ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตำบลปากปวน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 55:
*โรงเรียนบ้านปากปวน
 
 
 
==คำขวัญประจำตำบล==
"ปากปวนถิ่นคนสวย  รวยวัฒนธรรม  นำประชาธิปไตย  พริกเสริมรายได้ดี  ๑๐๐ ปี สวนรุกขชาติ เมืองนักปราชญ์เสียงดนตรี"  
 
== แนะนำชุมชน 12หมู่บ้าน ==
 
=== พ่อบ้านปากปวนหมู่ที่  1 และ  หมู่ที่  10  ตำบลปากปวน  อำเภอวังสะพุง  จังหวัดเลย ===
*พ่อบ้านปากปวนหมู่ที่  1 และ  หมู่ที่  10  ตำบลปากปวน  อำเภอวังสะพุง  จังหวัดเลย
*ประวัติหมู่บ้าน
 
       บ้านปากปวนเป็นภูมิลำเนาอยู่ที่เมืองด่านซ้าย  บ้านหัวภูเสียวอพยพโยกย้ายลงมาที่ริมน้ำฮวยบริเวณตำบลเขาหลวงปัจจุบัน  เรียกว่าบ้านนาหนองบง  การโยกย้ายนั้นมาแบบช้าๆ  แบบไม่นับวันเดือน ปี  ค่อยเป็นค่อยไป  การทำมาหากินเป็นแบบอดๆ  อยากๆ  เนื่องจากการทำไร่เลื่อนลอย
*หลังจากนั้นก็อพยพอีกทีมาถึงแม่น้ำเลยบริเวณลำน้ำปวนไหลมาตกแม่น้ำเลยพอดี  เลยตั้งบ้านเรือนที่นี่และให้ชื่อบ้านปากปวน  โดยมีนายแก้ว  สารวงษ์  (พ่อโซ้นหมื่นแก้ว)  เป็นผู้ใหญ่บ้านปากปวนในสมัยนั้น  ราวปี  พ.ศ. 2436  ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกของบ้านปากปวน
*ทำเนียบผู้ใหญ่บ้านปากปวน  หมู่ที่  1  และหมู่ที่  10
*1.  นายแก้ว           สารวงษ์    (พ่อโซ้นหมื่นแก้ว)
*2.  นายสมมา         ซาภักดี    (พ่อโซ้นมาก)
*3.  นายจันทร์ทา     ชาภักดี    (พ่อโซ็นทองดี)
*4.  นายทัน              สารวงษ์   (พ่อโซ้นเฮือง)
*5.  นายฝั่น              คำไล้
*6.  นายทองชิด       พิมที
*7.  นายเจิม              คำไล้
*8.  นายบัวเรียน       โยธาภักดี
*9.  นายเสงี่ยม          นามวงษ์
*10.  นายณรงค์ศักดิ์  สาลีศรี 
===บ้านบุ่งตาข่าย  หมู่ที่  2  ตำบลปากปวน  อำเภอวังสะพุง  จังหวัดเลย ===
*บ้านบุ่งตาข่าย  หมู่ที่  2  ตำบลปากปวน  อำเภอวังสะพุง  จังหวัดเลย
*ประวัติหมู่บ้าน
 
      บ้านบุ่งตาข่าย  แยกออกมาจากบ้านวังเดื่อโดยเป็นการแยกออกมาอยู่บ้านไร่นา  ต่อมาก็มีการเพิ่มครัวเรือนขึ้นเรื่อยๆ  และภายในหมู่บ้านมีหนองน้ำขนาดใหญ่  มีชื่อว่าหนองน้ำบุ่งตาข่าย  ต่อมานั้นเมื่อได้รับการตั้งเป็นหมู่บ้านจึงให้ชื่อว่าบ้านบุ่งตาข่าย  หมู่ที่  2  ตำบลปากปวน  อำเภอวังสะพุง  จังหวัดเลย
*เนียบผู้ใหญ่บ้าน
 
