ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระปีย์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 14:
 
== กรณีหลุมฝังศพ ==
อนึ่งในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557 กรมศิลปากรได้ทำการขุดสำรวจบริเวณที่ดินเอกชนผืนหนึ่งตรงข้าม[[วัดสันเปาโล]] และพบโครงกระดูกมนุษย์สองโครงห่างกัน 5 เมตร โดยโครงกระดูกโครงแรกมีรูปพรรณเตี้ย สูงเพียง 140 เซนติเมตร สวมแหวนหินที่นิ้วมือ กระดูกหน้าแข้งหัก และไม่มีศีรษะ จารึก วิไลแก้ว ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 4 ลพบุรี จึงสันนิษฐานว่าอาจจะเป็นโครงกระดูกของพระปีย์ ส่วนอีกโครงหนึ่งมีรูปกายสูงใหญ่ สันนิษฐานว่าอาจเป็น[[เจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน)]] และสันนิษฐานว่าอาจมีผู้นำศพของทั้งสองมาฝังตามธรรมเนียมคริสต์ศาสนา ณ บริเวณดังกล่าว<ref>{{cite web |url= http://www.thairath.co.th/content/455419 |title= ขุดพบกระดูกมนุษย์สมัยพระนารายณ์ คาด 'พระปีย์-เจ้าพระยาวิชาเยนทร์' |author=|date= 8 ตุลาคม 2557 |work= ไทยรัฐออนไลน์ |publisher=|accessdate= 27 กันยายน 2558}}</ref> ต่อมาวันที่ 1 เมษายน 2561 เจตน์กมล วงศ์ท้าว นักโบราณคดีชำนาญการประจำสำนักศิลปากรที่ 4 ลพบุรี ได้อธิบายว่าโครงกระดูกที่พบไม่ใช่ทั้งพระปีย์และเจ้าพระยาวิชเยนทร์ แต่เป็นโครงกระดูกมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ส่วนหัวกะโหลกที่หายไปนั้นเข้าใจว่าน่าจะเกิดขึ้นจากการรบกวนชั้นดินเมื่อครั้งสร้างโบสถ์[[วัดสันเปาโล]]เพราะบริเวณดังกล่าวถูกทับด้วยโครงสร้างโบสถ์<ref>{{cite web |url= https://www.matichon.co.th/news/900097 |title= ฟันธงแล้ว! โครงกระดูกไร้หัวที่ลพบุรี ไม่ใช่พระปีย์-ฟอลคอน ที่แท้ ‘มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์’ นักโบราณฯเชื่อหัวขาดตอนขุดดินสร้างวัด |author=|date= 1 เมษายน 2561 |work= มติชนออนไลน์ |publisher=|accessdate= 2 เมษายน 2561}}</ref>
 
== อ้างอิง ==