ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วังวรวรรณ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
ประวัติของโรงเรียนตะละภัฏศึกษา เริ่มต้นหลังจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ได้ปลีกวิเวกไปใช้พระชนม์ชีพบั้นปลายที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ที่นั่น เมื่อปี พ.ศ. 2474 ที่นี่ก็ถูกปล่อยทิ้งร้างระยะหนึ่ง จนกระทั่งขุนสงขลานครินทร์ อดีตมหาดเล็กใน[[วังสระปทุม]] ได้รับประทานสถานที่แห่งนี้จาก[[สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า]] เพื่อให้แก่ครอบครัวตะละภัฏของขุนสงขลานครินทร์ และเริ่มเปิดเป็นโรงเรียนจากการรับลูกหลานของข้าราชการและประชาชนทั่วไปในย่านนี้มาเรียน โดยได้แบ่งเนื้อที่ออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกยังคงลักษณะตึกเดิมของโรงเรียน โดยสร้างเป็นชั้นลอยโครงไม้เพิ่มต่อ มีบันไดเวียนเหล็ก เชื่อมเป็นทางขึ้นไปสู่ห้องชั้นลอย อีกส่วนหนึ่ง ปรับให้เป็นอาคารสมัยใหม่ขนาดย่อม ใช้เป็นสำนักทนายความ คือ สำนักงานตะละภัฏทนายความ
 
ตัวอาคารถูกสร้างขึ้นราว พ.ศ. 2420–30 ตรงกับรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]รัชกาลที่ 5 มีความสวยงามด้วย[[สถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิก|สถาปัตยกรรมแบบ]][[นีโอคลาสสิค]]ปนตะวันออก ([[สถาปัตยกรรมจีน-โปรตุเกส|จีน-โปรตุเกส]]) มีระเบียงไม้ฉลุลาย[[เรือนขนมปังขิง|ขนมปังขิง]]เรียงรายตามเชิงชายคาโดยรอบ<ref>{{cite web|url=http://www.bangkokbiznews.com/pr/detail/31933|title=NOSTRA Map แนะนำ 10 แหล่ง กินเที่ยว วันเดียวจบ ณ ตะนาว|date=2017-10-10|work=[[กรุงเทพธุรกิจ]]}}</ref>
 
โรงเรียนตะละภัฏศึกษา ปิดกิจการลงเมื่อปี พ.ศ. 2538 ปัจจุบันสำนักงานตะละภัฏทนายความก็ได้ย้ายออกไปอยู่ที่อื่น ที่นี่จึงถูกปล่อยร้าง เพื่อรอวันบูรณะฟื้นฟู และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร<ref>{{cite web|url=https://www.youtube.com/watch?v=574m6wwQbbc|title=Lineกนก 3 แพร่ง 4 มิถุนายน 2560|date=2017-06-06|accessdate=2018-02-24|work=[[เนชั่นทีวี]]}}</ref>