ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คำให้การชาวกรุงเก่า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{เพิ่มอ้างอิง}}
'''คำให้การชาวกรุงเก่า''' เป็น[[หนังสือ]][[พงศาวดาร]]บอกเล่าเรื่องราวใน[[ประวัติศาสตร์ไทย]]โดยเฉพาะช่วง[[อาณาจักรอยุธยา]] ตั้งแต่ก่อตั้งอาณาจักร จนกระทั่งเสียแก่[[ราชวงศ์คองบอง|พม่า]]ในปี [[พ.ศ. 2310]] นับเป็นบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอีกเล่มหนึ่งของไทย
 
== ที่มา ==
คำให้การชาวกรุงเก่า [[หอสมุดวชิรญาณ|หอพระสมุดวชิรญาณ]]ได้ต้นฉบับมาจาก[[ประเทศพม่า]] เมื่อปี [[พ.ศ. 2454]] ซึ่งเป็นช่วงที่พม่าตกเป็นเมืองขึ้นของ[[จักรวรรดิอังกฤษ]] โดยเชื่อว่าต้นฉบับดั้งเดิมเป็นคำให้การเป็น[[ภาษามอญ]]และได้แปลเป็น[[ภาษาพม่า]]อีกทอดหนึ่งจากบรรดาเชลยศึกชาวอยุธยาที่ถูกกวาดต้อนไปยังพระนคร[[อังวะ]]ภายหลัง[[การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง|เสียกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2310]] แล้วแปลเป็น[[ภาษาไทย]]เสร็จในปี [[พ.ศ. 2455]] พิมพ์โดยโรงพิมพ์หมอสมิธ (แซมมวล เจ.สมิธ)
.สมิธ)
 
ซึ่งคำให้การชาวกรุงเก่านี้ มีความละม้ายคล้ายคลึงกับพงศาวดารอีกฉบับหนึ่งที่เป็นภาษามอญอีกเช่นกัน ที่มีชื่อว่า "[[คำให้การขุนหลวงหาวัด]]" ซึ่งเชื่อว่าเป็นคำให้การของ[[สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร]] หรือ "ขุนหลวงหาวัด" (ถูกแปลเป็นภาษาไทย โดย [[กรมหลวงวงศาธิราชสนิท]]) ที่ถูกกวาดต้อนไปยังพระนครอังวะ ภายหลังเสียกรุงศรีอยุธยา และเมื่อพิมพ์แล้วเสร็จ [[สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ]] ได้ทรงวิจารณ์และทรงให้ชื่อหนังสือว่า คำให้การชาวกรุงเก่า แทนที่จะเป็น คำให้การขุนหลวงหาวัด เนื่องจากทรงเห็นว่า เป็นคำให้การของบุคคลหลายคน มิใช่แต่เพียงคน ๆ เดียว
 
ในปัจจุบัน คำให้การชาวกรุงเก่า ได้ถูกตีพิมพ์อีกครั้งเมื่อกลางปี [[พ.ศ. 2544]] โดยสำนักพิมพ์จดหมายเหตุ ราคาจำหน่ายเล่มละ 270 [[บาท]] และได้ตีพิมพ์ใหม่หลังจากนั้นอีกซ้ำหลายครั้ง
 
== เนื้อหา ==
บรรทัด 33:
== อ้างอิง ==
* หนังสือ คำให้การชาวกรุงเก่า โดย สำนักพิมพ์จดหมายเหตุ (พ.ศ. 2544) ISBN 974-87895-7-8
 
 
{{กรุงศรีอยุธยา}}