ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บรรดาศักดิ์ไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 7:
 
ระบบบรรดาศักดิ์ของขุนนางไทยนี้ ได้ตราออกมาเป็นกฎหมาย เรียกว่า [[พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน นาทหารหัวเมือง]] พ.ศ. 1998 ในแผ่นดิน[[สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ]] กษัตริย์ผู้ครองกรุงศรีอยุธยา
 
 
ระบบศักดินาไทย
 
ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1991 - พ.ศ. 2031) พระองค์ได้ทรงตราพระราชกำหนดศักดินาขึ้นมาใช้อย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 1997 โดยกำหนดให้บุคคลทุกประเภทในสังคมไทยมีศักดินาด้วยกันทั้งสิ้น นับตั้งแต่พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนางผู้ใหญ่ ลงไปถึงบรรดาไพร่ ทาส และพระสงฆ์ ยกเว้นองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งมิได้ระบุศักดินาเอาไว้ เพราะทรงเป็นเจ้าของศักดินาทั้งปวง
ศักดินา คือ ตัววัดในการปรับไหม และ พินัย ในกรณีขึ้นศาล คนที่ถือศักดินาสูง เมื่อทำผิดจะถูกลงโทษหนักกว่าผู้มีศักดินาต่ำ การปรับในศาลหลวง ค่าปรับนั้นก็เอาศักดินาเป็นบรรทัดฐานการกำหนดระบบศักดินาขึ้นมาก็เพื่อ ประโยชน์ในการกำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชน หน่วยที่ใช้ในการกำหนดศักดินา ใช้จำนวนไร่เป็นเกณฑ์ แต่มิได้หมายความว่าศักดินาจะเป็นข้อกำหนดตายตัวเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในการ ถือครองที่ดิน
ศักดินา ไม่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดิน เป็นวิธีการลำดับ"ศักดิ์"ของบุคคลตั้งแต่ พระมหาอุปราช ขุนนาง ข้าราชการ ลงไปจนถึงไพร่และทาส โดยกำหนดจำนวนที่นามากน้อยตามศักดิ์ของคนนั้น พระมหาอุปราชมีศักดินา 100,000 ไร่ และสูงสุดของขุนนางคือ ชั้นเจ้าพระยามีศักดินา 10,000 ไร่ คนธรรมดาสามัญมีศักดินา 25 ไร่ ทาสมีศักดินา 5 ไร่ เป็นต้น
ถ้าเทียบกันก็คล้ายกับ ซี ในระบบราชการปัจจุบัน ที่ทำให้รู้ว่าข้าราชการคนนั้นอยู่ในลำดับสูงต่ำกว่ากันแค่ไหน แต่ศักดินากว้างกว่าคือครอบคลุมทุกคนในราชอาณาจักรเว้นแต่พระมหากษัตริย์
ไม่ได้หมายความว่าคนในระบบศักดินามีที่ดินได้ตามจำนวนศักดินา ในความเป็นจริง ทาสไม่มีสิทธิ์ครอบครองทรัพย์สินที่ดินใด ๆ ทั้งนั้น
 
