ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 44:
== การร่าง ==
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มีความสำคัญต่อวัน[[การเลือกตั้งทั่วไปในประเทศไทยครั้งถัดไป|เลือกตั้งในประเทศไทยครั้งถัดไป]] เนื่องจาก[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560]] กำหนดให้มีการเลือกตั้งภายใน 150 วันนับจากประกาศใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งครบ 4 ฉบับ<ref name="bbc">[http://www.bbc.com/thai/thailand-39626257 ทำไมนักการเมืองกลัว ร่าง พ.ร.ป.พรรคการเมือง?]</ref>
 
วันที่ 9 ธันวาคม 2559 คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) จัดแถลงงานเปิดร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฯ โดยแถลงว่า กรธ. อยากให้เห็นมาตราว่าด้วยกิจกรรมของพรรคการเมือง 4 ข้อที่กำหนด ได้แก่ การมีสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งพรรคการเมือง ทุนประเดิมรรคการเมือง การมีสมาชิกถึงเกณฑ์ที่กำหนดภายในระยะเวลาต่าง ๆ และกลไกการบริหารพรรคการเมืองตามที่ร่างพระราชบัญญัติฯ กำหนด<ref name="bbiz">[http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/730808 กรธ.เปิดร่างแรกพ.ร.บ.พรรคการเมือง129มาตราไม่เซ็ตซีโร่]</ref> สำหรับความกังวลเรื่องพรรคการเมืองขนาดเล็ก อุดม รัฐอมฤต โฆษก กรธ. มองว่า การจะส่งผู้สมัครหรือนำแนวคิดทางการเมืองไปสู่การบริหารประเทศ จำเป็นต้องมีกำลังหรือองคาพยพที่ใหญ่พอสมควร กรธ. ต้องการให้พรรคเล็กทำงานมวลชนให้คนที่มีความคิดทางการเมืองชวนพรรคชวนพวกมาร่วมอุดมการณ์ทำงานด้วยความคิด ไม่ใช่รอให้คนเข้ามาร่วมเอง<ref name="bbiz"/>
 
ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฯ กำหนดให้สมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งพรรคร่วมจ่ายทุนประเดิม และให้สมาชิกพรรคการเมืองจ่ายค่าบำรุงพรรคการเมืองรายปีเพื่อให้ประชาชนร่วมเป็นเจ้าของพรรคการเมือง และห้ามบุคคลที่ไม่ใช่สมาชิกพรรคเข้ามาควบคุม ครอบงำหรือชี้นำการดำเนินกิจการของพรรคการเมือง เพื่อป้องกันการเกิด "พรรคนอมินี" ซึ่งเป็นเหตุของ[[คดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549]] และ[[คดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2551]] พรรคการเมืองที่ไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง 2 ครั้งติดต่อกันจะถูกยุบพรรค และพรรคการเมืองใดที่นำมวลชนไปชุมนุมข้างถนนอาจเข้าข่ายล้มล้างการปกครองซึ่งมีโทษยุบพรรค<ref name="bbc"/>