ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บรรดาศักดิ์ไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ย้อนการแก้ไขของ 171.101.72.176 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย 59.101.185.79
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
บรรทัด 7:
 
ระบบบรรดาศักดิ์ของขุนนางไทยนี้ ได้ตราออกมาเป็นกฎหมาย เรียกว่า [[พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน นาทหารหัวเมือง]] พ.ศ. 1998 ในแผ่นดิน[[สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ]] กษัตริย์ผู้ครองกรุงศรีอยุธยา
 
 
ระบบศักดินาไทย
 
ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1991 - พ.ศ. 2031) พระองค์ได้ทรงตราพระราชกำหนดศักดินาขึ้นมาใช้อย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 1997 โดยกำหนดให้บุคคลทุกประเภทในสังคมไทยมีศักดินาด้วยกันทั้งสิ้น นับตั้งแต่พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนางผู้ใหญ่ ลงไปถึงบรรดาไพร่ ทาส และพระสงฆ์ ยกเว้นองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งมิได้ระบุศักดินาเอาไว้ เพราะทรงเป็นเจ้าของศักดินาทั้งปวง
ศักดินา คือ ตัววัดในการปรับไหม และ พินัย ในกรณีขึ้นศาล คนที่ถือศักดินาสูง เมื่อทำผิดจะถูกลงโทษหนักกว่าผู้มีศักดินาต่ำ การปรับในศาลหลวง ค่าปรับนั้นก็เอาศักดินาเป็นบรรทัดฐานการกำหนดระบบศักดินาขึ้นมาก็เพื่อ ประโยชน์ในการกำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชน หน่วยที่ใช้ในการกำหนดศักดินา ใช้จำนวนไร่เป็นเกณฑ์ แต่มิได้หมายความว่าศักดินาจะเป็นข้อกำหนดตายตัวเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในการ ถือครองที่ดิน
ศักดินา ไม่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดิน เป็นวิธีการลำดับ"ศักดิ์"ของบุคคลตั้งแต่ พระมหาอุปราช ขุนนาง ข้าราชการ ลงไปจนถึงไพร่และทาส โดยกำหนดจำนวนที่นามากน้อยตามศักดิ์ของคนนั้น พระมหาอุปราชมีศักดินา 100,000 ไร่ และสูงสุดของขุนนางคือ ชั้นเจ้าพระยามีศักดินา 10,000 ไร่ คนธรรมดาสามัญมีศักดินา 25 ไร่ ทาสมีศักดินา 5 ไร่ เป็นต้น
ถ้าเทียบกันก็คล้ายกับ ซี ในระบบราชการปัจจุบัน ที่ทำให้รู้ว่าข้าราชการคนนั้นอยู่ในลำดับสูงต่ำกว่ากันแค่ไหน แต่ศักดินากว้างกว่าคือครอบคลุมทุกคนในราชอาณาจักรเว้นแต่พระมหากษัตริย์
ไม่ได้หมายความว่าคนในระบบศักดินามีที่ดินได้ตามจำนวนศักดินา ในความเป็นจริง ทาสไม่มีสิทธิ์ครอบครองทรัพย์สินที่ดินใด ๆ ทั้งนั้น
 
