ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ต้านชเว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ผู้นำประเทศ| name = ตาน ฉ่วยชเว<br>သန်းရွှေ၊
| image = Than Shwe 2010-10-11.jpg
| order = ประธาน[[สภาสันติภาพ และการพัฒนาแห่งรัฐ]] ของพม่า
| term_start = [[23 เมษายน]] [[พ.ศ. 2535]]
| term_end = 30 มีนาคม พ.ศ. 2554
| predecessor = [[ซอ หม่องมอง|พลเอกอาวุโส ซอ หม่องมอง]]
| successor = [[ขิ่น ยุ้นต์คีนญุน]]
| birth_date = {{วันเกิดและอายุ|2476|2|2}}
| birth_place = เมืองเจ้าเส [[เขตมัณฑะเลย์]]<br>[[ประเทศพม่า]]
บรรทัด 17:
|}}
 
'''พลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วยชเว''' ({{lang-my|သန်းရွှေ၊}}; {{IPA2|θáN ʃwè}}; เกิดวันที่ [[2 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2476]]) ผู้นำเผด็จการของ[[รัฐบาลทหาร]][[พม่า]] ดำรงตำแหน่งประธาน[[สภาสันติภาพ และการพัฒนาแห่งรัฐ]] (State Peace and Development Council - SPDC) ภายหลังการรัฐประหารล้มอำนาจของ[[ซอ หม่องมอง|พลเอกอาวุโส ซอ หม่องมอง]] อดีตประธานสภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ (State Law and Order Restoration Council - SLORC) เมื่อวันที่ [[23 เมษายน]] [[พ.ศ. 2535]]
 
== ประวัติ ==
พลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วยชเว เกิดที่เมือง[[จ็อกเส]] ซึ่งเป็นหมู่บ้านชนบทของ[[มณฑลมัณฑะเลย์]] พ่อแม่มีอาชีพทำไร่มีฐานะยากจน เมื่ออายุได้ 10 ขวบ พ่อตาย แม่มีสามีใหม่เป็น[[มุสลิม]] แม่จึงเปลี่ยนไปนับถือ[[ศาสนาอิสลาม]] ตาน ฉ่วยชเวเลยกลายเป็นเด็กกำพร้า ต้องหาเลี้ยงตัวเองตั้งแต่เด็ก ประกอบที่มีหน้าตาเหมือนแขก และแม่มีสามีเป็นชาวมุสลิม จึงมักถูกล้อเลียนว่าเป็น "ไอ้ลูกแขก"
 
เมื่อเป็นเด็กตาน ฉ่วยชเวเป็นคนเงียบขรึม ไม่ค่อยยอมเป็นเพื่อนกับใครง่าย ๆ ลักษณะนิสัยโดยทั่วไปเป็นคนพูดน้อย แต่ทว่ารักษาคำพูด และสุขุมรอบคอบมาก
ตาน ฉ่วยชเวเป็นเด็กเรียนหนังสือดี แต่ความไม่พร้อมทำให้ต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน ตาน ฉ่วยชเวจึงเรียนไม่จบชั้นมัธยม 3 หลังจากออกมาหางานทำเพื่อเลี้ยงครอบครัวและตัวเองแล้ว จึงกลับไปเรียนใหม่จนสอบไล่ได้ชั้นมัธยมปลายใน [[พ.ศ. 2494]] เมื่อมีอายุ 18 ปี
 
เมื่อจบการศึกษาระดับมัธยมปลาย ตาน ฉ่วยชเวได้ไปสมัครเป็นเสมียนไปรษณีย์ ที่อำเภอมิตถิลา ทำงานได้ 1 ปี จึงไป[[ย่างกุ้ง]]เพื่อสมัครเป็นทหาร แต่สอบเข้าได้เพียงเป็นนักเรียนนายร้อยสำรอง ใช้เวลาเรียนเพียง 6 เดือน ก็จบหลักสูตรนายร้อยสำรองรุ่น 9 เมื่อวันที่ [[11 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2501]] ได้รับยศ ร้อยตรี
 
ตาน ฉ่วยชเว รับราชการครั้งแรกในตำแหน่งผู้บังคับหมวดปฏิบัติงานสงครามจิตวิทยาสนามที่ 1 โดยมีภารกิจก็คือ ออกปฏิบัติการ[[จิตวิทยา]]กับชนกลุ่มน้อยกลุ่มของประเทศต่าง ๆ ให้ภักดีต่อประเทศพม่า
 