*1.  นายคำภา  จุลลา          ปี  2480-2515
 
*2.  นายเหง้า    จุลลา          ปี  2516-2526
 
*3.  นายวิเชียร  อาจแก้ว    ปี  2527-2528
 
*4.  นายทวี       จุลลา           ปี  2529-2533
 
*5.  นายนา       ชัยสา           ปี  2534-2548
 
*6.  นายสมาน  ชัยสวรรณ   ปี  2549-2550
 
*7.  นายกันชิต  จุลฬา          ปี  2550- ถึงปัจจุบัน 
 
*อาณาเขต/ลักษณะที่ตั้ง
 
 
      หมู่บ้านบุ่งตาข่าย  ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอวังสะพุง  ระยะทางจากอำเภอวังสะพุงถึงบ้านบุ่งตาข่าย  ประมาณ  9  กิโลเมตร  มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ต่างๆ  ดังนี้
 
*-  ทิศเหนือ  มีอาณาเขตติดต่อบ้านบง  ตำบลนาโป่ง
 
*-  ทิศใต้  มีอาณาเขตติดต่อบ้านวังเดื่อ
*-  ทิศตะวันออก  มีอาณาจักติดต่อบ้านหนองฮี  ตำบลนาดินดำ
*-  ทิศตะวันตก  มีอาณาเขตติต่อบ้านห้วยโตก  ตำบลนาโป่ง
 
