ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การทลายคุกบัสตีย์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
U501Flash (คุย | ส่วนร่วม)
U501Flash (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 65:
[[ไฟล์:Colonne de Juillet 01.jpg|thumb|right|250px|[[ปลัสเดอลาบัสตีย์]]และเสาแห่งเดือนกรกฎาคม (โกโลนเดอฌูเยต์) ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ตั้งของป้อม[[บัสตีย์]]]]
 
ในเช้าวันต่อมา ดยุกดยุคแห่งลารอเชฟูโกด์นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 พระองค์ตรัสถามว่า "นี่คือการก่อกำเริบหรือ" ในขณะที่ลารอเชฟูโกด์ทูลกลับไปว่า "มิใช่ขอรับ นี่มิใช่การก่อกำเริบ นี่คือ การปฏิวัติ"<ref>Guy Chaussinand-Nogaret, La Bastille est prise, Paris, Éditions Complexe, 1988, p. 102.</ref>
 
พลเมืองชาวปารีสคาดการณ์ว่าจะมีการโจมตีตอบโต้ จึงทำการยึดฐานที่มั่นตามท้องถนน ก่อกำแพงหินกำบัง และติดอวุธอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ดีที่สุดเท่าที่จะหาได้ โดยเฉพาะหอกไม้เหลาจำนวนมาก ในขณะที่แวร์ซาย สมัชชาแห่งชาติยังคงไม่รับรู้ถึงเหตุการณ์ในปารีส แต่ระแวดระวังว่านายพลเดอบรอกลีอาจนำกองทหารฝ่ายกษัตริย์นิยมก่อรัฐประหาร และบังคับให้สมัชชา ฯ รับพระราชโองการวันที่ 23 มิถุนายน<ref>{{cite web |accessdate=22 January 2009 |url=http://sourcebook.fsc.edu/history/seance.html |title=The Séance royale of 23&nbsp;June 1789 |publisher=[[Fitchburg State College]] }}</ref> จากนั้นจึงจะยุบสมัชชาลง วิสเคาน์แห่งนออาย เป็นบุคคลแรกที่นำข่าวและข้อเท็จจริงอันถูกต้องเกี่ยวกับเหตุการณ์ในปารีสมายังสมัชชา ฯ ที่แวร์ซาย จากนั้นสมัชชาจึงส่งผู้แทนไปยังออแตลเดอวีลเพื่อยืนยันข้อเท็จจริงของนออาย
 
ในเช้าของวันที่ 15 กรกฎาคม ผลสืบเนื่องจากเหตุการณ์ปรากฏเป็นที่ชัดแจ้งแก่พระเจ้าหลุยส์ด้วยเช่นกัน พระองค์พร้อมด้วยนายพลทหารของพระองค์มีท่าทีผ่อนคลายลง กองกำลังหลวงที่ประจำการณ์ประจำการอยู่ตามจุดต่าง ๆ ของกรุงปารีสถูกโยกย้ายกระจัดกระจายไปตามป้อมประจำการณ์ประจำการเดิมของพวกเขาตามแนวชายแดน ด้านมาร์กี เดอ ลา ฟาแยตต์ เข้าบังคับบัญชากองกำลังติดอาวุธของประชาชนในปารีส ในขณะที่ฌ็อง-ซิลแว็ง เบญี (ผู้นำของฐานันดรที่สามและผู้ยุยงในการประกาศ[[คำปฏิญาณสนามเทนนิส]]) เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีภายใต้โครงสร้างการปกครองท้องถิ่นแบบใหม่ที่เรียกว่า ''กอมมูนแห่งปารีส'' ({{lang-fr|Commune de Paris}}) พระเจ้าหลุยส์ทรงประกาศว่าจะโปรดเกล้า ฯ ให้แนแกร์กลับมาดำรงตำแหน่งเดิม และเสด็จ ฯ จากแวร์ซายกลับสู่ปารีส ต่อมาในวันที่ 17 กรกฎาคม ณ กรุงปารีส ทรงรับเอาริบบิ้นกอการ์ดสามสีจากเบญีและเสด็จ ฯ เข้าไปในออแตลเดอวีล ท่ามกลางเสียงโห่ร้องของประชาชนว่า "กษัตริย์จงเจริญ" และ "ประเทศชาติจงเจริญ"
 
แม้กระนั้นเอง ภายหลังเหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้นปารีส เหล่าขุนนางและชนชั้นสูง ผู้ไม่สามารถไว้วางใจสถานการณ์และความปรองดองระหว่างกษัตริย์และประชาชนของพระองค์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ได้ เริ่มพากันลี้ภัยออกนอกประเทศในฐานะ ''ฝ่ายเอมิเกร'' ({{lang-fr|émigrés}}) ซึ่งผู้เข้าร่วมฝ่ายเอมิเกรในช่วงแรกประกอบไปด้วย เคาน์แห่งอาร์ตัว ([[พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศส|พระเจ้าชาร์ลที่ 10]] ในอนาคต) กับพระโอรสทั้งสองพระองค์ เจ้าชายแห่งกงเด เจ้าชายแห่งกงตี ตระกูลโปลีญัก และชาร์ล อะเล็กซ็องด์ เดอ กาโลน อดีตรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ทั้งหมดต่างพำนักอยู่ใน[[ตูริน]] ที่ซึ่งเดอกาโลน ในฐานะสายลับของเคาน์แห่งอาร์ตัวและเจ้าชายแห่งกงเด เริ่มแผนการก่อสงครามกลางเมืองภายในราชอาณาจักร และเริ่มเจรจากับประเทศในยุโรปเพื่อตั้งสัมพันธมิตรในการต่อสู้กับฝรั่งเศส
 
ข่าวการจลาจลที่ประสบผลสำเร็จแพร่สะพัดไปทั่วฝรั่งเศส ประชาชนต่างพากันจัดตั้งระบบการปกครองคู่ขนานอย่างเทศบาล สำหรับรัฐบาลพลเรือนและกองกำลังทหารติดอาวุธ ในเขตทุรกันดาร บ้างถึงกับกระทำการเกินเลยไปมาก เช่น ในระหว่างวันที่ 20 กรกฎาคม - 5 สิงหาคม มีคฤหาสน์ในชนบทมากมายถูกเผา เนื่องจากมีความกลัวที่ว่าเหล่าชนชั้นสูงและเจ้าที่ดินเจ้าของที่ดินกำลังพยายามขัดขวางการปฏิวัติ
 
ปีแยร์-ฟร็องซัว ปาลัว คือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำการรื้อซากปรักหักพังของป้อมในทันที