นอกจากนี้ยังมีผู้ให้ความหมายของคำว่าศักดินาแตกต่างกันออกไป ดังต่อไปนี้
ก. ศักดินา เป็นระบบในสังคมโบราณที่ใช้กำหนดสิทธิและหน้าที่ ของเจ้านาย ขุนนาง ตลอดลงมาจนถึงไพร่ไว้อย่างทั่วถึงตามพระราชกำหนดกฎหมาย ไม่ใช่เป็นกรรมสิทธิ์ในที่นา ผู้ที่เสนอความเห็นดังกล่าวได้แก่ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช กล่าวไว้ว่ามีข้อน่าสังเกตอยู่ว่า การวัดศักดิ์หรือศักดินาของคนในประเทศนั้น ใช้มาตราวัดที่ดินคือไร่ เป็นเครื่องวัด ทั้งนี้ทำให้น่าคิดไปว่า ระบบศักดินาของไทยนั้น ในระยะเริ่มอาจเกี่ยวกับการถือที่ดินเป็นสำคัญ เช่นเดียวกับระบบฟิวดัลของฝรั่ง แต่ถ้าพิจารณาตามข้อเท็จจริงแล้ว ไม่ปรากฏว่าเคยมีการถือที่ดินกันตามศักดินา เพราะฉะนั้นถ้าคิดอีกทางหนึ่งแล้วก็น่าจะคิดได้ว่า สังคมเมืองไทยนั้นเป็น สังคมกสิกรรม เมื่อถึงคราวที่จะวัดศักดิ์ของคน ผู้ที่เริ่มคิดจะวัดศักดิ์ของคนนั้น อาจนึกถึงมาตราวัดที่ดินได้ก่อนสิ่งอื่นก็ได้ มิฉะนั้นคำว่า ศักดินานั้นอาจแปลแต่เพียงว่า นาแห่งศักดิ์ ก็ได้ เพื่อให้เห็นแตกต่างกับนาที่เป็นเนื้อที่ดินสำหรับปลูกข้าวหรือประกอบ กสิกรรมอย่างอื่น
มี ผู้คัดค้านอีกว่า ตัวเลขของศักดินาเป็นเครื่องกำหนดสิทธิและอำนาจในการปกครองที่ดินนั้นไม่น่า เป็นไปได้ เพราะประการแรก สมัยกรุงศรีอยุธยา ที่ดินมิได้มีค่ามากที่สุด เพราะที่ดินสมัยนั้นมีเหลือเฟือ ประการที่สอง ถ้ามีการถือกรรมสิทธิ์ที่ดินจริงๆ คนที่ถือกรรมสิทธิ์เหล่านี้จะไปหาคนที่ไหนมาทำนาบนผืนดินของตน ในเมื่อสังคมไม่มีระบบทาสติดที่ดินเหมือนสังคมตะวันตก ประการที่สาม จะเห็นได้ว่าคดีพิพาทที่เกิดขึ้นล้วนแต่เป็นเรื่องพืชผล การเน้นเรื่องที่ดินไม่ได้เน้นตัวที่ดินแต่เน้นที่พืชผล ถ้าเป็นที่รกร้างว่างเปล่า ใครก็เข้าไปหักร้างถางพงได้ ดังปรากฏในกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จมาตรา ๕๕ และประการสุดท้ายกฎหมายสมัยกรุงศรีอยุธยาที่เหลือตกทอดมาปัจจุบัน มีกรณีพิพาทเกี่ยวกับที่ดินมากมาย แต่ไม่มีมาตราเดียวที่กล่าวถึงการที่ขุนนางหรือผู้ใดมีที่ดินจับจองเกิน ศักดินา ดังนั้นศักดินาจึงไม่น่ามีความหมายถึงสิทธิในการจับจองที่ดิน
ข.ระบบศักดินา เป็นระบบที่ว่าด้วยกรรมสิทธิ์และอำนาจในการครอบครองที่นาของบุคคล ได้มากน้อยต่างกันตามยศศักดิ์ ผู้เสนอความเห็นมีดังต่อไปนี้
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงวินิจฉัยว่า "เพราะข้าราชการสมัยก่อนไม่มีเบี้ยหวัดเงินเดือน ที่ดินคือที่นาเป็นสมบัติอันมีค่ามากกว่าสิ่งอื่น เมื่อไม่ได้มีการแบ่งที่ดินกันและให้คนมีที่ดินมากน้อยต่างกันตามกำลังยศ ศักดิ์ จึงตั้งพระราชกำหนดศักดินากำหนดกฎเกณฑ์ขึ้นมา"
ดำ เนิร เลขะกุล กรรมการชำระประวัติศาสตร์ กล่าวว่า "ทำเนียบศักดินาเป็นกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อกำหนดศักดินาหรือค่าของพลเรือนแต่ ละคนว่า บุคคลชั้นใดมีศักดินาเป็นพื้นที่จำนวนกี่ไร่
ค.ระบบ ศักดินา คืออำนาจในการครอบครอง ที่ดินซึ่งเป็นปัจจัยในการทำมาหากิน เป็นระบบขูดรีดโดยชนชั้นสูงที่จะได้ประโยชน์จาก ค่าเช่า ภาษีและอื่นๆ ผู้เสนอความเห็นได้แก่
จิตร ภูมิศักดิ์ เชื่อว่า ระบบศักดินาเป็นระบบที่จัดตั้งขึ้น เพื่อให้ชนชั้นสูงและพระภิกษุได้ครอบครองปัจจัยในการผลิตคือที่ดิน ซึ่งเป็นสมบัติที่มีค่าอย่างยิ่งในสังคมที่มีรากฐานทางเศรษฐกิจอยู่ที่การ เกษตร ในระบบศักดินาจะมีทั้งผู้ที่ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินจริงๆ ซึ่งเป็นกลุ่มน้อย และผู้ที่ได้เพียงสิทธิในการครอบครองทำผลประโยชน์เท่านั้น ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ในสังคมคือ ไพร่
ฉัตร ทิพย์ นาถสุภา นักเศรษฐศาสตร์ กล่าวสรุปได้ว่า ระบบเศรษฐกิจศักดินาผู้เป็นเจ้าของที่ดินขนาดใหญ่ขูดรีดชาวนา โดยให้ชาวนารับช่วงที่ดินไปทำนา แล้วบังคับให้มอบผลผลิตแก่ตน ต้องถูกเกณฑ์แรงงานโดยไม่ได้รับค่าตอบแทน
 