=== บ้านเรือนบ้านโนนสว่าง  หมู่ที่  3  ตำบลปากปวน  อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ===
*ข้อมูลทั่วไป
วิสัยทัศน์ (คำขวัญ)  บ้านโนนสว่างแหล่งการศึกษาเลิศล้ำวัฒนธรรมล้ำค่า  คือที่มาแหล่งความเจริญ
*อัตตลักษณ์ชุมชน
      บ้านโนนสว่าง  หมู่ที่  3  มีการส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นซึ่งใช้ชีวิตความเป็นอยู่แบบหมู่บ้านที่มีความรัก  สามัคคี  และเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์  ทั้งทางด้านวัฒนธรรม  และสิ่งแวดล้อม
*ประวัติหมู่บ้าน
      บ้านโนนสว่างเดิมที่ก่อนจะมาเป็นหมู่บ้านโนนสว่าง  บริเวณนี้เป็นที่ทำไร่ส่วนหนึ่งเป็นทำเลเลี้ยงสัตว์  ต่อมามีราษฎรส่วนหนึ่งย้ายมาจากบ้านปากปวน  มาสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัยในที่ไร่ของตนเอง  อีกส่วนหนึ่งตามประวัติ  อพยพมาจากจังหวัดขอนแก่น  เริ่มขยายขึ้นเรื่อยๆ  ถึงปี  พ.ศ.  2510  มีจำนวนครัวเรือนนับได้ถึง  50  ครัวเรือน  มีประชากรรวมกันถึง  425  คน  ทางราชการ  คือ  อำเภอวังสะพุงจะเห็นสมควรแล้วว่าชุมชนนี้เพียงพอที่จะจัดตั้งเป็นหมู่บ้านได้  นายอำเภอวังสะพุงจึงได้เข้ามาดำเนินการประชุมราษฎร  เพื่อดำเนินการคัดเลือกบุคคลหรือแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน  ที่ประชุมหมู่บ้านร่วมกับกำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน  ขณะนั้นร่วมกันเสนอชื่อที่ประชุมเสนอชื่อ  นายลาญ  พลซา  คนเดียวเป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก  พร้อมตั้งชื่อหมู่บ้านตามลักษณะของพื้นที่  ที่ตั้งหมู่บ้านคือเป็นเนินสูง  เป็นภาษากลาง  ส่วนภาษาท้องถิ่นเรียกว่าโนน  ประกอบกับการตั้งชื่อหมู่บ้าน  ชื่อ  บ้านโนนสว่าง  ขึ้นตรงต่อการปกครองของตำบลวังสะพุง  สมัยนั้น  ต่อมาตำบลวังสะพุงได้มีการแบ่งแยกการปกครองระดับตำบลเป็นตำบลปากปวน  อำเภอวังสะพุง  จังหวัดเลย
=== บ้านวังเดื่อ  หมู่ที่  4  ตำบลปากปวน  อำเภอวังสะพุง  จังหวัดเลย ===
*บ้านวังเดื่อ  หมู่ที่  4  ตำบลปากปวน  อำเภอวังสะพุง  จังหวัดเลย
*คำขวัญ  " วังเดื่อเข้มแข็ง  แหล่งน้ำหลากหลาย  น้ำใจสามัคคี  มากมีพริกข้าวโพด  สวยสดผักสวนครัว"
*อัตตลักษณ์ชุมชน  " หมู่บ้านเกษตรกรรม "
*ประวัติหมู่บ้าน
       หมู่บ้านวังเดื่อ  ตั้งขึ้นเมื่อใดไม่ทราบแน่นชัด  จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชนทราบเพียงแต่ว่า  มีสามีภรรยาคู่หนึ่ง  (นัยว่าเป็นชาวขอมหรือข่า)  นามว่า  รู่รี่  ได้อพยพหนีโรคระบาดจากหมู่บ้านนาบ้านแก้ง  (ชุมชนสมัยโบราณที่เคยมีอยู่พื้นที่ทางทิศตะวันออกของบ้านบุ่งตาข่ายในปัจจุบัน)  ข้ามแม่น้ำเลยมาตั้งรกรากบ้านเรือนเป็นครั้งแรกอยู่ริมฝั่งขวาของแม่น้ำเลย  และได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า  "บ้านวังเดื่อ"  ตามชื่อต้นมะเดื่อขนาดใหญ่ที่ขึ้นอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเลยตรงบริเวณวังน้ำลึกท้ายหมู่บ้านด้านทิศตะวันตก และเมื่อชุมชนขยายใหญ่ขึ้นได้มีชาวบ้านบางส่วนได้อพยพข้ามแม่น้ำเลยไปทำมาหากินตั้งรกรากบ้านเรือนอยู่อีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำเลยจนเป็นชุมชนบ้านวังเดื่ออีกชุมชนหนึ่ง ชาวบ้านได้อาศัยแม่น้ำเลยเป็นแหล่งทำมาหากินเสมือนเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงให้ชุมชนเติบใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ  หมู่บ้านวังเดื่อในสมัยแรกๆ  จึงเป็นหมู่บ้านที่มีแม่น้ำเลยไหลผ่านกลางชุมชนเป็นลักษณะหมู่บ้านอกแตก  ต่อมาเมื่อทางราชการได้มีการแบ่งส่วนการปกครอง  หมู่บ้านวังเดื่อได้ถูกกำหนดให้ขึ้นตรงกับตำบลหัวขัว  อำเภอเมือง  จังหวัดเลย  ในสมัยนายเหง้า  ขุนทองเมือง  (ขุนเข้ม)  ชาวบ้านวังเดื่อเป็นกำนันตำบลหัวขัว  โดยมีนายดี  สารวงษ์  เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก  และในปี  พ.ศ. 2510  เมื่อหมู่บ้านได้ขยายใหญ่ขึ้น  ประกอบกับมีเส้นทางคมนาคมออกสู่ตำบลปากปวน  อำเภอวังสะพุง  จังหวัดเลย  ได้สะดวกและใกล้ตัวเมืองอำเภอวังสะพุง มากกว่าอำเภอเมือง  ชุมชนบ้านวังเดื่อจึงได้เปลี่ยนมาอยู่ในเขตการปกครองของตำบลปากปวน อำเภอวังสะพุง และได้มีการแยกชุมชนออกเป็น  2  หมู่บ้านโดยใช้เขตแม่น้ำเลยเป็นเส้นแบ่ง  กล่าวคือ ชุมชนที่ตั้งอยู่ฝั่งด้านทิศเหนือของแม่น้ำเลย ตั้งเป็น " บ้านบุ่งตาข่าย"  หมู่ที่  2  ส่วนชุมชนที่ตั้งอยู่ฝั่งด้านทิศใต้ของแม่น้ำเลย คือ "บ้านวังเดื่อ" หมู่ที่ 4 ตำบลปากปวน อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ในปัจจุบัน
 