นอกจากนี้ยังมีผู้ให้ความหมายของคำว่าศักดินาแตกต่างกันออกไป ดังต่อไปนี้
ก. ศักดินา เป็นระบบในสังคมโบราณที่ใช้กำหนดสิทธิและหน้าที่ ของเจ้านาย ขุนนาง ตลอดลงมาจนถึงไพร่ไว้อย่างทั่วถึงตามพระราชกำหนดกฎหมาย ไม่ใช่เป็นกรรมสิทธิ์ในที่นา ผู้ที่เสนอความเห็นดังกล่าวได้แก่ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช กล่าวไว้ว่ามีข้อน่าสังเกตอยู่ว่า การวัดศักดิ์หรือศักดินาของคนในประเทศนั้น ใช้มาตราวัดที่ดินคือไร่ เป็นเครื่องวัด ทั้งนี้ทำให้น่าคิดไปว่า ระบบศักดินาของไทยนั้น ในระยะเริ่มอาจเกี่ยวกับการถือที่ดินเป็นสำคัญ เช่นเดียวกับระบบฟิวดัลของฝรั่ง แต่ถ้าพิจารณาตามข้อเท็จจริงแล้ว ไม่ปรากฏว่าเคยมีการถือที่ดินกันตามศักดินา เพราะฉะนั้นถ้าคิดอีกทางหนึ่งแล้วก็น่าจะคิดได้ว่า สังคมเมืองไทยนั้นเป็น สังคมกสิกรรม เมื่อถึงคราวที่จะวัดศักดิ์ของคน ผู้ที่เริ่มคิดจะวัดศักดิ์ของคนนั้น อาจนึกถึงมาตราวัดที่ดินได้ก่อนสิ่งอื่นก็ได้ มิฉะนั้นคำว่า ศักดินานั้นอาจแปลแต่เพียงว่า นาแห่งศักดิ์ ก็ได้ เพื่อให้เห็นแตกต่างกับนาที่เป็นเนื้อที่ดินสำหรับปลูกข้าวหรือประกอบ กสิกรรมอย่างอื่น
มี ผู้คัดค้านอีกว่า ตัวเลขของศักดินาเป็นเครื่องกำหนดสิทธิและอำนาจในการปกครองที่ดินนั้นไม่น่า เป็นไปได้ เพราะประการแรก สมัยกรุงศรีอยุธยา ที่ดินมิได้มีค่ามากที่สุด เพราะที่ดินสมัยนั้นมีเหลือเฟือ ประการที่สอง ถ้ามีการถือกรรมสิทธิ์ที่ดินจริงๆ คนที่ถือกรรมสิทธิ์เหล่านี้จะไปหาคนที่ไหนมาทำนาบนผืนดินของตน ในเมื่อสังคมไม่มีระบบทาสติดที่ดินเหมือนสังคมตะวันตก ประการที่สาม จะเห็นได้ว่าคดีพิพาทที่เกิดขึ้นล้วนแต่เป็นเรื่องพืชผล การเน้นเรื่องที่ดินไม่ได้เน้นตัวที่ดินแต่เน้นที่พืชผล ถ้าเป็นที่รกร้างว่างเปล่า ใครก็เข้าไปหักร้างถางพงได้ ดังปรากฏในกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จมาตรา ๕๕ และประการสุดท้ายกฎหมายสมัยกรุงศรีอยุธยาที่เหลือตกทอดมาปัจจุบัน มีกรณีพิพาทเกี่ยวกับที่ดินมากมาย แต่ไม่มีมาตราเดียวที่กล่าวถึงการที่ขุนนางหรือผู้ใดมีที่ดินจับจองเกิน ศักดินา ดังนั้นศักดินาจึงไม่น่ามีความหมายถึงสิทธิในการจับจองที่ดิน
ข.ระบบศักดินา เป็นระบบที่ว่าด้วยกรรมสิทธิ์และอำนาจในการครอบครองที่นาของบุคคล ได้มากน้อยต่างกันตามยศศักดิ์ ผู้เสนอความเห็นมีดังต่อไปนี้
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงวินิจฉัยว่า "เพราะข้าราชการสมัยก่อนไม่มีเบี้ยหวัดเงินเดือน ที่ดินคือที่นาเป็นสมบัติอันมีค่ามากกว่าสิ่งอื่น เมื่อไม่ได้มีการแบ่งที่ดินกันและให้คนมีที่ดินมากน้อยต่างกันตามกำลังยศ ศักดิ์ จึงตั้งพระราชกำหนดศักดินากำหนดกฎเกณฑ์ขึ้นมา"
ดำ เนิร เลขะกุล กรรมการชำระประวัติศาสตร์ กล่าวว่า "ทำเนียบศักดินาเป็นกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อกำหนดศักดินาหรือค่าของพลเรือนแต่ ละคนว่า บุคคลชั้นใดมีศักดินาเป็นพื้นที่จำนวนกี่ไร่
ค.ระบบ ศักดินา คืออำนาจในการครอบครอง ที่ดินซึ่งเป็นปัจจัยในการทำมาหากิน เป็นระบบขูดรีดโดยชนชั้นสูงที่จะได้ประโยชน์จาก ค่าเช่า ภาษีและอื่นๆ ผู้เสนอความเห็นได้แก่
จิตร ภูมิศักดิ์ เชื่อว่า ระบบศักดินาเป็นระบบที่จัดตั้งขึ้น เพื่อให้ชนชั้นสูงและพระภิกษุได้ครอบครองปัจจัยในการผลิตคือที่ดิน ซึ่งเป็นสมบัติที่มีค่าอย่างยิ่งในสังคมที่มีรากฐานทางเศรษฐกิจอยู่ที่การ เกษตร ในระบบศักดินาจะมีทั้งผู้ที่ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินจริงๆ ซึ่งเป็นกลุ่มน้อย และผู้ที่ได้เพียงสิทธิในการครอบครองทำผลประโยชน์เท่านั้น ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ในสังคมคือ ไพร่
ฉัตร ทิพย์ นาถสุภา นักเศรษฐศาสตร์ กล่าวสรุปได้ว่า ระบบเศรษฐกิจศักดินาผู้เป็นเจ้าของที่ดินขนาดใหญ่ขูดรีดชาวนา โดยให้ชาวนารับช่วงที่ดินไปทำนา แล้วบังคับให้มอบผลผลิตแก่ตน ต้องถูกเกณฑ์แรงงานโดยไม่ได้รับค่าตอบแทน
 
