ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 9:
 
หลังกองทัพปฏิวัติชาติพ่ายใน[[สงครามกลางเมืองจีน]] กองพลที่ 49 ข้ามพรมแดนเข้าสู่ประเทศไทยจาก[[มณฑลยูนนาน]] ทหารจีนบูรณาการเข้ากับสังคมไทยอย่างรวดเร็ว และเข้าร่วมการค้าฝิ่นที่ได้กำไรงามภายใต้การคุ้มครองของข้าราชการฉ้อฉล การค้ายาเสพติดเป็นแหล่งรายได้สำคัญของประชากรท้องถิ่น ขณะเดียวกัน ทหารคณะชาติยังให้ความร่วมมือกับรัฐบาลระหว่างปฏิบัติการต่อต้านการก่อการกำเริบ ในเดือนกรกฎาคม 2510 เกิดสงครามฝิ่นเมื่อผู้ปลุกฝิ่นไม่ยอมจ่ายภาษีให้[[พรรคก๊กมินตั๋ง]] กำลังรัฐบาลเข้าร่วมความขัดแย้งนี้ด้วย โดยทำลายหมู่บ้านจำนวนหนึ่งแล้วย้ายถิ่นฐานผู้ต้องสงสัยว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ประชากรที่ถูย้ายใหม่นี้เป็นทหารเกณฑ์ใหม่สำหรับ พคท.
 
ในเดือนกุมภาพันธ์และสิงหาคม 2510 รัฐบาลดำเนินการตีโฉบฉวยต่อต้านการก่อการกำเริบจำนวนหนึ่งในกรุงเทพมหานครและธนบุรี จับกุมสมาชิก พคท. ได้ 30 คนรวมทั้งเลขาธิการพรรค ธง แจ่มศรี มีการจับกุมตามมาในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน 2511
 
รัฐบาลวางกำลังกว่า 12,000 นายในจังหวัดภาคเหนือของประเทศในเดือนมกราคม 2515 ดำเนินปฏิบัติการนานหกสัปดาห์ซึ่งทำให้ผู้ก่อการกำเริบเสียชีวิตกว่า 200 คน ฝ่ายรัฐบาลมีทหารเสียชีวิต 30 นายและได้รับบาดเจ็บ 100 นาย
 
ปลายปี 2515 กองทัพ ตำรวจและอาสารักษาดินแดน "เผาถังแดง" พลเรือนกว่า 200 คน (บันทึกไม่เป็นทางการกล่าวว่าสูงถึง 3,000 คน) ซึ่งถูกกล่าวหาว่าสนับสนุนคอมมิวนิสต์ในตำบลแหลมทราย [[จังหวัดพัทลุง]] คาดว่า[[กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร]]เป็นผู้สั่งการ
 
[[หมวดหมู่:เหตุการณ์ในรัชกาลที่ 9‎]]