ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 26:
หลังทรงสำเร็จการศึกษา ทรงเข้ารับราชการในรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ต่อมาในรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงรับราชการกรมวัง ดูแลภายในพระบรมมหาราชวังและพิจารณาตัดสินคดีความ กรมพระคชบาล และกรมสังฆการีธรรมการ (ปัจจุบันคือกรมการศาสนา) ได้รับพระราชทานพระอิสริยยศและทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็น '''สมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา กรมหมื่นบำราบปรปักษ์''' เมื่อ พ.ศ. 2394
 
พ.ศ. 2410 ทรงบังคับบัญชากรมพระภูษามาลาคลังวิเศษคลังข้างใน ทรงเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย มีพระบรมราชโองการให้เลื่อนขึ้นเป็น '''สมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา กรมขุนบำราบปรปักษ์''' ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประชุมพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการพร้อมกันสมมติให้เป็น ผู้สำเร็จราชการในพระราชสำนักและว่าพระคลังทั้งปวง ต่อมาทรงเป็นผู้สำเร็จราชการกรมมหาดไทย สมุหนายกอัครมหาเสนาบดี ว่าราชการหัวเมืองต่างๆ และเกี่ยวข้องกับชาวต่างประเทศ ทรงเป็นประธานของพระบรมวงศานุวงศ์ ต่อมาทรงได้รับการเลื่อนพระอิสริยยศเป็น ''สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ มหิศวรศักดิสุนทรรวิวงศ์ บรมพงศ์บริพัตร วิวัฒนยโศดม สรรพศิลปาคมอุดมกิจ พิฆเนศวรประสิทธิโศภินคชกรรมศาสตร์ โหรกลานุวาทกาพยปฏิภาณ สฤษฏิศุภการสกลรักษฎาธิกกิจปรีชาวตโยฬารสมบูรณคุณสารสุจริต จริยาภิรมย์ ราชพงศานุกรมมุขประดิษฐาสกลนารภิมานิต นริศราธิบดินทร์ ปรมินทรมหาวโรประการ ปรัชาชาณยุตติธรรมาชวาธยาศรัย ศรีรัตนตรัยสรณคุณารักษ์ บรมอรรคมหาบุรุษยรัตน์ สุขุมาลกระษัตริย์ วิสุทธิชาติธรรมิกนาถบพิตร'' ทรงศักดินา 60000 (เป็นกรณีพิเศษยิ่งกว่าพระบรมราชวงศ์พระองค์ใด) เมื่อปี พ.ศ. 2428
 
== สิ้นพระชนม์ ==