=== บ้านป่าเป้า  หมู่ที่  5-11  ตำบลปากปวน  อำเภอวังสะพุง  จังหวัดเลย  ===
*บ้านป่าเป้า  หมู่ที่  5(หมู่เดียวแตารวมกันเป็นสองหมู่) ตำบลปากปวน  อำเภอวังสะพุง  จังหวัดเลย 
*คำขวัญ  " สามัคคี  มีวินัย  ใฝ่เรียนรู้ "
*อัตตลักษณ์ชุมชน  "หมู่บ้านเกษตรกรรม"
*ประวัติหมู่บ้าน
         บ้านป่าเป้า  เริ่มแรกได้ตั้งหมู่บ้านร่วมกับหมู่บ้านปากปวน  ชื่อว่าหมู่บ้านหนองนกเขียน  ต่อมาได้เกิดโรคฝีดาษระบาด  นายพิลา  นามวงษ์  ได้เป็นหัวหน้าพาแยกหมู่บ้านออกมาจากบ้านปากปวน  โดยมาตั้งหมู่บ้านที่ริมแม่น้ำเลย  ตั้งชื่อว่าบ้านป่าเป้า  เมื่อประมาณ  พ.ศ.  2429 
*ทำเนียบผู้ใหญ่บ้านป่าเป้า  หมู่ที่  5
*-1. นายเพียราช         สารวงษ์
*-2.  นายไชยะสาร          คำไล้
*-3.  นายแก้ว                  นามวงษ์
*-4.  นายหนานวงศ์         นามยอด
*-5.  นายวาน                  นามวงษ์
*-6.  นายแดง                  ปลัดกอง
*-7.  นายเจริญ                คำไล้
*-8.  นายบาง                  นามวงษ์
*-9.  นายจำเนียร            ปลัดกอง
*-10. นายช่วย                คำไล้
*-11. นายเวียง               ชาภักดี 
*-12. นายบุญเลี้ยง         แก้วมงคล
*-13. นายทองสา            พามี
*-14. นางวิภาพร            ยงยุทธ
*-15. นายเดือน              สงวนวิจิตร
*-16. นายกองเรียน        ไชยา     
 
=== ขึ้นบ้านกกเกลือ  หมู่ที่  6  ตำบลปากปวน  อำเภอวังสะพุง  จังหวัดเลย  ===
*คำขวัญ  "บ้านกกเกลือ  แหล่งการศึกษาเลิศล้ำ  ก้าวไกลทันเหตุการณ์  บ้านเมืองเจริญงาม  ก้าานกกเวไปในอนาคต
*อัตตลักษณ์  บ้านกกเกลือ  หมู่ที่  6  มีการส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น  ซึ่งใช้ชีวิตความเป็นอยู่แบบหมู่บ้านที่มีความรัก  สามัคคี  และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในเชิงอนุรักษ์ทางวัฒธรรมและสิ่งแวดล้อม
*ประวัติและความเป็นมาของหมู่บ้าน
          บ้านโนนสว่างเดิมทีก่อนจะมาเป็นหมู่บ้านกกเกลือ  บริเวณนี้เป็นที่ทำไร่  ทำนา  ต่อมามีราษฎรส่วนหนึ่งย้ายมาจากบ้านท่าทิศเฮือง  มาสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัยในที่ไร่นาของตนเอง  เริ่มขยายขึ้นเรื่อยๆ  มีจำนวนครัวเรือนนับได้ถึง  30  ครัวเรือน  มีประชากรรวมกันถึง  87  คน  ทางราชการคือ  อำเภอวังสะพุง  จึงเห็นสมควรแล้วว่าชุมชนนี้เพียงพอ  ที่จะตั้งเป็นหมู่บ้านได้  นายอำเภอวังสะพุง  จึงได้เข้ามาดำเนินการประชุมราษฎร  เพื่อดำเนินการคัดเลือกหรือแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน  ที่ประชุมหมู่บ้านร่วมกับกำนัน  เสนอชื่อบุคคลจนได้รับการคัดเลือกให้นายเต็ม  โสมมะณี  เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก  พร้อมตั้งชื่อหมู่บ้านตามลักษณะของพื้นที่ที่ตั้งของหมู่บ้านคือ  บ้านหนองกกเกลือ  ขึ้นตรงต่อการปกครองตำบลวังสะพุง  สมัยนั้นเป็นหมู่บ้านที่  15  ต่อมาตำบลวังสะพุงได้แบ่งแยกการปกครองระดับตำบลออกเป็น  ตำบลปากปวน   
=== บ้านท่าทิศเฮือง  หมู่ที่  7  ตำบลปากปวน  อำเภอวังสะพุง  จังหวัดเลย ===
*อัตตลักษณ์ชุมชน
         หมู่บ้านที่มีการส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น  ซึ่งใช้ชีวิตความเป็นอยู่แบบหมู่บ้านที่มีความรัก  สามัคคี  และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  ในเชิงอนุรักษ์ทางวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม 
*ประวัติและความเป็นมาของหมู่บ้าน
          บ้านท่าทิศเฮือง  หมู่ที่  7  เป็นหมู่บ้านที่อยู่ในเขตปกครองของตำบลปากปวน  อำเภอวังสะพุง  จังหวัดเลย  เดิมทีเป็นหมู่บ้านที่อยู่ตามหัวไร่ปลายนา  ต่อมามีประชาชนแยกครอบครัวเพิ่มมากขึ้นจึงได้ยกเป็นหมู่บ้านหมู่หนึ่งในเขตตำบลปากปวน
*ทำเนียบผู้ใหญ่บ้าน
*1. นายเอียง    พลซา
*2. นายสุรักษ์  ชาภักดี
*สภาพทางเศรษฐกิจ
      ประชากรบ้านท่าทิศเฮือง  หมู่ที่  7  ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  เช่น  ทำไร่  ทำสวน  ทำนา  และอาชีพรับจ้างทำเฟอร์นิเจอร์ในโรงงานทำเฟอร์นิเจอร์
*พืชเศรษฐกิจที่สำคัญพอแยกได้ดังนี้
      *1.  ข้าวโพด
       *2.  ข้าว
=== บ้านปากปวน  หมู่ที่ 8  ตำบลปากปวน  อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ===
     
