ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การทลายคุกบัสตีย์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
U501Flash (คุย | ส่วนร่วม)
U501Flash (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 27:
== การถอดถอนแนแกร์ ==
[[ไฟล์:Jacquesnecker.jpg|thumb|220px|left|[[ฌัก แนแกร์]] (พ.ศ. 2275-2347) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของฝรั่งเศส]]
ในวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2332 พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ผู้ซึ่งดำรงพระราชอำนาจภายใต้อิทธิพลของเหล่าขุนนางหัวอนุรักษนิยมจากสภาองคมนตรีของพระองค์เอง มีพระราชโองการถอดถอนฌัก แนแกร์ รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของพระองค์ ผู้ที่มีความเห็นอกเห็นใจต่อฐานันดรที่สาม หลังจากที่เขาได้ปฏิรูปรื้อสร้างการบริหารงานในกระทรวงของตนขึ้นใหม่ ทั้งนี้พระเจ้าหลุยส์ทรงวางกองกำลังป้องกันไว้ทั้งที่[[พระราชวังแวร์ซาย]] เทศบาลเซเวรอส์ เทศบาล[[แซ็ง-เดอนี]] และสวนสาธารณะ[[ช็องเดอมาร์]] จากนั้นทรงแต่งตั้งวิกตอร์-ฟร็องซัว ดยุกดยุคแห่งบรอกลี ดยุกดยุคแห่งลากาลิซ็องนีแยร์ ดยุกดยุคแห่งโว-กวียง บารงหลุยส์แห่งเบรอเตย และข้าหลวงประจำราชสำนักฌอแซฟ ฟูลง ทดแทนในตำแหน่งของปิเซเกอร์ อาร์ม็งด์ มาร์ก เคาน์แห่งม็งต์มอแร็ง ดยุกดยุคแห่งลาลูแซร์น แซ็งต์-ปรีสต์ และฌัก แนแกร์ ตามลำดับ
 
ข่าวการถอดถอนแนแกร์ออกจากตำแหน่งมาถึงยังกรุงปารีสในบ่ายของวันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม ชาวปารีสส่วนมากสันนิษฐานว่าการถอดถอนดังกล่าวหมายถึงจุดเริ่มต้นของการรัฐประหารโดยฝ่ายอนุรักษนิยม ชาวปารีสฝ่ายเสรีนิยมยังรู้สึกกราดเกรี้ยวจากความกลัวที่ว่าการโยกกองทหารหลวงมาประจำการ ณ แวร์ซาย คือความพยายาพยายามในการล้มล้างสภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งชาติซึ่งประชุมกัน ณ แวร์ซาย ฝูงชนรวมตัวกันทั่วกรุงปารีส และรวมตัวกันมากกว่าหนึ่งหมื่นคนบริเวณพระราชวังหลวง กามิลล์ เดมูแล็งส์ ประสบความสำเร็จในการปลุกระดมฝูงชนด้วยการร้องป่าวประกาศว่า ''พลเมืองทั้งหลาย ไม่มีเวลาเหลืออีกต่อไปแล้ว การปลดแนแกร์คือเสียงระฆังมรณะแห่ง[[การสังหารหมู่วันเซนต์บาโทโลมิว|เซนต์บาโทโลมิว]]สำหรับผู้รักชาติ! นี่คือคืนที่ชาวสวิสและเยอรมันทุกคนจะเดินทางจากช็องเดอมาร์เพื่อสังหารเราทุกคน สิ่งเดียวที่หลงเหลืออยู่ ก็คือการจับอาวุธขึ้นมา !''<ref name="Mignet, History..., Chapter I" /> ซึ่งพลทหารสวิสและเยอรมันคือหนึ่งในกองกำลังทหารรับจ้างชาวต่างชาติที่มีสัดส่วนไม่น้อยในกองทัพราชอาณาจักรฝรั่งเศสก่อนการปฏิวัติ และถูกมองว่ามีแนวโน้มที่จะเข้าข้างฝ่ายสามัญชนน้อยกว่าพลทหารทั่วไปในกองทัพฝรั่งเศส ในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม ประมาณการกันว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนพลทหาร 25,000 นายในกรุงปารีสและแวร์ซายถูกโยกย้ายมาจากกองกำลังทหารต่างชาตินี้
 
