ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยงยุทธ มัยลาภ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Khampirat (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 32:
ยงยุทธ มัยลาภ ทำงานเป็นแพทย์ ประจำ[[วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า]] ใช้เวลาว่างในการเป็นผู้ประกาศข่าว พิธีกร[[รายการโทรทัศน์]] ทางช่อง 5 จนได้รับ[[รางวัลโทรทัศน์ทองคำ]] สาขาผู้อ่านข่าวดีเด่นชาย ปี [[พ.ศ. 2537]] [[รางวัลเมขลา]] (รายการคลินิกวันหยุด) รางวัลผู้ใช้ภาษาไทยทางสื่อวิทยุโทรทัศน์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2544
 
ด้านการเมือง เคยสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. [[กรุงเทพมหานคร]] เขต 5 สังกัด[[พรรคนำไทย]] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง และเคยเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข<ref>[http://www.parliament.go.th/news/news_detail.php?prid=31974 ยงยุทธ มัยลาภ ตัวเต็งโฆษกรัฐบาล]</ref> ต่อมาได้เข้ามารับตำแหน่ง โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของ[[พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์]] และได้ลาออกจาตำแหน่งในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 โดยให้เหตุผลว่าไม่อยากเป็นที่ครหากรณีการถือครองหุ้น<ref>[http://www.oknation.net/blog/print.php?id=127672 รัฐบาลขิงแก่ กับ แฟชั่นไขก๊อก เพราะพิษหุ้น! อีกบททดสอบความสั่นครอน]</ref> จากนั้นจึงได้เข้าไปเป็นที่ปรึกษาสถาบันมะเร็งแห่งชาติ และเป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาลพญาไท 2<ref>[http://www.phyathai.com/phyathai/new/th/appointment/apml_01_detail.php?doctor_group_id=13030&doctor_id=4160 ข้อมูลแพทย์โรงพยาบาลพญาไท 2]</ref> ต่อมาในปี พ.ศ. 2557 ได้เข้ารับตำแหน่งโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นครั้งที่สอง ในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/D/130/206.PDF คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๐๕/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (จำนวน ๒๗ ราย ๑. พลเอก วิลาศ อรุณศรี ฯลฯ)]</ref> ต่อมาเขาได้ขอลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากปัญหาสุขภาพ
 
นอกจากนั้นแล้วยงยุทธ มัยลาภ ยังเคยทำงานเป็นผู้ประกาศข่าว ประจำ[[สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก]] (ช่อง 5) และเคยเป็นประธานและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ดี.เอ็ม.อินเตอร์คอมมิวนิเคชั่น จำกัด อีกด้วย