ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Bandai153 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 20:
'''มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย'''(มจร.) คือสถาบันการศึกษาพระพุทธศาสนาชั้นสูงในรูปแบบมหาวิทยาลัย <ref>เว็บไซต์เครือข่ายกาญจนาภิเษก ตามพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี,[http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=39&chap=1&page=t39-1-infodetail03.html]</ref> ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงสถาปนาขึ้นเพื่อถวายแด่คณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย โดยเริ่มจัดการเรียนการสอนด้านพุทธศาสตร์เป็นสาขาแรก แล้วต่อมาได้ขยายการเรียนการสอนไปยังสาขาวิชาอื่นๆ คล้ายกับรูปแบบการก่อตั้ง [[มหาวิทยาลัยปารีส]] ประเทศฝรั่งเศส และ[[มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด]] ประเทศอังกฤษ ที่เริ่มต้นจากสาขาด้านศาสนาแล้วขยายไปยังสาขาอื่นอีกมายมาย
 
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถือกำเนิดจาก "'''มหาธาตุวิทยาลัย'''" <ref>กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (2460) ประวัติวัดมหาธาตุภาคต้น "ในปีฉลูนั้นถึงเดือนพฤศจิกายน โปรดให้ย้ายที่ราชบัณฑิต บอกพระปริยัติธรรมพระภิกษุสามเณร จากในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ออกไปจัดเป็น บาลีวิทยาลัยที่วัดมหาธาตุ เรียกว่า มหาธาตุวิทยาลัย เป็นแรกที่จะใช้นามวิทยาลัยในประเทศนี้"</ref> ที่[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นภายใน[[วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร|วัดมหาธาตุฯ]] เมื่อปี [[พ.ศ. 2430]] โดยเริ่มทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2432 ต่อมาได้พระราชทานนามใหม่ว่า "'''มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย'''" เมื่อคราวทรงสถาปนาอาคารสังฆิกเสนาสน์ราชวิทยาลัยในปี [[พ.ศ. 2439]] โดยทรงตั้งพระทัยจะให้เป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงของพระสงฆ์<ref>[[ราชกิจจานุเบกษา]], '''[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2439/025/263.PDF การก่อพระฤกษ์สังฆเสนาสน์ราชวิทยาลัย]'''. เล่มที่ 13, ตอนที่ 25, วันที่ 20 กันยายน ร.ศ.115, หน้า 263</ref><ref>'''ประวัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย'''. [ออน-ไลน์]. (2550). แหล่งข้อมูล : http://www.mcu.ac.th/site/history.php</ref> การดำเนินงานของวิทยาลัยได้เริ่มต้นอย่างจริงจังเมื่อ [[พ.ศ. 2490]] โดยพระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺตเถร) และมีการดำเนินงานมาตามลำดับจนได้รับการยกฐานะให้เป็น[[มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ]]ในปี [[พ.ศ. 2540]] ตามความในพระราชบัญญัติ'''มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย''' [[พ.ศ. 2540]]<ref>[[ราชกิจจานุเบกษา]], '''[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2540/A/051/24.PDF พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540]'''. เล่มที่ 114, ตอนที่ 51 ก, วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2540, หน้า 24</ref> อธิการบดีคนปัจจุบัน คือ ศาสตราจารย์ ดร.[[พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต)]]
 
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยรัฐที่เน้นมีบทบาทโดดเด่นในการส่งเสริมการศึกษาด้านพระพุทธศาสนาที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก<ref>[[ราชกิจจานุเบกษา]], '''[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00018829.PDF กระทู้ถามที่ ๕๕๓ ร.]'''. เล่มที่ 117, ตอนที่ 29 ก, วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2543, หน้า 30</ref> และเป็นมหาวิทยาลัยศูนย์กลางการศึกษาด้านพุทธศาสตร์ที่สำคัญของคณะสงฆ์ไทย มีการตั้งจัดตั้งวิทยาเขต, วิทยาลัยสงฆ์, ศูนย์วิทยบริการและห้องเรียน กระจายไปทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ปัจจุบัน เปิดการเรียนการสอนใน 4 คณะ ครอบคลุมทั้งระดับปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิตจนถึงปริญญาพุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิต หลักสูตรนานาชาติและภาษาอังกฤษ รวมทั้งสิ้น 33 สาขาวิชา<ref>'''หลักสูตรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย'''. [ออน-ไลน์]. (2552). แหล่งข้อมูล : http://www.mcu.ac.th/site/curriculum.php</ref> นอกจากนี้ ยังได้จัดตั้งสถาบันวิจัยขึ้นภายในมหาวิทยาลัยเพื่อดำเนินการวิจัยในด้านพุทธศาสตร์ประยุกต์ด้วย<ref>'''ประวัติความเป็นมา สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย '''. [ออน-ไลน์]. (2552). แหล่งข้อมูล :http://www.mcu.ac.th/site/office/coll_index.php?Data_type=1</ref>
 
นิสิตที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในอดีต ได้รับพระกรุณาให้เข้ารับ[[พิธีพระราชทานปริญญาบัตร|ประทานปริญญาบัตร]]จากพระหัตถ์ของ[[สมเด็จพระสังฆราช]]หรือสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายมหานิกาย ในปัจจุบัน[[สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร)]] ทรงมีพระเมตตาธิคุณเป็นองค์ประธานในการประสาทปริญญาบัตรแก่บัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย