ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรคพิษสุรา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 1:
'''โรคพิษสุรา''' ({{lang-en|alcoholism}}) เป็นคำกว้าง ๆ หมายถึงการดื่ม[[เอทานอล|แอลกอฮอล์]]แล้วส่งผลต่อปัญหาสุขภาพกายหรือจิต เดิมโรคนี้แบ่งเป็นสองชนิด คือ การดื่มแอลกอฮอล์ในทางที่ผิด (alcohol abuse) และการติดแอลกอฮอล์ (alcohol dependence) ในบริบทการแพทย์ ถือว่าโรคพิษสุรามีเกณฑ์เหล่านี้ตั้งแต่สองข้อขึ้นไป ได้แก่ บุคคลดื่มสุราปริมาณมากเป็นเวลานาน ลดปริมาณการดื่มได้ยาก ใช้เวลานานมากกับการหาและดื่มแอลกอฮอล์ มีความต้องการดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก การดื่มทำให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบได้ การดื่มทำให้เกิดปัญหาสังคม การดื่มทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ การดื่มทำให้เกิดสถานการณ์เสี่ยง มี[[โรคสั่นเพ้อเหตุขาดสุรา|อาการถอน]]เมื่อหยุดดื่ม และเกิดความชินแอลกอฮอล์หลังดื่ม สถานการณ์เสี่ยงได้แก่ การดื่มและการขับยานพานหะ หรือมี[[การร่วมเพศอย่างปลอดภัย|การร่วมประเวณีที่ไม่ปลอดภัย]] เป็นต้น การดื่มแอลกอฮอล์มีผลต่อร่างกายทุกส่วน แต่มีผลกระทบต่อสมอง หัวใจ ตับ [[ตับอ่อน]]และ[[ระบบภูมิคุ้มกัน]]มากเป็นพิเศษ ซึ่งสามารถทำให้เกิดการป่วยทางจิต กลุ่มอาการเวอร์นิกเก–คอร์ซาคอฟ [[ภาวะหัวใจเสียจังหวะ]] [[ตับแช็ง]] และเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งกับโรคกลุ่มอื่น การดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างตั้งครรภ์สามารถเป็นอันตรายต่อทารกทำให้เกิดโรคสเปกตรัมทารกพิษสุราในครรภ์ โดยทั่วไปหญิงมีความไวต่อผลต่อกายและจิตท่ี่เป็นอันตรายของแอลกอฮอล์กว่าชาย
 
[[หมวดหมู่:การติดสารเสพติด]]
[[หมวดหมู่:การวินิจฉัยจิตเวช]]
[[หมวดหมู่:วัฒนธรรมการดื่มแอลกอฮอล์]]
[[หมวดหมู่:การใช้แอลกอฮอล์ในทางที่ผิด]]