ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สำเพ็ง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 6:
สำเพ็งเริ่มต้นจากที่[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] องค์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ผู้ทรงสถาปนาสร้าง[[กรุงรัตนโกสินทร์]]ขึ้นที่ฝั่งขวาของ[[แม่น้ำเจ้าพระยา]] ให้เป็นราชธานีแห่งใหม่แทนที่[[กรุงธนบุรี]] ในปี พ.ศ 2325 โดยมี[[พระบรมมหาราชวัง]]ตั้งขึ้นในพื้นที่ ๆ แต่เดิมเป็นที่ตั้งของชุมชนชาวจีน และโปรดให้ย้ายชุมชนชาวจีนออกไปตั้งถิ่นฐานใหม่นอกประตูพระนครทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ขนานไปกับลำน้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่คลองวัดสามปลื้ม ([[วัดจักรวรรดิราชาวาส]]) ไปจนถึงคลองสามเพ็ง หรือสำเพ็ง<ref name=สามเพ็ง/>
 
ที่มาของชื่อ "สำเพ็ง" นั้นไม่มีใครทราบว่ามีความหมายว่ากระไร หรือมาจากคำว่าอะไร ได้มีผู้สันนิษฐานไปต่าง ๆ นานา บ้างก็ว่ามาจากคำว่า "[[ทางแยก|สามแพร่ง]]" หรือมา[[ภาษาแต้จิ๋ว|คำจีนแต้จิ๋ว]]ว่า "สามเผง" ([[อักษรจีน]]: 三聘; ''[[จีนกลาง]]ออกเสียง ซั้นผิ่ง'') แปลตรงตัวได้ว่า "ศานติทั้งสาม" ซึ่งก็ไม่มีใครทราบความหมายหรือคำแปลที่แท้จริง หรือบ้างก็ว่ามาจากคำว่า "สามปลื้ม" ก็มี
 
ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] กิจการค้าของชาวจีนที่ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในย่านสำเพ็งเติบโตขึ้นเป็นลำดับ ชาวตะวันตกที่เข้ามาติดต่อการค้ากับสยามประเทศ เรียกขานย่านสำเพ็งว่า "ตลาดจีน" หรือ "Chinese Bazaar" ในบันทึกของ[[มิชชันนารี]]ที่ได้เข้ามาเยี่ยมดูย่านสำเพ็งในปี พ.ศ. 2378 ระบุความไว้ตอนหนึ่งว่า
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/สำเพ็ง"