ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 37:
 
== ความขัดแย้ง ==
ต้นคริสต์ทศวรรษ 1950 นักคอมมิวนิสต์ไทย 50 คนเดินทางไปกรุง[[ปักกิ่ง]] ที่ซึ่งได้รับการฝึกด้านอุดมการณ์และการโฆษณาชวนเชื่อ ในปี 2504 กลุ่มผู้ก่อการกำเริบ[[ขบวนการปะเทดลาว]]ขนาดเล็กแทรกซึมเข้าภาคเหนือของประเทศไทย มีการจัดระเบียบกลุ่มพรรคคอมมิวนิสต์ท้องถิ่นและมีการส่งอาสาสมัครไปยังค่ายฝึกในประเทศจีน ลาวและ[[เวียดนามเหนือ]] โดยการฝึกมุ่งไปยังการต่อสู้ด้วยอาวุธและยุทธวิธีก่อการร้าย ระหว่างปี 2505 ถึง 2508 ชาวไทย 350 คนรับการฝึกนาน 8 เดือนในเวียดนามเหนือ เดิมทีกองโจรมีปืนคาบศิลาจำนวนจำกัด ตลอดจนอาวุธฝรั่งเศส จีนและญี่ปุ่น ในครึ่งแรกของปี 2508 ผู้ก่อการกำเริบลักลอบนำอาวุธที่ผลิตในสหรัฐ 3,000 ชิ้นและเครื่องกระสุน 90,000 นัดเข้าจากประเทศลาว สินค้าเหล่านี้เดิมจัดส่งให้กองทัพลาวที่สหรัฐหนุนหลัง แต่ถูกขายให้ผู้ลักลอบส่งออก แล้วแลกเปลี่ยนอาวุธให้แก่ พคท. แทน<ref name=CIA>{{cite web|url=http://www.foia.cia.gov/sites/default/files/document_conversions/89801/DOC_0000012498.pdf|title=Communist Insurgency In Thailand|work=CIA Report|date=|accessdate=1 December 2014}}</ref><ref name=Koplo>{{cite web|url=http://nautilus.org/wp-content/uploads/2012/09/717-Wilfred-D.-Koplowitz.pdf|title=A Profile of Communist Insurgency-The Case of Thailand|work=The Senior Seminar in Foreign Policy 1966-67|author=Wilfred Koplowitz|date=April 1967|accessdate=29 October 2015}}</ref>
 
ระหว่างปี 2504 ถึง 2508 ผู้ก่อการกำเริบลอบฆ่าทางการเมือง 17 ครั้ง พคท. ยังไม่เปิดฉากสงครามกองโจรเต็มขั้นจนฤดูร้อนปี 2508 เมื่อ พคท. เริ่มปะทะกับฝ่ายความมั่นคง มีบันทึกรวม 13 ครั้งในช่วงนั้น ครึ่งหลังของปี 2508 มีเหตุการณ์ความรุนแรงอีก 25 ครั้ง และตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2508 พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเริ่มปฏิบัติการที่ซับซ้อนมากขึ้น รวมทั้งการซุ่มโจมตีกองลาดตระเวนของตำรวจที่จังหวัดนครพนม<ref name=MCA/>
 
ในปี 2509 การก่อการกำเริบลามไปส่วนอื่นของประเทศไทย แต่เหตุการณ์การก่อการกำเริบร้อยละ 90 เกิดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในวันที่ 14 มกราคม 2509 โฆษกกลุ่มแนวร่วมรักชาติไทยเรียกร้อง "สงครามประชาชน" ในประเทศไทย แถลงการณ์นั้นเป็นเครื่องหมายการยกระดับความรุนแรงในความขัดแย้งนี้ และต้นเดือนเมษายน 2509 ผู้ก่อการกำเริบฆ่าทหาร 16 นายและมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 13 คนระหว่างการปะทะในจังหวัดเชียงราย มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงรวม 45 นายและพลเรือน 65 คนเสียชีวิตจากการโจมตีของผู้ก่อการกำเริบในครึ่งแรกของปี 2509<ref name=MCA/>
 