ทั้งสามประเด็นนี้ คือทัศนะต่างๆเกี่ยวกับความหมายของ "ศักดินา" เรื่องราวเกี่ยวกับศักดินาปรากฏแน่ชัดในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โดยบ่งบอกไว้ในพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน และนาทหารหัวเมือง ศักดินาจึงน่าจะหมายถึงกรรมสิทธิ์ในการถือที่นากำหนดตามชั้นของขุนนางว่าจะ จองที่นาได้สูงสุดจำนวนกี่ไร่ แล้วแต่ศักดินาและจำนวนคนของตน นอกจากนั้นศักดินายังเป็นเครื่องกำหนดหน้าที่ ขอบข่ายความรับผิดชอบ อภิสิทธิ์ สิทธิแห่งอำนาจ ฐานะในสังคมตั้งแต่ชั้นเจ้านาย ขุนนาง ลงมาถึงไพร่และทาส ศักดินาในระยะแรกซึ่งอาจมีมาก่อนสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแล้ว อาจตั้งแต่เริ่มสถาปนากรุงศรีอยุธยา ศักดินาตอนแรกคงไม่ยุ่งยากเพราะคนยังไม่มาก และมีการพระราชทานที่ดินให้จริงๆ ตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ต่อมาภายหลังต้องจัดให้เป็นระบบเพราะคนมากขึ้น ผืนดินน้อยลง การให้ศักดินาก็เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาอาณาจักร เพื่อผู้นั้นจะได้บุกเบิก ขยันทำมาหากินบนผืนดินที่ได้รับพระราชทาน การพระราชทานศักดินาต้องทรงคำนึงถึงความสามารถของผู้รับด้วย
 
บรรดาศักดิ์ที่เอามาเทียบกับระบบราชการนั้นน่าจะมาจากการเทียบในช่วงหลังที่มีการปฏิรูประบบราชการแล้วจนกระทั่งถึง 2475 ครับ เพราะในสมัยนั้นตำแหน่งทางราชการจะไม่ได้มีตำแหน่งสูงเหมือนสมัยนี้ ผู้บัญชาการทหารบกก็ไม่มีพึ่งมามีเอาเมื่อ 2475 ก่อนหน้านั้นผู้มีอำนาจสูงสุดของกองทัพคือตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหมคนเดียวไม่มีแยกไปตามกองทัพ ตำแหน่งนายพลก็มีเพียงเจ้านายเป็นหลักเท่านั้นเพราะเป็นเหมือนสัญญาลูกผู้ชายว่าหากไม่ใช่เจ้านายแล้วยศของทหารจะหยุดไว้ที่พันเอกเนื่องจากกองทัพไทยเป็นกองทัพขนาดเล็กไม่จำเป็นต้องมีนายพล บรรดาศักดิ์นี่ถ้าเป็นทหารพอจบออกมาเป็นร้อยตรีแล้วทำงานไปซักพักก็ได้แต่งตั้งเป็นขุนกันแทบทุกคนเลย
 
โดยรวมก็คือข้าราชการระดับสูงในอดีตนั้นมีจำนวนน้อยมากๆไม่ได้เฟ้อแบบสมัยนี้ ทำให้สามารถเทียบระดับข้าราชการกับบรรดาศักดิ์ได้
 
== ประวัติ ==