*ประวัติหมู่บ้าน
 
     บ้านปากปวนเป็นภูมิลำเนาอยู่ที่เมืองด่านซ้าย  บ้านหัวภูเสียว  อพยพโยกย้ายลงมาที่ริมน้ำฮวย  บริเวณตำบลเขาหลวงปัจจุบัน  เรียกว่าบ้านนาหนองบง  การโยกย้ายนั้นมาแบบช้าๆ  แบบไม่นับวันเดือนปี  ค่อยเป็นค่อยไป  การทำมาหากินเป็นแบบอดๆ อยากๆ เนื่องจากการทำไร่เลื่อนลอย  หลังจากนั้นก็อพยพอีกทีมาถึงแม่น้ำเลยบริเวณลำน้ำปวนไหลมาตกแม่น้ำเลยพอดี  เลยตั้งบ้านเรือนที่นี่และให้ชื่อบ้านปากปวน  โดยมีนายแก้ว  สารวงษ์ (พ่อโซ้นหมื่นแก้ว)  เป็นผู้ใหญ่บ้านปากปวนในสมัยนั้น  ราวปี พ.ศ. 2436  ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกของบ้านปากปวน
*ทำเนียบผู้ใหญ่บ้าน
 
*1. นายเลี่ยน  สารวงษ์
 
*2. นายประสาท  คำ
 
*3. นายวินัย  นามวงษ์
*อาณาเขต/ลักษณะที่ตั้ง
 
     ที่ตั้งของบ้านปากปวน  หมู่ที่ 8  อยู่ทางทิศเหนือของอำเภอวังสะพุง  ระยะทางจากอำเภอวังสะพุง  ประมาณ  7  กิโลเมตร  มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ต่างๆ  ดังนี้  
 
*- ทิศเหนือ  มีอาณาเขตติดต่อกับบ้านปากปวน หมู่ที่ 1
 
*- ทิศใต้  มีอาณาเขตติดต่อกับบ้านปากปวน หมู่ที่ 11
 
*- ทิศตะวันออก  มีอาณาเขตติดต่อกับแม่น้ำเลย
 
*- ทิศตะวันออก  มีอาณาเขตติดต่อกับบ้านโนนสว่าง
=== บ้านปากปวน  หมู่ที่  11  ตำบลปากปวน  อำเภอวังสะพุง  จังหวัดเลย ===
*ข้อมูลทั่วไป  
 
วิสัยทัศน์  สืบสานวัฒนธรรมไทย  ร่วมใจสามัคคี
*ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน
 
