ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กำแพงเมืองเชียงใหม่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 20:
* '''ประตูช้างเผือก''' เดิมมีชื่อว่า ''ประตูหัวเวียง'' เป็นประตูชั้นในด้านทิศเหนือ สมัยก่อนเป็นประตูเอกของเมือง ในพระราชพิธีบรมราชาพิเษก กษัตริย์จะเสด็จเข้าเมืองยังประตูนี้ ประตูนี้เปลี่ยนชื่อในรัชสมัยของ[[พระเจ้ากาวิละ|พระเจ้ากาวิละ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 1]] เนื่องจากได้โปรดให้สร้างอนุสาวรีย์รูปช้างเผือกขึ้น
* '''ประตูเชียงใหม่''' เดิมมีชื่อว่า ''ประตูท้ายเวียง'' เป็นประตูชั้นในด้านทิศใต้
* '''[[ประตูท่าแพ]]''' เดิมมีชื่อว่า ''ประตูเชียงเรือก'' เป็นประตูชั้นในด้านทิศตะวันออก ที่มาของชื่อเนื่องจากประตูด้านนี้ มีบ้านเชียงเรือกตั้งอยู่บริเวณนอกกำแพงเมือง เดิมบ้านเชียงเรือกเป็นชุมชนค้าขายเพราะเป็นที่ตั้งของตลาดเชียงเรือก ตลาดเก่าแก่แห่งหนึ่งของเชียงใหม่ คาดว่ามีประชากรหนาแน่น ซึ่งมีหลักฐานกล่าวถึงสมัยพญาแก้วเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมเชียงเรือกมีคนจมน้ำตายเป็นจำนวนมาก ในสมัยพระเจ้าอินทวิชายานนท์ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 7 (พ.ศ.2416 – 2440) ชื่อประตูเชียงเรือก เปลี่ยนมาเป็นประตูท่าแพชั้นในเพื่อให้คู่กับประตูท่าแพชั้นนอก เป็นประตูที่จะไปยังท่าน้ำของ[[แม่น้ำปิง]] ซึ่งมีแพจำนวนมากอยู่
* '''ประตูสวนดอก''' เป็นประตูชั้นในด้านทิศตะวันตก ที่มาของชื่อเนื่องจากบริเวณนั้นเป็นเป็นที่ตั้งของพระราชอุทยานของ[[พญามังราย]]
* '''ประตูแสนปุง''' หรือ '''ประตูสวนปรุง''' เป็นประตูที่เจาะกำแพงชั้นในด้านใต้สร้างขึ้นใหม่ในรัชสมัย [[พญาสามฝั่งแกน]] เนื่องจากในรัชสมัยของพระองค์ได้สร้าง[[วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร|เจดีย์ราชกุฏคาร]]ขึ้น ดังนั้น เพื่อความสะดวกแก่พระราชชนนีที่โปรดประทับอยู่ที่ตำหนักนอกกำแพงเมืองด้านทิศใต้จะได้ทรงสะดวกในการเสด็จมาสักการะพระ[[เจดีย์]] จึงโปรดให้เจาะกำแพงเมืองด้านนั้น และตั้งชื่อว่า ''ประตูสวนแร'' ส่วนชื่อ แสนปุง เพราะเป็นทางออกไปสู่บริเวณที่มีเตาปุง (เตาไฟ) มากมาย เพราะด้านนอกประตูเป็นที่อยู่ของกลุ่มช่างหลอมโลหะจึงมีเตาปุงไว้หลอมโลหะจำนวนมากเปรียบนับแสน ปัจจุบันยังมีบ้านช่างหล่อพระพุทธรูปอาศัยอยู่ และถนนเลียบคูเมืองด้านนี้ชื่อถนนช่างหล่อจากความเชื่อเรื่องทิศและพื้นที่ถือเป็นเขตกาลกิณีจึงกำหนดให้ประตูแสนปุงเป็นทางออกไปสุสาน เชียงใหม่มีประเพณีที่ว่าหากมีการเสียชีวิตภายในเขตกำแพงเมืองเชียงใหม่ จะต้องนำศพออกจากตัวเมืองผ่านทางประตูนี้เท่านั้น ซึ่งก็ยังยึดถือประเพณีนี้อยู่จนถึงปัจจุบัน
บรรทัด 26:
=== ประตูเมืองชั้นนอก ===
เป็นประตูของกำแพงเมืองชั้นนอก มีทั้งหมด4 ประตู ได้แก่
* '''ประตูท่าแพ''' อยู่ด้านทิศตะวันออกของเมืองบริเวณหน้าวัดแสนฝาง ที่ชื่อท่าแพ เพราะเป็นทางออกสู่ท่าน้ำแม่ปิง ในสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เรียกชื่อประตูนี้ว่า ประตูท่าแพชั้นนอก เพราะความเจริญเติบโตของเมืองชื่อของประตูท่าแพชั้นนอกจึงค่อย ๆ หายไป ประตูท่าแพจึงเหลือเพียงประตูเดียว
* ประตูเชียงเรือก (เชียงเลือก) หรือประตูท่าแพ (ชั้นนอก) อยู่ทางทิศตะวันออก
* ประตูหล่ายแกง อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ พบหลักฐานในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวถึง ประตูนี้ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2313 เมื่อกองทัพธนบุรียกมาล้อมเมืองเชียงใหม่ ที่ชื่อหล่ายแคง เพราะบริเวณริมคูเมืองมีลักษณะลาดเท ในสมัยต่อมาจึงเรียกเพี้ยนมาเป็น ประตูระแกง
* ประตูหล่ายแกง
* ประตูขัวก้อม อยู่ทางทิศใต้ ปรากฏในหลักฐานโคลงมังทรารบเชียงใหม่ว่าสร้างขึ้นอย่างน้อยในปี พ.ศ.2158
* ประตูขัวก้อม
* ประตูไหยา (ประตูหายยา) อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ในตำนานสิห้าราชวงศ์ กล่าวถึงประตูไหยาเป็นครั้งแรกว่า " อยูบ่นานเท่าใด เทพสิงห์ยอเสิก็ (ศึก)เข้ามาคุมเวียง ลวดได้ ประตูไหยา"
* ประตูไร่ยา (ประตูหายยา)
 
