้นเชิญชวนให้นักวิชาการเข้าศึกษาอยู่เสมอ นอกจากนี้ รัฐบาลโชกุนแต่ละชุดยังเผชิญการขัดขืนและโต้แย้งอำนาจ ทั้งจากจักรพรรดิเองและจากชนชั้นนำกลุ่มอื่น ๆ ในระบอบราชาธิปไตย รัฐบาลโชกุนจึงเป็นเครื่องสะท้อนของความจำเป็นที่ต้องคิดหาวิธีใหม่ ๆ มาคานอำนาจส่วนกลางและท้องถิ่นอยู่เสมอ<ref>Mass, J. et al., eds. (1985). ''The Bakufu in Japanese History'', p. 189.</ref>
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/โชกุน"