ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โอสถ โกศิน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 46:
 
หลังจากลาออกจากราชการแล้ว ได้มาประกอบอาชีพส่วนตัว โดยเริ่มด้วยการตั้งสำนักงานทนายความ แล้วต่อมาจึงทำการค้าและอุตสาหกรรม เช่น ตั้งโรงงานกลั่นแอลกอฮอล์ โรงงานสุรา โรงงานผลิตแชลแลค ก่อตั้งธนาคาร และบริษัทประกันภัย ตั้งบริษัทส่งยางไปต่างประเทศ และทำการจัดสรรที่ดิน งานชิ้นสุดท้าย คือ ซื้อ[[วังบูรพาภิรมย์]]และสร้างเป็นศูนย์การค้าแห่งแรกในกรุงเทพฯ หลังจากนั้นจึงเลิกกิจการค้าไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ เพื่อศึกษาวิชากฎหมาย ณ ประเทศอังกฤษ เมื่อจบกลับมาแล้วเข้าเป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชากฎหมาย ใน[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] และ[[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] โรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน และโรงเรียนสืบสวนของ[[กรมตำรวจ]]
 
ต่อมาในปี พ.ศ. 2503 ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสินค้าขาออก<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2503/D/037/1391.PDF แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมืองในสำนักนายกรัฐมนตรี]</ref> สำนักงานรัฐมนตรี และได้รับแต่งตั้งให้ทำงานพิเศษ อาทิ กรรมการบริหารของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และเป็นประธานคณะกรมการฯ อยู่ระยะหนึ่ง
 
=== งานการเมือง ===
โอสถ โกศิน ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสินค้าขาออก<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2503/D/037/1391.PDF แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมืองในสำนักนายกรัฐมนตรี]</ref> สำนักงานรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2503 และเป็นเลขาธิการ ในปี พ.ศ. 2504<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2505/D/037/1124.PDF แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมืองในสำนักนายกรัฐมนตรี]</ref> และได้รับแต่งตั้งให้ทำงานพิเศษ อาทิ กรรมการบริหารของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และเป็นประธานคณะกรมการฯ อยู่ระยะหนึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี [[พ.ศ. 2512]] และเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในปี [[พ.ศ. 2515]] จากนั้นได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลของนายสัญญา ธรรมศักดิ์ และได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติอีก 2 สมัย และเป็นสมาชิกวุฒิสภาต่อเนื่องอีก 3 สมัย
 
ในช่วงที่ดำรงตำแหน่ง[[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม]] ได้ผลักดันและดำเนินการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมแห่งแรกของประเทศไทยขึ้น คือ นิคมอุตสาหกรรมบางชัน เมื่อปี [[พ.ศ. 2516]]<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2516/D/157/3940.PDF ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมบางชันเป็นนิคมอุตสาหกรรมทั่วไป]</ref>