ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาไทยถิ่นใต้"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Art Choco Love (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Art Choco Love (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 77:
 
=== ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก (สำเนียงนครศรีธรรมราช) ===
'''[[ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก]]''' ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดกันมากทางฝั่งตะวันออกของ[[ภาคใต้]] บริเวณจังหวัด[[นครศรีธรรมราช]], [[สุราษฎร์ธานี]] (อำเภอบ้านนาสาร, อำเภอพระแสง, อำเภอชับบุรีชัยบุรี และอำเภอเวียงสระ), [[พัทลุง]], [[สงขลา]], [[ปัตตานี]] (อำเภอโคกโพธิ์, อำเภอแม่ลาน, อำเภอหนองจิก และ อำเภอเมือง) [[ตรัง]], [[สตูล]] (และในรัฐปะลิส-หมู่บ้านควนขนุน บ้านตาน้ำ, ในรัฐเคดาห์-บ้านทางควาย บ้านบาลิ่ง) ภาษาไทยถิ่นใต้ที่ใช้ในกลุ่มนี้ จะมีลักษณะของภาษาที่คล้ายคลึงกัน (ตรัง และสตูล แม้จะตั้งอยู่ฝั่งทะเลตะวันตก แต่สำเนียงภาษา ถือเป็นกลุ่มเดียวกับพัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช คือ ออกเสียงตัวสะกด ก.ไก่ ได้ชัดเจน)
 
=== ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันตก ===
บรรทัด 85:
 
=== ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงสงขลา ===
'''[[ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงสงขลา]]''' ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดอยู่บริเวณพื้นที่[[จังหวัดสงขลา]] บางส่วนของ[[จังหวัดพัทลุง]], [[จังหวัดปัตตานี]] และ[[จังหวัดยะลา]] ถือเป็นกลุ่มย่อย ในกลุ่มภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก มีลักษณะที่เด่นคือ หางเสียงจะไม่ขาดห้วน แต่จะค่อย ๆค่อยๆ เบาเสียงลง ซึ่งลักษณะดังกล่าว ช่วยให้ภาษาสงขลาฟังแล้วไม่หยาบกระด้าง อย่างสำเนียงใต้ถิ่นอื่น นอกจากนี้ยังมีคำที่ใช้บ่อยในสำเนียงนี้ คือ คำว่า ''เบอะ'' หรือ ''กะเบอะ'' ซึ่งมีความหมายในภาษาไทยมาตรฐานว่า เพราะว่า..., ก็เพราะว่า..., ...นี่นา เรียกเงินว่า ''เบี้ย'' ในขณะที่ถิ่นอื่นนิยมเรียกว่า ตางค์ และคำที่นิยมใช้อีกคำหนึ่ง คือ ''ไม่หอน'' ซึ่งมีความหมายว่า ไม่เคย เช่น ''ฉานไม่หอนไป'' เป็นต้น<ref>[http://plugmet.orgfree.com/sk_dialect_4-1.htm หมายเหตุเบื้องต้น กรณีศึกษาภาษาสงขลา] บันทึกขนำริมทุ่งปลักเหม็ด </ref>
 
=== [[สำเนียงตากใบ|ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงตากใบ]] ===
บรรทัด 99:
'''ภาษาทองแดง''' เดิมเป็นอีกชื่อของภาษาไทยถิ่นใต้ เป็นชื่อที่แปลมาจากชื่อเดิมคือ "ภาษาตามโพร" สันนิษฐานว่า การตั้งชื่อนี้มาจากชื่อของ[[อาณาจักรตามพรลิงก์]] (ตาม-พระ-ลิง) {{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}} ซึ่งคำว่า ตามพร (ะ) - แปลว่าทองแดง ({{lang-sa|Tāmbra}} ''ตามพร'', {{lang-pi|Tāmba}} ''ตามพ'') แต่ในปัจจุบัน คำว่าภาษาทองแดง จะหมายถึง ผู้ที่มีภาษาแม่เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ เมื่อพูดภาษาไทยมาตรฐานแล้ว สำเนียงจะไม่ชัด กล่าวคือ มีสำเนียงของภาษาไทยถิ่นใต้ หรือใช้คำศัพท์ที่มีอยู่เฉพาะในภาษาไทยถิ่นใต้ มาปะปนอยู่กับภาษาไทยมาตรฐาน ชาวใต้จะเรียกอาการนี้ว่า แหลงทองแดง (ทองแดงหล่น) ตัวอย่างเช่น การออกเสียงอักษร ฮ. แทนเสียง ง., การออกเสียง ควฺ, ขวฺ แทนเสียง ฟ., ฝ. (การจับผิดว่า ชาวใต้คนหนึ่งคนใด "แหลงทองแดง" หรือพูดไม่ได้สำเนียงมาตรฐาน ชาวใต้ถือเป็นการดูแคลน จะอนุญาตให้จับผิดได้ เฉพาะชาวใต้ด้วยกัน หรือเป็นคนที่สนิทสนมเท่านั้น) ปัจจุบันผู้ที่พูดภาษาใต้ไม่ชัด หรือออกสำเนียงใต้ไม่ชัดเจนก็เรียกว่าแหลงทองแดงเช่นกัน
 
'''แหลงข้าหลวง''' คำนี้เป็นภาษาไทยใต้สำเนียงสงขลา ใช้สำหรับดูถูก ผู้ใช้ที่ใช้ภาษาไทยสำเนียงกรุงเทพ และภาษาไทยมาตรฐาน เป็นสำเนียงถิ่น (บ้างอาจจะใช้เรียกผู้ที่ใช้ภาษาไทยกลางแท้ เช่นสำเนียงสุพรรณบุรีด้วย), โดยเฉพาะเมื่อคนนั้นมีความพยายามที่จะพูดภาษาไทยใต้ และพูดไม่ได้สำเนียงใต้ โดยเฉพาะพลาดพลั้งในการใช้อนุประโยค ที่เป็นแบบ[[ภาษาแต้จิ๋ว|ภาษาหมิ่นใต้]]
 
== อ้างอิง ==