ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ''' ({{lang-en|crime against humanity}}) เป็นการซึ่งกระทำลงโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เป็นส่วนหนึ่งของการโจมตีอย่างเป็นระบบหรือเป็นวงกว้าง หรือการโจมตีแบบเอกเทศ ต่อบุคคลพลเรือนคนใด ๆ หรือต่อกลุ่มคนที่ระบุตัวได้ในหมู่ประชากรพลเรือน การดำเนินคดีอาชญากรรมต่อมนุษยชาติเกิดขึ้นครั้งแรกใน[[การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก|คดีเนือร์นแบร์ก]] และนับแต่นั้น การดำเนินคดีอาชญากรรมดังกล่าวก็กลายเป็นหน้าที่ของศาลระหว่างประเทศ เช่น [[ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ]], [[คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวีย]], และ[[ศาลอาญาระหว่างประเทศ]] แต่การดำเนินคดีโดยศาลในประเทศก็มีบ้าง กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมต่อมนุษยชาตินั้นพัฒนาขึ้นผ่านวิวัฒนาการของ[[กฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ]] อาชญากรรมชนิดนี้ต่าง ๆ ที่กระทำต่อมนุษยชาตินั้นยังไม่มีบัญญัติประมวลไว้ในกฎหมายระหว่างประเทศฉบับใด ๆ แต่[[องค์การระหว่างประเทศ]] ซึ่งมีโครงการ[[ริเริ่มกฎหมายอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ]] (Crimes Against Humanity Initiative) เป็นโต้โผ พยายามที่จะสร้างกฎหมายดังกล่าวให้ได้ในเร็ววัน
 
อาชญากรรมต่อมนุษยชาติต่างจาก[[อาชญากรรมสงคราม]]ตรงที่อาชญากรรมต่อมนุษยชาติจะเกิดในยามสงครามหรือในเวลาอื่นก็ได้<ref>Margaret M. DeGuzman,[http://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=1745183 "Crimes Against Humanity"] RESEARCH HANDBOOK ON INTERNATIONAL CRIMINAL LAW, Bartram S. Brown, ed., Edgar Elgar Publishing, 2011</ref> แต่ไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยตัวเองหรือเกิดนานทีปีหน หากแต่เป็นเหตุการณ์ซึ่งอาจเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายของรัฐ หรือเป็นส่วนหนึ่งของความโหดร้ายป่าเถื่อนที่กระทำเป็นวงกว้าง แล้วรัฐเพิกเฉยหรือไม่เอาโทษ ความผิดอาญา อย่างเช่น อาชญากรรมสงคราม, [[การฆ่าคน]], [[การสังหารหมู่]], [[การลดความเป็นมนุษย์]], [[การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์]], [[การกวาดล้างชาติพันธุ์]], [[การเนรเทศ]], [[การทดลองมนุษย์โดยผิดจรรยาบรรณ]], [[วิสามัญฆาตกรรม]], [[การประหารแบบรวบรัด]], การใช้[[อาวุธทำลายล้างสูง]], [[การก่อการร้ายของรัฐ]], [[การก่อการร้ายที่รัฐสนับสนุน]], การใช้[[death squad|หมู่สังหาร]], [[การลักพา]], [[การบังคับให้บุคคลสูญหาย]], [[การใช้เด็กทางทหาร]], [[การกักกัน]], [[ทาส|การเอาคนลงเป็นทาส]], [[ความนิยมกินเนื้อมนุษย์ในมนุษย์|การกินเนื้อมนุษย์]], [[การทรมาน]], [[การข่มขืนกระทำชำเรา]], [[การเบียดเบียนทางการเมือง]], [[คตินิยมเชื้อชาติเชิงสถาบัน|การเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งเชื้อชาติ]], และ[[การละเมิดสิทธิมนุษยชน]] อาจเข้าข่ายอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ถ้าเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำอย่างเป็นระบบหรือเป็นวงกว้าง