== แจ่งเมืองเชียงใหม่ ==
กำแพงเมืองเชียงใหม่มีแจ่ง (''มุม'') 4 แจ่ง ซึ่งถือเป็น[[ป้อมปราการ]]ของเมืองในอดีต ได้แก่
* '''แจ่งศรีภูมิ''' เดิมชื่อ ''แจ่งสะหลีภูมิ'' เป็นแจ่งทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือที่มาของชื่อหมายถึง ศรีแห่งเมือง ถือเป็นจุดแรกเริ่มของการสร้างเมืองเชียงใหม่ เชื่อมต่อถนนอัษฏาธร ออกไปยังตลาดคำเที่ยง และถนนวิชยานนท์ ออกไปยังตลาดเมืองใหม่, เจดีย์ขาว
* '''แจ่งก๊ะต้ำ''' หรือ '''แจ่งขะต๊ำ''' เป็นแจ่งทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ที่มาของชื่อหมายถึง กับดัก เป็นเครื่องจับปลาชนิดหนึ่ง เพราะมุมด้านนี้อยู่ต่ำสุดมีปลาชุกชุม จึงมีผู้คนมาดักปลาโดยใช้ ขะต๊ำเชื่อมต่อถนนศรีดอนชัย ออกไปยังไนท์บาร์ซ่า, ขัว(สะพาน)เหล็ก, ถนนช้างคลาน
* '''แจ่งกู่เฮือง''' เป็นแจ่งทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ที่มาของชื่อเนื่องจากเป็นที่เก็บ[[อัฐิ]]ของ ''อ้ายเฮือง'' ที่ได้เป็นผู้คุมของ[[พญาคำฟู]] ซึ่งได้ถูกนำมาคุมขังที่นี่ภายหลังถูกจับกุม เนื่องจากก่อนหน้าได้ชิงบัลลังก์เวียงเชียงใหม่จาก[[พญาแสนภู]] ผู้เป็นหลานน้า ต่อมาพญาคำฟูถูกปราบโดย[[พญาไชยสงคราม]] ผู้เป็นเชษฐาซึ่งครองเวียงอยู่เชียงราย เชื่อมต่อถนนมหิดล ออกไปยังสนามบินนานาชาติเชียงใหม่, เซ็นทรัลแอร์พอร์ต
* '''แจ่งหัวลิน''' เป็นแจ่งด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ที่มาของชื่อเนื่องจากเป็นจุดรับน้ำจากห้วยแก้ว(ดอยสุเทพ) ผ่านราง(ลิน) ถือว่าเป็นภูมิปัญญาของระบบน้ำประปาแบบโบราณ เชื่อมต่อถนนสุเทพ ออกไปยังดอยสุเทพ, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สวนสัตว์เชียงใหม่
* '''แจ่งหัวลิน''' เป็นแจ่งด้านตะวันตกเฉียงเหนือ
 
<gallery>
บรรทัด 51:
 
== ดูเพิ่ม ==
* [[ทักษาเวียงเชียงใหม่]]
 
== อ้างอิง ==