ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระปีย์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 11:
ทั้งนี้พระปีย์มักตกเป็นหุ่นเชิดทางการเมืองอยู่บ่อยครั้ง<ref name="หม่อมปีย์"/> โดยเขาได้รับการสนับสนุนจาก[[เจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน)]] ให้เป็นรัชทายาทสืบราชสันตติวงศ์ ด้วยเขามองว่าพระปีย์ไม่มีพิษภัย มีใจโอนอ่อนทาง[[คริสต์ศาสนา]] ด้วยเหตุนี้เจ้าพระยาวิชเยนทร์จึงหวังผลที่จะให้พระปีย์เป็นกษัตริย์เพื่อรักษาอำนาจและอิทธิพลของตน<ref>ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย และปรามินทร์ เครือทอง. ''การเมืองในประวัติศาสตร์ "ขนมหวาน" ของท้าวทองกีบม้า "มาดามฟอลคอน" "ขนมไทย" หรือ "ขนมเทศ"''. กรุงเทพฯ : มติชน, 2546, หน้า 21</ref> และหวังใจให้เป็นกษัตริย์สยามพระองค์แรกที่นับถือคริสต์ศาสนา<ref>{{cite web |url= http://www.all-magazine.com/ColumnDetail/allColumDetail/tabid/106/articleType/ArticleView/articleId/3950/--.aspx |title= เรื่องเก่าเล่าสนุก : นาทีสวรรคต สมเด็จพระนารายณ์มหาราช |author= โรม บุนนาค |date= กันยายน 2557 |work= All Magazine |publisher=|accessdate= 3 ตุลาคม 2558}}</ref> นอกจากนี้พระปีย์ยังมีส่วนร่วมในการก่อกบฏเมื่อครา[[กบฏมักกะสัน]]ซึ่งเป็นชาว[[มุสลิม]]<ref>สปอร์แดช มอร์แกน (เขียน) กรรณิกา จรรย์แสง (แปล). ''เงาสยาม ยามผลัดแผ่นดินพระนารายณ์''. กรุงเทพฯ : มติชน, 2554, หน้า 157</ref> นีกอลา แฌร์แวสเป็นผู้เดียวที่ระบุว่า แขกมักกะสันจะลอบปลงพระชนม์สมเด็จพระนารายณ์แล้วเลือกพวกเดียวกันขึ้นครองบัลลังก์ "หรือมิเช่นนั้นถ้าชาวสยามยังไม่คุ้นชินกับเจ้าต่างชาติ ก็จะยกบัลลังก์ให้พระราชโอรสบุญธรรมของพระองค์ ซึ่งเห็นได้ชัดว่าถูกซื้อได้ไม่ยาก โดยทรงยอมเข้าพิธี[[สุหนัต]]..."<ref name="หม่อมปีย์"/>
 
ปลายรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระปีย์ได้อยู่รับใช้สนองพระยุคลบาทพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระประชวรหนัก พระปีย์รู้ตัวว่ามีผู้ประสงค์ร้าย จึงอยู่แต่ในห้องบรรทมของพระเจ้าแผ่นดิน<ref>นายพลเดฟาร์จ (เขียน), ปรีดี พิศภูมิวิถี (แปล). ''ชิงบัลลังก์พระนารายณ์.'' พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มติชน, 2561, หน้า 49</ref> จะออกมาข้างนอกก็เฉพาะกิจที่เกี่ยวข้องกับพระอาการประชวรเท่านั้น<ref>นายพลเดฟาร์จ (เขียน), ปรีดี พิศภูมิวิถี (แปล). ''ชิงบัลลังก์พระนารายณ์.'' พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มติชน, 2561, หน้า 18</ref> ขณะที่พระปีย์กำลังล้างหน้าริมหน้าต่างยามเช้า ก็ถูกขุนพิพิธรักษา สมุนของหลวงสรศักดิ์ผลักจนพลัดตกลงจากหน้าต่าง<ref>ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย และปรามินทร์ เครือทอง. ''การเมืองในประวัติศาสตร์ "ขนมหวาน" ของท้าวทองกีบม้า "มาดามฟอลคอน" "ขนมไทย" หรือ "ขนมเทศ"''. กรุงเทพฯ : มติชน, 2546, หน้า 42</ref> ก่อนถูก[[สมเด็จพระเพทราชา|พระเพทราชา]]จับไปสำเร็จโทษเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2231 และทิ้งศพไว้ที่[[วัดซาก]] ส่วนสาเหตุที่กำจัดพระปีย์ก็เพราะพระปีย์เป็นผู้หนึ่งที่มีสิทธิในการสืบราชบัลลังก์<ref>เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์. (14 ธันวาคม พ.ศ. 2555). "แช่แข็งสยาม ยามแผ่นดินอาเพศ ยุคพระเพทราชา". ''มติชนสุดสัปดาห์''. 33:1687, หน้า 76</ref><ref>{{cite web |url= http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1373427780 |title= เล่าเรื่อง พระเพทราชา ตกกระไดพลอยโจน |author= ส.สีมา |date= 10 กรกฎาคม 2556 |work= มติชนออนไลน์ |publisher=|accessdate= 3 ตุลาคม 2558}}</ref> มีขุนนางสองคนถูกบังคับให้สารภาพว่าเข้าฝ่ายพระปีย์ กล่าวหาว่าเจ้าพระยาวิชเยนทร์ยักยอกทรัพย์และนำเงินในท้องพระคลังออกนอกพระราชอาณาจักร ส่งผลให้เจ้าพระยาวิชเยนทร์ถูกประหารชีวิตด้วยการตัดเป็นท่อน ๆ<ref>นายพลเดฟาร์จ (เขียน), ปรีดี พิศภูมิวิถี (แปล). ''ชิงบัลลังก์พระนารายณ์.'' พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มติชน, 2561, หน้า 19</ref>
 
== กรณีหลุมฝังศพ ==