ทั้งสามประเด็นนี้ คือทัศนะต่างๆเกี่ยวกับความหมายของ "ศักดินา" เรื่องราวเกี่ยวกับศักดินาปรากฏแน่ชัดในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โดยบ่งบอกไว้ในพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน และนาทหารหัวเมือง ศักดินาจึงน่าจะหมายถึงกรรมสิทธิ์ในการถือที่นากำหนดตามชั้นของขุนนางว่าจะ จองที่นาได้สูงสุดจำนวนกี่ไร่ แล้วแต่ศักดินาและจำนวนคนของตน นอกจากนั้นศักดินายังเป็นเครื่องกำหนดหน้าที่ ขอบข่ายความรับผิดชอบ อภิสิทธิ์ สิทธิแห่งอำนาจ ฐานะในสังคมตั้งแต่ชั้นเจ้านาย ขุนนาง ลงมาถึงไพร่และทาส ศักดินาในระยะแรกซึ่งอาจมีมาก่อนสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแล้ว อาจตั้งแต่เริ่มสถาปนากรุงศรีอยุธยา ศักดินาตอนแรกคงไม่ยุ่งยากเพราะคนยังไม่มาก และมีการพระราชทานที่ดินให้จริงๆ ตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ต่อมาภายหลังต้องจัดให้เป็นระบบเพราะคนมากขึ้น ผืนดินน้อยลง การให้ศักดินาก็เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาอาณาจักร เพื่อผู้นั้นจะได้บุกเบิก ขยันทำมาหากินบนผืนดินที่ได้รับพระราชทาน การพระราชทานศักดินาต้องทรงคำนึงถึงความสามารถของผู้รับด้วย
 
บรรดาศักดิ์ที่เอามาเทียบกับระบบราชการนั้นน่าจะมาจากการเทียบในช่วงหลังที่มีการปฏิรูประบบราชการแล้วจนกระทั่งถึง 2475 ครับ เพราะในสมัยนั้นตำแหน่งทางราชการจะไม่ได้มีตำแหน่งสูงเหมือนสมัยนี้ ผู้บัญชาการทหารบกก็ไม่มีพึ่งมามีเอาเมื่อ 2475 ก่อนหน้านั้นผู้มีอำนาจสูงสุดของกองทัพคือตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหมคนเดียวไม่มีแยกไปตามกองทัพ ตำแหน่งนายพลก็มีเพียงเจ้านายเป็นหลักเท่านั้นเพราะเป็นเหมือนสัญญาลูกผู้ชายว่าหากไม่ใช่เจ้านายแล้วยศของทหารจะหยุดไว้ที่พันเอกเนื่องจากกองทัพไทยเป็นกองทัพขนาดเล็กไม่จำเป็นต้องมีนายพล บรรดาศักดิ์นี่ถ้าเป็นทหารพอจบออกมาเป็นร้อยตรีแล้วทำงานไปซักพักก็ได้แต่งตั้งเป็นขุนกันแทบทุกคนเลย
 
โดยรวมก็คือข้าราชการระดับสูงในอดีตนั้นมีจำนวนน้อยมากๆไม่ได้เฟ้อแบบสมัยนี้ ทำให้สามารถเทียบระดับข้าราชการกับบรรดาศักดิ์ได้
 
