ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เกรย์ (หน่วยวัด)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Char au (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{กล่องข้อมูล หน่วยวัด | bgcolour = | name = Gray | image = | caption = | standard = SI derived unit | quantity = Absorbed do...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 06:24, 6 เมษายน 2561

เกรย์ (อังกฤษ: gray, สัญลักษณ์: Gy) เป็นหน่วยอนุพันธ์เอสไอสำหรับใช้วัดปริมาณการแผ่รังสีไอออไนซ์ (ionising radiation) และปริมาณการดูดซับพลังงานจากโฟตอนโดยอิเล็กตรอน หนึ่งเกรย์มีค่าเท่ากับปริมาณพลังงานหนึ่งจูลที่ถูกดูดซับในสสารมวลหนึ่งกิโลกรัม[1] ตั้งชื่อตาม หลุยส์ ฮาโรลด์ เกรย์ นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ และเริ่มใช้เมื่อ พ.ศ. 2518[2]

Gray
ระบบการวัดSI derived unit
เป็นหน่วยของAbsorbed dose of ionizing radiation
สัญลักษณ์Gy 
ตั้งชื่อตามหลุยส์ ฮาโรลด์ เกรย์
การแปลงหน่วย
1 Gy ใน ...... มีค่าเท่ากับ ...
   SI base units   m2s−2
   CGS units (non-SI)   100 rad

ในระบบซีจีเอส ปริมาณการดูดซับพลังงานวัดในหน่วยแร็ด (rad) โดยที่ 1 rad มีค่าเท่ากับ 0.01 Gy หน่วยแร็ดนิยมใช้มากในสหรัฐอเมริกาแม้ว่าสถาบันแห่งชาติว่าด้วยมาตรฐานและเทคโนโลยี (NIST) จะขอร้องให้เลิกใช้เด็ดขาดก็ตาม[3]

นิยาม

การดูดซับพลังงานจากกัมมันตภาพ หนึ่งเกรย์ มีค่าเท่ากับพลังงานหนึ่งจูล ที่ถูกดูดซับไว้ในสสารมวลหนึ่งกิโลกรัม เขียนเป็นหน่วยฐานได้ดังนี้

 

คณะกรรมการระหว่างชาติว่าด้วยการชั่งตวงวัด ระบุไว้ว่า เพื่อให้การจำแนกระหว่างปริมาณรังสีดูดซับ D และปริมาณรังสีสมมูล H เป็นไปได้สะดวกปราศจากความสับสนนั้น สมควรให้มีชื่อหน่วยที่เหมาะสม คือ เกรย์ แทนปริมาณพลังงานที่ถูกดูดซับจริง และซีเวอร์ต แทนพลังงานที่ถูกดูดซับเทียบเท่า ทั้งสองหน่วยเขียนได้เป็นจูลต่อกิโลกรัม[4]

ปริมาณอันเกี่ยวเนื่องกับการแผ่รังสี

 
Graphic showing relationships between radioactivity and detected ionizing radiation

ตารางต่อไปนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการแผ่รังสี ทั้งที่เป็นหน่วยเอสไอและไม่เป็น

แม่แบบ:ปริมาณเกี่ยวเนื่องการแผ่รังสี

อ้างอิง

  1. "The International System of Units (SI)" (PDF). Bureau International des Poids et Mesures (BIPM). สืบค้นเมื่อ 2010-01-31.
  2. "Rays instead of scalpels". LH Gray Memorial Trust. 2002. สืบค้นเมื่อ 2012-05-15.
  3. "NIST Guide to SI Units – Units temporarily accepted for use with the SI". National Institute of Standards and Technology.
  4. "CIPM, 2002: Recommendation 2". BIPM.