ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โลกิยานุวัติ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
การทำให้เป็นฆราวาสนั้นว่าด้วยกระบวนการทางประวัติศาสตร์ที่ทำศาสนาหมดสิ้นความสำคัญในสังคมและวัฒนธรรมลง เป็นผลให้ในสังคมสมัยใหม่ศาสนามีบทบาทจำกัดขึ้น ในสังคมที่เป็นฆราวาสแล้วนั้น ความศรัทธาไม่ขึ้นอยู่กับอำนาจครอบงำทางวัฒนธรรม ทั้งองค์การศาสนาก็มีอำนาจไม่มากในทางสังคม
 
การทำให้เป็นฆราวาสมีความหมายหลายระดับ ทั้งในทางทฤษฎีและกระบวนการทางประวัติศาสตร์ นักทฤษฎีสังคมอย่าง [[คาร์ล มากซ์]], [[ซิกมุนด์ ฟรอยด์]], [[มักซ์ เวเบอร์]], และ [[เอมิล ดูร์ไกม์]] ตั้งสมมุติฐานว่า การทำให้สังคมทันสมัยอาจรวมถึงการลดลงของขีด[[ความเลื่อมใสในศาสนา]] การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับกระบวนการดังกล่าวเป็นไปเพื่อนิยามลักษณะหรือขอบเขตที่ถือว่า ลัทธิ จารีต หรือสถาบันทาง ศาสนา สิ้นความสำคัญทางสังคมลง นักทฤษฎีบางคนก็แย้งว่า การทำให้อารยธรรมสมัยใหม่มีความเป็นฆราวาสนั้นส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการไม่สามารถปรับความต้องการในทางจริยธรรมและจิตวิญญาณของหมู่มนุษย์ให้เข้ากับความก้าวหน้าอันเร็วรวดของวิทยศาสตร์กายภาพ<ref>See [http://www.religion-online.org/showarticle.asp?title=472 text]</ref>
 
นอกจากนี้ ในทางประวัติศาสตร์และศาสนา การทำให้เป็นฆราวาสยังมีความหมายอื่นอีก<ref>Casanova, Jose (1994). ''Public Religions in the Modern World''. University of Chicago Press, pg. 13. {{ISBN|0-226-09535-5}}</ref> ถ้าใช้กับ[[การทำให้เป็นฆราวาส (ศาสนสมบัติ)|ศาสนสมบัติ]] (church property) แล้ว ในทางประวัติศาสตร์ จะหมายถึง การนำทรัพย์สินของศาสนจักรมาเป็นของฆราวาส เช่น กรณีที่[[พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ|เฮนรีที่ 8]] ทรง[[การยุบอาราม|ยุบเลิกอาราม]]ในอังกฤษ ตลอดจนกรณีที่เกิดขึ้นสมัยหลังในช่วง[[ปฏิวัติฝรั่งเศส]] และ[[การต่อต้านสงฆ์]]ของรัฐบาลยุโรปในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 อันนำมาซึ่งการขับไล่และปราบปรามประชาคมทางศาสนาที่ถือครองทรัพย์สิน เหตุการณ์ทำนองเดียวกันในเยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ และที่อื่น ๆ ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก็ถือเป็นตัวอย่างของความหมายนี้ได้<ref>Gould, Andrew in: ''Origins of Liberal Dominance: State, Church, and Party in Nineteenth-century Europe'', University of Michigan Press, 1999, p. 82, {{ISBN|978-0-472-11015-5}}</ref>