ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอนาหมื่น"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 49:
|-
| <Center>
<center> ๒๑๑๗ เมษายน / บ้านหลักหมื่น [[ตำบลบ่อแก้ว]] [[อำเภอนาหมื่น]]</center>
|-
| colspan="3" style="text-align: left;" | ในอดีตได้มีผู้คนนำเอาเสาหลักแดนเมืองมาปักฝังไว้ เมื่อวันเดือนปีใดไม่ทราบ เป็นหลักที่หนึ่งหมื่นที่หมู่บ้านนี้พอดี แต่ไม่รู้ว่าเป็นการวัดโดยลักษณะใดและวัดมาจากไหน ลักษณะของเสาหลักหมื่นดังกล่าวนั้น เป็นเสาไม้เนื้อแข็งสี่เหลี่ยมขนาด ๑๐ ´ ๑๐ นิ้ว ยาว ๓ เมตร รอบฐานมีเสาไม้ขนาด ๕ ´ ๕ นิ้ว ยาวเมตรครึ่งฝังรอบ อีกสี่ด้าน บริเวณเสากลางมีปรากฏร่องรอยการจารึกอักษรขอมเมืองไว้ด้วย แต่อยู่ในสภาพเลือนลาง อ่านจับใจความไม่ได้ อีกทั้งยังมีร่องรอยการถูกฟักฟันด้วยของมีคมเต็มไปหมด ด้วยเหตุที่หมู่บ้านนี้มีเสาหลักหมื่นตั้งอยู่ ชาวบ้านจึงเรียกว่า '''บ้านหลักหมื่น''' สำหรับเสาแดนเมืองหลักหมื่นเวลาได้ผ่านเลยมาเป็นเวลานานเสาหลักได้ล้มลง ต่อมาบรรดาประชาชนชาวอำเภอนาหมื่น นำโดยนายดิเรก ถึงฝั่ง หัวหน้ากิ่งอำเภอนาหมื่นในขณะนั้น ได้นำเอาเสาแดนเมืองเก่ามาฝังใว้ตรงที่ทำการกิ่งอำเภอนาหมื่นแล้วสร้างเป็นศาลหลักเมืองขึ้นมา เรียกว่าศาลหลักเมืองนาหมื่น ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนชาวอำเอนาหมื่นมาจนถึงปัจจุบัน
บรรทัด 88:
|-
| <Center>
<center> ๑๖ เมษายน / วัดนาทะนุง [[ตำบลนาทะนุง]] [[อำเภอนาหมื่น]]</center>
|-
| colspan="3" style="text-align: left;" |
'''การสืบชะตาข้าว''' ในสมัยโบราณเมื่อรู้สึกว่าคนในครอบครัวกิน ข้าวเปลือง ข้าวเปลือก ในยุ้งพร่องลงไปมากผิดปกติ เจ้าของข้าวเกิดความกลัวว่าข้าวจะไม่พอกินจนถึงฤดูการเก็บเกี่ยวในปีต่อไป จึงจัดพิธีสืบชะตาข้าวขึ้น พิธีนี้เป็นพิธีมงคลที่สำคัญประการหนึ่ง จึงต้องหาวันที่เป็นมงคลก่อน เชื่อว่าถ้าทำพิธีในวันที่ไม่เป็นมงคล ขวัญข้าวจะไม่มารับเครื่องสังเวย อนึ่งการสืบชะตาข้าวเป็นพิธีกรรมในการเรียกขวัญข้าวหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อเป็นการขอขมาและขอบคุณแม่โพสพหรือเทพีแห่งข้าว และยังเป็นพิธีที่เชื่อกันว่าจะทำให้ข้าวไม่หายและหมดไปจากยุ้งฉางเร็วอีกด้วย
<br>'''การสืบชะตาหลวง''' หมายถึงการ สืบชะตาบ้าน และสืบชะตาคนพร้อมกันของ โดยทางคณะศรัทธาวัดนาทะนุง โดยทุกคนจะร่วมกันจัดเตรียมเครื่องใช้ในการประกอบพิธี การประกอบพิธีกรรมสืบชะตาจะเป็นพิธีทางสงฆ์ จะมีการสวดเจริญพุทธมนต์ก่อน และตามด้วยบทสวดสืบชะตา โดยจะทำพร้อมกับการสืบชะตาข้าว เป็นประเพณีที่จัดขึ้นทุกปีในเดือนสี่เป็ง โดยเริ่มพิธีนับแต่วันขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือนสี่เหนือ (เดือน ๒ ของทางภาคกลาง) โดยจะเสร็จสิ้นในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือนสี่เหนือ หรือในท้องถิ่นเรียกสี่เป็ง(วันเพ็ญเดือน ๒ ของทางภาคกลาง) การทำพิธีสืบชะตาเป็นการสืบทอดองค์ความรู้มาจากบรรพบุรุษ โดยผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านได้มีการถือปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่ บรรพบุรุษ ได้ยึดเอาวันที่ ๑๖ เมษายน ของทุกปี ซึ่งในระยะเวลาดังกล่าวอยู่ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ทุกคนว่างจากการทำงาน มีโอกาสได้ทำในสิ่งที่เป็นสิริมงคลให้กับตัวเองในรอบหนึ่งปี <ref>http://www.muanglee.com/tradition</ref>
|}