== ประวัติ ==
เส้น 50 ⟶ 25:
# พัน
# นาย หรือ หมู่
* หมายเหตุ สมเด็จเจ้าพระยา เป็นบรรดาศักดิ์พิเศษที่ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งขึ้นในบางรัชกาล
บรรดาศักดิ์ขุนนางไทยจะต้องเทียบกันด้วย "ระบบศักดินา"
ตามหลักการปกครองสมัยอยุธยา มีบรรดาศักดิ์"เจ้าพระยา" แค่ 2 คน ทั้ง 2 ตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งบรรดาศักดิ์ของขุนนางที่สูงที่สุดในสมัยอยุธยา ไม่มีตำแหน่งขุนนางใดจะสูงกว่านี้อีกแล้ว อาจมีข้อแย้งว่า ยังมีบรรดาศักดิ์"สมเด็จเจ้าพระยา"ที่สูงกว่า ซึ่งเป็นความจริงในสมัยรัตนโกสินทร์ เพราะ ในสมัยอยุธยาไม่มีบรรดาศักดิ์ สมเด็จเจ้าพระยา
 
1. "สมุหนายก" มีฐานะเป็น"เจ้าพระยาสมุหนายก" อัครมหาเสนาบดี มีหน้าที่ควบคุมกิจการพลเรือนทั่วประเทศ และ กับกำดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ
2. "สมุหพระกลาโหม" มีฐานะเป็น"เจ้าพระยาสมุหพระกลาโหม" อัครมหาเสนาบดี มีหน้าที่ควบคุมกิจการทหารทั่วประเทศ และกับกำดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้
ซึ่งถ้าเปรียบเทียบหน้าที่ความรับผิดชอบกับปัจจุบัน นั้นก็คือ ตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี
ซึ่งบางคนอาจจะแย้งว่า ตำแหน่ง"สมุหพระกลาโหม" คือ รัฐมนตรีกลาโหม และ "ตำแหน่งสมุหนายก" คือ รัฐมนตรีมหาดไทยซึ่งเกิดหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี พ.ศ.2475 ไม่ใช่ในสมัยอยุธยาที่จะวัดกันโดยระบบ "ศักดินา"
 
"พระยาสุริยะราชาไชยอภัยพิรียภาหะ" เจ้าเมืองเมืองพิชัย ศักดินา 5,000 / "พระสุรินทราราชาธิบดีศรีสุริยศักดิ์" สมุหะพระคชบาลจางวางซ้าย ศักดินา 5,000
จะเห็นว่า "พระยา" และ "พระ" ศักดินาเท่ากัน ดังนั้นก็คือตำแหน่งเท่ากันครับ
 
"พระยาศรีสุริยะ ภาหะ สมุหะ พระอัศวราช พิริยภาหะ" เจ้ากรมม้าต้น ศักดินา 3,000 / "หลวงกำแพงรามภักดีสรีสุริยชาติ" สมุหะพระคชบาลขวา ศักดินา 3,000 จะเห็นว่า "พระยา" และ "หลวง" ศักดินาเท่ากัน ดังนั้นก็คือตำแหน่งเท่ากันครับ
 
"พระยาแพทยพงษาวิสุทธาธิบดีอภัยรีพิริยกรมภาหุ" จางวางแพทยาโรงพระโอสถ ศักดินา 2,000 / "หลวงราชวังเมืองสุริยชาติ" สมุหะพระคชบาลซ้าย ศักดินา 3,000 จะเห็นว่า "หลวง" มีศักดินาที่สูงกว่า "พระยา" ดังนั้นก็คือมีตำแหน่งที่สูงกว่า
 
อีกหนึ่งตัวอย่าง ตำแหน่ง"ผู้บัญชาการทหารบก" ( เทียบเท่า ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนระดับ 11 )
ในสมัยอยุธยา ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก คือ "พระยารามจตุรงค์" จางวางกรมอาสาหกเหล่า ศักดินา 10000 (พระยานาหมื่น) ถ้าใครเคยดูละครเรื่อง ขุนศึก ตำแหน่งนี้คือตำแหน่งสุดท้ายของ"เสมา"
กรมอาสาหกเหล่า คำว่า “อาสา” แปลว่า “ทหารหน้า” กล่าวอย่างปัจจุบันก็คือกองทัพบกนั่นเอง มีหน้าที่รบพุ่งปราบปรามอริราชศัตรูทุกทิศ ในสมัยโบราณ กรมนี้มีหน้าที่วางด่านทาง ป้องกันข้าศึกศัตรูซึ่งแบ่งตามซ้ายแลขวา แต่เดิมในสมัยอยุธยา กรมนี้แบ่งออกเป็น 6 กรม คือ กรมอาสาใหญ่ กรมอาสารอง กรมเขนทองขวา กรมเขนทองซ้าย กรมทวนทองขวา และ กรมทวนทองซ้าย จึงเป็นชื่อเรียกว่า "กรมอาสาหกเหล่า"
ซึ่งจะเห็นว่า ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก(ข้าราชการระดับ 11) ไม่ได้มีตำแหน่งเป็น"เจ้าพระยา"แต่อย่างใด เพราะ มีตำแหน่งเพียง"พระยา"เท่านั้น
 