ระหว่างการเดินขบวนประท้วงตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม ฝูงชนยังได้แสดงประติมากรรมครึ่งตัวของแนแกร์และ[[หลุยส์ ฟิลิปที่ 2 ดยุกดยุคแห่งออร์เลอ็อง]]ไปตามท้องถนนพร้อมกับการเดินขบวน โดยเริ่มตั้งแต่พระราชวังหลวง จากนั้นผ่านเขตโรงละครไปตามแนวถนนทิศตะวันตก จนทำให้ฝูงชนเข้าปะทะกับกองทหารหลวงเยอรมัน (รัวยาล-อัลเลอม็องด์) บริเวณระหว่าง[[ปลัสว็องโดม]] ({{lang-fr|Place Vendôme}}) กับ[[พระราชวังตุยเลอรีส์]] ส่วนเหตุการณ์บริเวณหัวถนน[[ช็องเซลีเซ]] เจ้าชายแห่งล็องเบสก์นำกองทหารม้าเข้าปะทะขับไล่ฝูงชนที่เหลืออยู่บริเวณปลัสหลุยส์แก็งซ์ (ปัจจุบันคือ[[ปลัสเดอลากงกอร์ด]]; {{lang-fr|Place de la Concorde}})<ref> Micah Alpaugh, "The Politics of Escalation in French Revolutionary Protest: Political Demonstrations, Nonviolence and Violence in the ''Grandes journees'' of 1789," ''French History'' (Fall 2009) </ref> ด้านผู้บัญชาการกองทัพหลวง บารงแห่งเบซ็องวัล เกรงว่าจะเกิดเหตุนองเลือดในหมู่ฝูงชนผู้ติดอาวุธตนเองมาอย่างแย่ ๆ และกลัวว่าพลทหารให้ในกองของตนจะแปรพักตร์ไปเข้าร่วมกับฝูงชน จึงตัดสินใจถอนกองกำลังกลับสู่เขตเทศบาลเซเวรอส์อันเป็นฐานที่มั่น ในขณะเดียวกันนั้นเองที่เหตุการณ์ความไม่สงบทวีความรุนแรงขึ้นในหมู่ชาวปารีสผู้ไม่พอใจการใช้อำนาจของรัฐบาล โดยฝูงชนกลุ่มดังกล่าวบุกเข้าทำลายทรัพย์สินภายในสำนักงานศุลกากร เนื่องจากกล่าวโทษกันว่าสำนักงานศุลกากรเป็นต้นเหตุที่ทำให้ราคาอาหารและไวน์สูงขึ้น ต่อมาชาวปารีสเริ่มเข้าปล้นสะดมสถานที่ใดก็ตามที่มีอาหาร อาวุธปืน หรือเสบียงอื่น ๆ กักตุนเอาไว้ ในคืนนั้นเองที่ข่าวลือแพร่สะพัดออกไปว่าเสบียงกองใหญ่ถูกกักตุนไว้ในแซ็ง-ลาซาร์ เคหสถานอันโออาโอ่อ่าของนักบวชซึ่งถูกใช้เป็นอารามแม่ชี โรงพยาบาล โรงเรียน หรือแม้กระทั่งคุก ส่งผลให้ฝูงชนผู้โกรธเกรี้ยวบุกทลายและเข้าปล้นสะดมเคหสถานดังกล่าว จนสามารถยึดเอาข้าวสาลีได้จำนวน 52 เล่มเกวียน ก่อนจะถูกนำไปจำหน่าย ณ ตลาดสดในวันต่อมา และวันเดียวกันนั้นเองที่ฝูงชนเข้าปล้นสะดมสถานที่อื่น ๆ อีกหลายแห่งรวมทั้งคลังแสงอาวุธ โดยกองทัพหลวงไม่ได้เข้าระงับเหตุความวุ่นวายในสังคมที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนั้นแต่อย่างใด<ref>{{cite book |author=Louis, Bergeron |title=Le Monde et son Histoire |location=Paris |year=1970 |page=Volume VII, Chapter VI }} Micah Alpaugh, "The Politics of Escalation in French Revolutionary Protest: Political Demonstrations, Nonviolence and Violence in the Grandes Journees of 1789," ''French History'' (2009)</ref>
 
== ความขัดแย้งลุกลาม ==