ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คลองบางกอกใหญ่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
[[ไฟล์:Wat Intharam (Wat Bang Yi Ruea Nok) - Khlong Bangkok Yai (2).JPG|thumb|right|คลองบางกอกใหญ่ช่วงที่ผ่าน[[วัดอินทารามวรวิหาร]] (วัดบางยี่เรือนอก)]]
[[ไฟล์:Map RV Chaophraya shortcut.gif|thumb|right|การขุดคลองลัด[[แม่น้ำเจ้าพระยา]]ในช่วงที่ ๑ ซึ่งทำให้แม่น้ำสายเดิมกลายเป็นคลองบางกอกใหญ่ในปัจจุบัน]]
'''คลองบางกอกใหญ่''' หรือชื่อในอดีตว่า '''คลองบางหลวง''' เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของ[[แม่น้ำเจ้าพระยา]]มาก่อน กล่าวคือบริเวณตั้งแต่ปาก[[คลองบางกอกน้อย]] ตรงข้าม[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]]ไปจนถึงปากคลองบางกอกใหญ่ในปัจจุบันนั้น ยังเป็นแผ่นดินอยู่ [[แม่น้ำเจ้าพระยา]]เดิมจะอ้อมเลี้ยวจากหน้า[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] เป็นคุ้งกว้างมาทะลุออกข้าง[[วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร|วัดท้ายตลาด]] ต่อมาในรัชสมัย[[สมเด็จพระไชยราชาธิราช]] (พ.ศ. 2077 - 2089) โปรดเกล้าให้ขุดคลองลัดระหว่างคุ้งแม่น้ำทั้งสอง<ref>[http://www.wangdermpalace.org/thonburi/index_thai.html "สาระน่ารู้กรุงธนบุรี"] มูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม กองบัญชาการกองทัพเรือ</ref> เพื่อย่นระยะทางและอำนวยความสะดวกให้กับบรรดาพ่อค้าทูตานุทูตชาวตะวันตกที่เริ่มเข้ามาติดต่อค้าขายและเจริญสัมพันธไมตรีกับอาณาจักรเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในสมัยนั้น ต่อมาคลองลัดเริ่มกว้างใหญ่ขึ้นกลายเป็น[[แม่น้ำ]] ส่วน[[แม่น้ำเจ้าพระยา]]เดิมก็เล็กลงกลายเป็น[[คลองบางกอกน้อย]]และคลองบางกอกใหญ่ ถึงสมัย[[สมเด็จพระเจ้าตากสิน]] ราชสำนักย้ายมาอยู่ที่[[กรุงธนบุรี]] คลองบางกอกใหญ่กลายมาเป็นชุมชนของข้าหลวง และโปรดเกล้าให้บรรดา[[ชาวจีนโพ้นทะเล|ชาวจีน]]ซึ่งได้เคยช่วยเหลือพระองค์มาตั้งบ้านเรือนอยู่ริมคลองบางกอกใหญ่ ผู้คนจึงนิยมเรียกกันติดปากว่า "คลองบางข้าหลวง" หรือ "คลองบางหลวง" สืบมาถึงในปัจจุบัน<ref>[http://www.environnet.in.th/kids/index.php?option=com_content&view=article&id=70&Itemid=15 "กทม. เตรียมดัน คลองบางหลวง เขตธนบุรี เป็นสถานที่[[ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์]]"]ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 2 พฤษภาคม 2554</ref>
[[รัฐบาล]][[จอมพลถนอม กิตติขจร]] กำหนดให้คลองบางกอกใหญ่เป็นคลองสำคัญซึ่งจะต้องอนุรักษ์ไว้ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ [[13 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2510]]
ปากคลองบางกอกใหญ่แยกจาก[[แม่น้ำเจ้าพระยา]]ทางฝั่งขวาของ[[ป้อมวิไชยประสิทธิ์]] ไปสิ้นสุดที่[[คลองมอญ]] ตรงข้ามปาก[[คลองชักพระ]]