หลังกองทัพปฏิวัติชาติพ่ายใน[[สงครามกลางเมืองจีน]] กองพลที่ 49 ข้ามพรมแดนเข้าสู่ประเทศไทยจาก[[มณฑลยูนนาน]] ทหารจีนบูรณาการเข้ากับสังคมไทยอย่างรวดเร็ว และเข้าร่วมการค้าฝิ่นที่ได้กำไรงามภายใต้การคุ้มครองของข้าราชการฉ้อฉล การค้ายาเสพติดเป็นแหล่งรายได้สำคัญของประชากรท้องถิ่น ขณะเดียวกัน ทหารคณะชาติยังให้ความร่วมมือกับรัฐบาลระหว่างปฏิบัติการต่อต้านการก่อการกำเริบ ในเดือนกรกฎาคม 2510 เกิดสงครามฝิ่นเมื่อผู้ปลุกฝิ่นไม่ยอมจ่ายภาษีให้[[พรรคก๊กมินตั๋ง]] กำลังรัฐบาลเข้าร่วมความขัดแย้งนี้ด้วย โดยทำลายหมู่บ้านจำนวนหนึ่งแล้วย้ายถิ่นฐานผู้ต้องสงสัยว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ประชากรที่ถูย้ายใหม่นี้เป็นทหารเกณฑ์ใหม่สำหรับ พคท.<ref name=NiN>{{cite web| url=http://web.stanford.edu/group/ethnic/Random%20Narratives/ThailandRN1.3.pdf|title=Thailand|work=Stanford University|date=19 June 2005|accessdate=1 December 2014}}</ref>
 
ในเดือนกุมภาพันธ์และสิงหาคม 2510 รัฐบาลดำเนินการตีโฉบฉวยต่อต้านการก่อการกำเริบจำนวนหนึ่งในกรุงเทพมหานครและธนบุรี จับกุมสมาชิก พคท. ได้ 30 คนรวมทั้งเลขาธิการพรรค ธง แจ่มศรี มีการจับกุมตามมาในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน 2511<ref name=MCA/>
 
รัฐบาลวางกำลังกว่า 12,000 นายในจังหวัดภาคเหนือของประเทศในเดือนมกราคม 2515 ดำเนินปฏิบัติการนานหกสัปดาห์ซึ่งทำให้ผู้ก่อการกำเริบเสียชีวิตกว่า 200 คน ฝ่ายรัฐบาลมีทหารเสียชีวิต 30 นายและได้รับบาดเจ็บ 100 นาย<ref name=MCA>{{cite web|url=https://www.mca-marines.org/gazette/communist-insurgency-thailand|title=The Communist Insurgency In Thailand|work=Marine Corps Gazette|date=March 1973|accessdate=1 December 2014}}</ref>
 