แม้ว่าจะไม่ได้เป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยหลัก แต่ด้วยการทำงานอย่างหนัก และการศึกษาหาความรู้ เพิ่มเติมอยู่เสมอ ภายในเวลา 5 ปี ตาน ฉ่วยชเวได้พัฒนาตนจนได้รับความไว้วางใจจากผู้บังคับบัญชาให้เป็นผู้อำนวยการสถาบันการเมืองและวิทยาศาสตร์ ของกองทัพ
 
การทำงานอย่างหนักและอย่างเป็นระบบ ทำให้บั้นปลายท้ายต่อมาตานฉ่วยได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 1 ของ[[เมืองเชียงตุง]] [[รัฐฉาน]] เป็นผู้บังคับการกรมได้ไม่นานเท่าไหร่ ก็ได้เลื่อนเป็นผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 88 และผู้บัญชาการภาคของทหารบกในภาคตะวันตกเฉียงใต้ และ[[มณฑลอิระวดี]]
 
ภายในเวลาเพียง 32 ปี ตาน ฉ่วยชเวเขยิบสถานะจากเสมียนไปรษณีย์มาเป็น นายทหารยศ พลตรี ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดของกองทัพบก เมื่อปี [[พ.ศ. 2528]]
 
อีก 3 ปีต่อมา ในปี [[พ.ศ. 2531]] ตาน ฉ่วยชเว ก็ได้ควบตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
 
ดร.[[หม่อง หม่อง]] ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีที่สืบทอดอำนาจจาก[[เน วิน|นายพลเน วิน]] ตาน ฉ่วยชเว ตัดสินใจเข้าร่วมกับฝ่ายของพลเอก[[ซอ หม่องมอง]]ยึดอำนาจจากรัฐบาล ดร. หม่อง หม่อง เมื่อการ[[รัฐประหาร]]ยึดอำนาจประสบผลสำเร็จ ตาน ฉ่วยชเว ได้รับสถาปนาเป็น พลเอก ในตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด ควบตำแหน่งรองประธานสภาฟื้นฟูกฎหมายและความสงบเรียบร้อยแห่งรัฐ หรือ สภา SLORC
 
จากนั้นในปี [[พ.ศ. 2535]] ตาน ฉ่วยชเวได้รับตำแหน่งสูงสุดของกองทัพ คือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
 
ต่อมาเมื่อสลอร์คเปลี่ยนนโยบายเศรษฐกิจจากพุทธสังคมนิยมมาเป็นกึ่งเสรีตามแนวทุนนิยม เปลี่ยนชื่อประเทศจากพม่ามาเป็นเมียนมาร์เมียนมา คณะผู้ปกครองทหารพม่าเปลี่ยนชื่อจากสลอร์คมาเป็นสภาแห่งสันติภาพและการพัฒนาประเทศ State of Peace and Development Council หรือ SPDC อย่างเช่นในปัจจุบัน ตาน ฉ่วยชเวได้ขึ้นดำรงตำแหน่งสูงสุดของประเทศในทุกด้าน ตั้งแต่เป็นประธาน SPDC นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหม และผู้บัญชาการทหารสูงสุด<ref>[http://www.thairath.co.th/column/oversea/worldsky/104473 ฉลามต้องอยู่น้ำลึก]จาก[[นิติภูมิ นวรัตน์]]</ref>
 
ชีวิตส่วนตัว ตานชเว ฉ่วย[[สมรส]]กับนางจาย จ่าย และนางนอง สิฮาชเว ในเดือน[[กรกฎาคม]] ปี [[พ.ศ. 2547]] เมื่อตาน ตาร์ฉ่วย ลูกสาวของตาน ฉ่วยชเว ที่เกิดกับนางจาย จ่าย จัดพิธีสมรสกับนายพันตรีใน[[กองทัพบกพม่า]] ได้ปรากฏคลิปงานสมรสครั้งนี้กระจายไปทั่ว[[อินเทอร์เน็ต]] และกลายเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ไปทั่ว โดยเฉพาะในหมู่[[ชาวพม่า]] โดยเฉพาะกลุ่มนักศึกษาและปัญญาชน เพราะสะท้อนถึงความฟุ้งเฟ้อเห่อเหิมของผู้ปกครองประเทศที่ปกครองด้วยระบอบ[[เผด็จการทหาร]]<ref>[http://board.palungjit.com/f11/คลิปงานแต่งสุดอลังการลูกสาวตานฉ่วยร่อนทั่ว-56891.html คลิปงานแต่งสุดอลังการลูกสาวตานฉ่วยร่อนทั่ว !!]</ref>
 
== อ้างอิง ==