ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กฎบัตรเนือร์นแบร์ค"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
[[ไฟล์:Nuremberg-1-.jpg|คณะจำเลยในคอกจำเลยระหว่าง[[การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก]]ราว ค.ศ. 1945–1946|right|thumb|250px]]
 
'''กฎบัตรคณะตุลาการทหารระหว่างประเทศ แนบท้ายความตกลงว่าด้วยการดำเนินคดีและลงโทษอาชญากรสงครามรายใหญ่ในอักษะยุโรป''' ({{lang-en|Charter of the International Military Tribunal – Annex to the Agreement for the prosecution and punishment of the major war criminals of the European Axis}}) หรือ '''กฎบัตรลอนดอนว่าด้วยคณะตุลาการทหารระหว่างประเทศ''' (London Charter of the International Military Tribunal) หรือ '''ธรรมนูญคณะตุลาการทหารระหว่างประเทศ''' (Constitution of the International Military Tribunal) มักเรียก '''กฎบัตรลอนดอน''' (London Charter) หรือ '''กฎบัตรเนือร์นแบร์ก''' (Nuremberg Charter) เป็นกฤษฎีกาที่[[คณะกรรมการที่ปรึกษาแห่งยุโรป]] (European Advisory Commission) ออกเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1945 เพื่อกำหนดระเบียบและวิธีพิจารณา[[การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก|คดีเนือร์นแบร์ก]]
 
กฎบัตรกำหนดให้พิจารณาคดีความผิดอาญาซึ่งกระทำลงโดย[[ฝ่ายอักษะ]]ของยุโรป ความผิดอาญาเหล่านี้จำแนกไว้เป็นสามประเภท คือ [[ความผิดอาญาอาชญากรรมสงคราม]], ความผิดอาญาอาชญากรรมต่อความสงบเรียบร้อยสันติภาพ และ[[ความผิดอาญาอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ]] กฎบัตรห้ามยกการดำรงตำแหน่งหน้าที่ราชการขึ้นอ้างเป็นข้อต่อสู้ในความผิดอาญาอาชญากรรมสงคราม ส่วนการปฏิบัติตามคำสั่งทั้งหลายจะเป็นเครื่องนำมาพิจารณาเพื่อบรรเทาโทษก็ต่อเมื่อคณะตุลาการเห็นว่าพึงเป็น ควรทำเช่นนั้นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
 
วิธีพิจารณาความอาญาที่คณะตุลาการใช้นั้นใกล้เคียงกับที่ใช้อยู่ใน[[ระบบซีวิลลอว์]]ยิ่งกว่าของ[[คอมมอนลอว์]] โดยเป็นการพิจารณาคดีด้วยตุลาการ มากกว่าเป็นการพิจารณาโดยจะใช้ลูกขุน กับทั้งยังรับฟัง[[พยานบอกเล่า]]เป็นอันมากด้วยหลายประเภท จำเลยที่พบถือว่ากระทำความผิดจะอุทธรณ์คำพิพากษาต่อ[[สภาควบคุมของฝ่ายสัมพันธมิตร]] (Allied Control Council) ก็ได้ อนึ่ง จำเลยชอบจะนำเสนอพยานหลักฐานเพื่อสนับสนุนข้อต่อสู้ของตน และเพื่อถามค้านพยานบุคคลทั้งหลายได้
 
กฎบัตรนี้คณะกรรมการที่ปรึกษาแห่งยุโรปพัฒนาขึ้นโดยอาศัยอำนาจแห่ง[[ปฏิญญามอสโก]] ซึ่งเรียกว่า "แถลงการณ์ว่าด้วยความอำมหิต" (Statement on Atrocities) ที่ตกลงกันในการประชุม ณ กรุง[[การประชุมมอสโก (ค.ศ. 1943)|การประชุมที่มอสโกเมื่อ ค.ศ. 1943]] แล้วยกร่างขึ้นที่กรุงลอนดอน หลังจากเยอรมนียอมจำนนใน[[วันแห่งชัยชนะในทวีปยุโรป]] (VEVictory in Europe Day) การยกร่างดังกล่าวนี้เป็นผลงานของ รอเบิร์ต เอช. แจ็กสัน (Robert H. Jackson), รอเบิร์ต ฟาลโค (Robert Falco) และ อีโอนา นิคิตเชนโก (Iona Nikitchenko) ทั้งซึ่งเป็นกรรมาธิการกรรมการที่ปรึกษาแห่งยุโรป (European Advisory Commission) แล้วจึงประกาศใช้เป็นกฎบัตรเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1945<ref>[http://www.unhcr.org/refworld/docid/3ae6b39614.html Charter of the International Military Tribunal - Annex to the Agreement for the prosecution and punishment of the major war criminals of the European Axis]. United Nations Refugee Agency</ref> อันเป็นวันที่[[รัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส|ฝรั่งเศส]] [[สหภาพโซเวียต]] [[สหรัฐ]] และ[[สหราชอาณาจักร]] ลงนามอย่างเป็นทางการในกฎบัตร กับความตกลงที่กฎบัตรแนบท้าย ภายหลังเอกสารทั้งสองจึงได้รับสัตยาบันจากรัฐฝ่ายสัมพันธมิตรอีก 19 รัฐ<ref>[http://www.icrc.org/applic/ihl/ihl.nsf/States.xsp?xp_viewStates=XPages_NORMStatesParties&xp_treatySelected=87B0BB4A50A64DEAC12563CD002D6AAE Ratifications].</ref>
 
กฎบัตรนี้ และบทอธิบายศัพท์ "อาชญากรรมต่อสันติภาพ" (crime against peace) ในกฎบัตร ยังเป็นแม่แบบแห่งกฎหมายฉบับหนึ่งของประเทศฟินแลนด์ ซึ่งรัฐสภาแห่งฟินแลนด์อนุมัติเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1945 เปิดช่องให้พิจารณาคดีความรับผิดชอบทางสงครามในประเทศฟินแลนด์ได้ด้วย
 
==อ้างอิง==
{{reflist}}
 
[[หมวดหมู่:พ.ศ. 2488]]