       บ้านปากปวนเป็นภูมิลำเนาอยู่ที่เมืองด่านซ้าย  บ้านหัวภูเสียว  อพยพโยกย้ายลงมาที่ริมน้ำฮวยบริเวณตำบลเขาหลวงปัจจุบัน  เรียกว่าบ้านนาหนองบง  การโยกย้ายนั้นมาแบบช้าๆ  แบบไม่นับวันเดือนปี  ค่อยเป็นค่อยไป  การทำมาหากินเป็นแบบอดๆ  อยากๆ  เนื่องจากการทำไร่เลื่อนลอย  
 
       หลักจากนั้นก็อพยพอีกทีมาถึงแม่น้ำเลยบริเวณลำน้ำปวน  ไหลมาตกแม่น้ำเลยพอดี  เลยตั้งบ้านเรือนที่นี้  ให้ชื่อบ้านปากปวน  โดยมีนายแก้ว  สารวงษ์  (พ่อโซ้นหมื่นแก้ว)  เป็นผู้ใหญ่บ้านปากปวน  ในสมัยนั้น  ราวปี  พ.ศ.  2436  ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกของบ้านปากปวน
 
        บ้านปากปวน  หมู่ที่  11  ได้แยกหมู่บ้านปากปวน  หมู่ที่  1  โดย  นายบุญไทย  ก่อศิลป์  ได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน
*ทำเนียบผู้ใหญ่บ้าน 
 
*1. นายบุญไทย  ก่อศิลป์  ผู้ใหญ่บ้าน
 
*2. นายส่า  พลซา  (ส.อบต.)
 
*3. นางจรูญ  ธรรมมิยะ  (ส.อบต.)
=== บ้านกุดโง้ง  หมู่ที่  9  ตำบลปากปวน  อำเภอวังสะพุง  จังหวัดเลย ===
*คำขวัญ  " กุดโง้งลือล่ำ  วัฒนธรรม  คนมีน้ำใจ  พืชไร่ขึ้นชื่อ  ยึดถือเศรษฐกิจพอเพียง
*ระวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน
        หมู่บ้านกุดโง้ง  เริ่มระยะแรกที่ก่อตั้งหมู่บ้านโดยมี  พ่อตู้เซียงดี  หรือพ่อตู้เสน  ซึ่งถือเป็นบุคคลสำคัญในการตั้งหมู่บ้านที่เข้ามาอยู่อาศัยตามที่นา  ที่สวนของตนและทำอาชีพปั้นโอ่ง  ปั้นไห  ขาย  จนมีชื่อเรียกว่า  "บ้านเตาไห"  ต่อมาได้มีผู้ย้ายตามเข้ามาจากหมู่บ้านเหล่าใหญ่ที่หนีโรคระบาด  และจากหมู่บ้านปากปวนเพื่อมาอยู่ตามที่นา  ที่สวนของตนเอง  จนมีประชากรเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ  เนื่องจากหมู่บ้านมีหนองน้ำที่ใช้ในด้านการเกษตร  คือ  หนองกุดโง้ง  จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านใหม่ตามชื่อหนองน้ำ  คือ  "กุดโง้ง"  ว่า  "บ้านกุดโง้ง"  มาจนถึงปัจจุบัน  ด้านการปกครองเริ่มแรกเป็นส่วนหนึ่งของบ้านปากปวน  หมู่ที่  1  ต่อมาได้รับการพัฒนาและแยกเป็นหมู่ที่  9  พร้อมให้มีผู้ใหญ่บ้าน  เมื่อ  11  ตุลาคม  2528  เพื่อเป็นผู้นำในการปกครองของหมู่บ้านกุดโง้ง  ตำบลปากปวน  อำเภอวังสะพุง  จังหวัดเลย  
*ทำเนียบผู้ใหญ่บ้าน
*1. นายเหลี่ยง      ดีบุรี               พ.ศ. 2528-2535
*2. นายอ่วย          บัวระภา         พ.ศ. 2535-2545
*3. นายอานัน       บัวระภา         พ.ศ. 2545-2550
*4. นายเสนอ        โยธาภักดี      พ.ศ. 2550-2555 
*5. นายสมพร       ดีบุรี                พ.ศ. 2555 จนถึงปัจจุบัน 
== อ้างอิง ==
-http://www.pakpuan.org/
{{รายการอ้างอิง}}
 
== รายชื่อเทศบาลตำบล ==