บรรดาศักดิ์ในละครอีกหนึ่งตำแหน่ง คือ บรรดาศักดิ์ "หมื่น"
"หมื่นศรีสหะเทพ" ปลัดบาญชีย กรมมหาดไท ถือศักดินา 800 เทียบกับปัจจุบันคือ กองคลัง สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย มีตำแหน่งผู้อำนวยการกอง(ข้าราชการระดับ 8)เป็นหัวหน้าหน่วยงาน
 
ตำแหน่งก็เป็นอีกหนึ่งอย่างที่ต้องพิจารณา
"หลวงวาสุเทพ" เจ้ากรมมหาดไทตำรวจภูธร ตำแหน่ง"เจ้ากรม" ปัจจุบันคือตำแหน่งอธิบดี ข้าราชการระดับ 10
 
ต่อไปนี้เป็นตำแหน่งขุนนางบางส่วนของกรมมหาดไท โดยจะระบุ บรรดาศักดิ์ หน้าที่ และ ศักดินา ไว้ชัดเจน ลองดูตำแหน่งต่อไปนี้ เป็นตำแหน่งขุนนางบางส่วนของกรมมหาดไท
 
"กรมมหาดไท"
 
เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษสมุหะนายกอัคมหาเสนาธิบดีอะไภยพิรีบรากรมภาหุ ถือศักดินา ๑๐๐๐๐ เอกอุราชสีห
ตราพระราชสีห์ ตราจักร (สมุหะนายก)
ขุนราชนิกุลนิตยภักดี ปลัดทูลฉลอง ถือศักดินา ๑๐๐๐
หมื่นศรีสหะเทพ ปลัดบาญชีย ถือศักดินา ๘๐๐
ขุนพินิจอักษร เสมิยรตรา ถือศักดินา ๖๐๐
ขุนราชพินิจใจ ราชปลัดถือพระธรรมนูน นา ๘๐๐
ขุนอายาจักร ราชปลัดได้สำรวด นา ๘๐๐
ขุนบุรินธร ราชปลัดนั่งศาลหลวง นา ๘๐๐
ขุนเทพอาญา ราชปลัดนั่งศาลราษฎร นา ๘๐๐
หมื่นแกว่นใจแกล้ว ๑ } หัวหมื่นทลวงฟัน ๔ คน ถือศักดินาคล ๔๐๐
หมื่นแก้วใจหาร ๑
หมื่นยงพลภ่าย ๑
หมื่นย่ายพลแสน ๑
พันภานณุราช } หัวพัน นาคล ๔๐๐
พันจันทณุมาท
พันเภาณุราช
พันพุทอณุราช
นายแกว่นคชสาร ๑ } นายเวรมหาดไท ถือศักดินาคล ๒๐๐
นายชำนาญกระบวน ๑
นายควรรู้อัฏ ๑
นายรัดตรวจสรพล ๑
ขุนราชอาญา สมุบาญชียกรมมหาดไท ถือศักดินา ๘๐๐
หัวปากฉลอไกรลาด หัวปากญอดเมืองมิ่ง } ๔ คน นาคละ ๒๐๐
หัวปากกรุงจอมเมือง หัวปากบุญชู
หลวงมหาอำมาตยาธิบดีพิรียะภาหะ มหาดไทฝ่ายเหนือ นา ๓๐๐๐
หลวงราชเสนา ปลัดทูลฉลอง นา ๘๐๐
หมื่นชำนิคชสาร } นาคล ๔๐๐
หมื่นชำนาญมรรคา
หมื่นดุรงคพิทัก
หมื่นรักษณรา
พันอะนาปะทาน เวนช้าง ๑ } หัวพันมหาดไทนอก นาคล ๒๐๐
พันสุกคลราช เวนคล ๑
พันพิศณุราช เวนม้า ๑
พันวิจรจักร เวนทาง ๑
หลวงจ่าแสนบดีศรีบริบาล เจ้ากรมมหาดไทฝ่ายภะลำภัง นา ๒๔๐๐
ขุนสุริยามาต ปลัดขวา นา ๖๐๐
ขุนกะเชนทรามาตย ปลัดซ้าย นา ๖๐๐
หมื่นจันทรามาต นา ๔๐๐
หลวงวาสุเทพ เจ้ากรมมหาดไทตำรวจภูธร นา ๑๐๐๐
ขุนพิศลูแสน ปลัดขวา ถือศักดินา ๖๐๐
ขุนเพชอินทรา ปลัดซ้าย ถือศักดินา ๖๐๐
หลวงเพชลูเทพ เจ้ากรมมหาดไทตำรวจภูบาล นา ๑๐๐๐
ขุนมหาพิไชย ปลัดขวา ถือศักดินา ๖๐๐
ขุนแผลงสท้าน ปลัดซ้าย ถือศักดินา ๖๐๐
หลวงเสนาภักดี นา ๘๐๐
หลวงอนุชิดพิทัก นา ๘๐๐
หลวงอนุรักผู้เบศ นา ๘๐๐
เกนเมืองรั้ง เมืองนนทราชธานี ๑ } นาคล ๔๐๐
เมืองอุไทยธานี ๑
เมืองยศสุนธร ๑
เมืองเทพราชธานี ๑
หมื่นชำนาญ นายกองช่างเลื่อย นา ๒๐๐
หมื่นอิน นายกองช่างก่อ นา ๒๐๐
 