ปลายปี 2515 กองทัพ ตำรวจและอาสารักษาดินแดน "เผาถังแดง" พลเรือนกว่า 200 คน<ref name="Jularat101">{{Cite book |author=Jularat Damrongviteetham |title=Narratives of the "Red Barrel" Incident |year=2013 |pages=101}}</ref> (บันทึกไม่เป็นทางการกล่าวว่าสูงถึง 3,000 คน)<ref name="Haberkorn186">{{Cite book |author=Tyrell Haberkorn |title=Getting Away with Murder in Thailand |year=2013 |page=186}}</ref><ref name="Zipple91">{{Cite journal |author=Matthew Zipple |title=Thailand's Red Drum Murders Through an Analysis of Declassified Documents |year=2014 |page=91}}</ref> ซึ่งถูกกล่าวหาว่าสนับสนุนคอมมิวนิสต์ในตำบลแหลมทราย [[จังหวัดพัทลุง]] คาดว่า[[กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร]]เป็นผู้สั่งการ<ref name="Jularat101"/><ref>{{cite book|title=Summary of World Broadcasts: Far East, Part 3|publisher=Monitoring Service of the British Broadcasting Corporation|year=1976}}</ref> ทั้งนี้ เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของ "รูปแบบการละเมิดอำนาจของกองทัพและหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย"<ref>{{cite book|last1=Kim|first1=Sung Chull|last2=Ganesan|first2=Narayanan|title=State Violence in East Asia|publisher=University Press of Kentucky|year=2013|page=259|isbn=9780813136790}}</ref> ระหว่างปฏิบัติการต่อต้านการก่อการกำเริบที่ป่าเถื่อนในปี 2514–2516 ซึ่งทำให้มียอดพลเรือนเสียชีวิต 3,008 คนทั่วประเทศ<ref name="Jularat101"/> (ส่วนประมาณการอย่างไม่เป็นทกางารว่ามีระหว่าง 1,000 ถึง 3,000 ในจังหวัดพัทลุงที่เดียว)<ref name="Zipple91"/> ผู้ที่ถูกฆ่าทั้งหมดถูกกล่าวหาว่าทำงานร่วมกับ พคท. จนถึงเวลานั้นผู้ต้องสงสัยคอมมิวนิสต์ที่ถูกทหารจับกุมปกติถูกยิงข้างถนน มีการริเริ่มเทคนิค "ถังแดง" ภายหลังเพื่อกำจัดหลักฐานใด ๆ ผู้ต้องสงสัยจะถูกทุบตีจนเกือบหมดสติก่อนถูกทิ้งลงในถังน้ำมันแล้วเผาทั้งเป็น<ref>{{cite news|title=[untitled]|publisher=''The Bangkok Post''|date=30 March 1975}}</ref><ref>{{cite news|last=Peagam|first=Norman|title=Probing the 'Red Drum' Atrocities|publisher=''[[Far Eastern Economic Review]]''|date=14 March 1975}}</ref> ถังแดง 200 ลิตรมีตะแกรงกั้นเหล็ก โดยมีไฟด้านล่าง และผู้ต้องสงสัยอยู่ด้านบน<ref>{{cite web|url=http://www.ipsnews.net/2004/06/politics-thailand-remembers-a-dictator/|title=POLITICS: Thailand Remembers a Dictator|date=18 June 2004|accessdate=29 June 2014|publisher=[[Inter Press Service]]}}</ref>
 
[[เหตุการณ์ 6 ตุลา|วันที่ 6 ตุลาคม 2519]] ท่ามกลางความหวาดกลัวคอมมิวนิสต์ยึดประเทศเช่นเดียวกับที่เกิดในเว่ียดนาม ตำรวจและกำลังกึ่งทหารโจมตีการเดินขบวนของนักศึกษาฝ่ายซ้ายที่[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] ประมาณการอย่างเป็นทางการระบุว่ามีนักศึกษาถูกฆ่า 46 คน และได้รับบาดเจ็บ 167 คน<ref>Handley, Paul M. ''The King Never Smiles: A Biography of Thailand's Bhumibol Adulyadej''. Yale University Press. {{ISBN|0-300-10682-3}}, p. 236.</ref>
 
ตั้งแต่ปี 2522 ท่ามกลางความเจริญของลัทธิชาตินิยมไทยและความเสื่อมของความสัมพันธ์จีน–เวียดนาม ภายใน พคท. เกิดการต่อสู้อย่างรุนแรง สุดท้ายฝ่ายนิยมเวียดนามแยกตัวออกไปตั้งกลุ่มแยกต่างหาก ชื่อ "พรรคใหม่"<ref name=AUK/>
 
ความพยายามยุติการก่อการกำเริบนำสู่นิรโทษกรรมซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2523 นายกรัฐมนตรี [[เปรม ติณสูลานนท์]] ลงนาม[[คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523]] คำสั่งนี้มีผลสำคัญต่อความเสื่อมของการก่อการกำเริบ ในปี 2516 การก่อการกำเริบก็ถึงคราวยุติ<ref>{{cite book|last1=Bunbongkarn|first1=Suchit|editor1-last=R.J. May & Viberto Selochan|title=The Military and Democracy in Asia and the Pacific|date=2004|publisher=ANU E Press|isbn=1920942017|pages=52–54|url=http://press.anu.edu.au//mdap/mobile_devices/ch03s05.html|accessdate=17 June 2014|chapter=The Military and Democracy in Thailand}}</ref>
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
== ดูเพิ่ม ==
* [[คอมมิวนิสต์ในประเทศไทย]]
 
[[หมวดหมู่:เหตุการณ์ในรัชกาลที่ 9‎]]