ตำแหน่งบรรดาศักดิ์ที่กล่าวนี้มีตัวตนจริง เป็นบรรดาศักดิ์ที่มีอยู่จริง
 
สรุป ถ้าหาก เทียบ"ระดับข้าราชการ"กับ"บรรดาศักดิ์" จะทำให้เกิดความเข้าใจผิด และ ไม่มีความชัดเจนในการวัดเปรียบเทียบตายตัว จะเห็นว่าในข้อมูลที่กล่าวมา บรรดาศักดิ์"หลวง"บางตำแหน่งถือศักดินาสูงกว่า"พระยา"บางตำแหน่ง บรรดาศักดิ์จะมาวัดเปรียบเทียบกันตายตัวไม่ได้ บรรดาศักดิ์ต้องวัดที่การถือครอง"ศักดินา"และ ตำแหน่งหน้าที่* หมายเหตุ สมเด็จเจ้าพระยา เป็นบรรดาศักดิ์พิเศษที่ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งขึ้นในบางรัชกาล
แต่ละบรรดาศักดิ์ จะมี '''ศักดินา''' ประกอบกับบรรดาศักดิ์นั้นด้วย ระบบขุนนางไทย ถือว่า ศักดินา สำคัญกว่า '''บรรดาศักดิ์''' เพราะศักดินา จะใช้เป็นตัววัดในการ[[ปรับไหม]] และ [[พินัย]] ในกรณีขึ้นศาล บรรดาศักดิ์ ใน '''พระไอยการนาพลเรือน นาทหาร หัวเมือง''' นี้ ค่อนข้างสับสนและไม่เป็นระบบ คล้ายๆ กับว่า ผู้ออกกฎหมายนึกอยากจะให้บรรดาศักดิ์ใด ศักดินาเท่าไหร่ ก็ใส่ลงไป โดยไม่ได้จัดเป็นระบบแต่อย่างใด (เพิ่มเติมวันที่ 4 มีนาคม 2550 ตามความเห็นไม่คิดว่าจะจัดไม่เป็นระบบแต่อย่างใด แต่เป็นลักษณะอย่าง เช่น เมืองตากเป็นเมืองเล็กๆ พระยาตากอาจถือศักดินาสูงสุดอยู่ในเมืองตาก หมายความว่าใหญ่สุดในเมืองตากทั้งศักดินาและบรรดาศักดิ์ แต่อย่างที่บอกไป เมืองตากเป็นเมืองเล็ก เป็นไปได้ว่าอาจมีศักดินาต่ำกว่ายศขุนของอยุธยาซึ่งถือว่าเป็นเมืองใหญ่ก็เป็นได้ ทั้งนี้ควรหาข้อมูลเปรียบเทียบตรงจุดนี้ให้กระจ่าง) ดังนั้น จึงมีขุนนางใน กรมช่างอาสาสิบหมู่ หรือ บางกรม ที่มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยา แต่ศักดินาต่ำกว่า 1,000 ซึ่งถือเป็นขุนนางระดับต่ำ